จากที่มีการแชร์ข้อความผ่านทางไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ว่าปตท. ขายน้ำมันที่ไทยแพงกว่าที่ลาว และห้ามเติมน้ำมันเต็มถังเพราะจะมีน้ำมันค้างอยู่ที่สายจ่ายน้ำมัน ทำให้เราเสียเงินมากกว่าจำนวนน้ำมันที่ได้ วันนี้ปตท. ได้ชี้แจ้งเรื่องนี้ออกมาแล้วครับ

ประเด็นปตท. ขายน้ำมันให้คนลาวถูกกว่าคนไทย

1435550400247

ปตท. ชี้แจงว่า

  • ภาพป้ายแสดงราคาของประเทศลาวที่อ้างใช้มุมกล้อง เพื่อหลอกให้เข้าใจผิดว่าตัวเลขต่างกันมาก
  • ป้ายแสดงราคาทั้งสองภาพ เป็นป้ายที่อยู่ในประเทศไทย เพราะเขียนด้วยภาษาไทย และในประเทศลาว ไม่มีน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และ E20 จำหน่าย
  • สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่ประเทศลาว ป้ายแสดงราคาใช้หน่วยเป็นกีบ และจำหน่ายเฉพาะน้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันดีเซล เท่านั้น

ซึ่งเมื่อเทียบราคาน้ำมันในวันนี้ในไทยและลาว ([อ้างอิงข้อมูลจากเว็บรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อไฟลาว โดยอิงราคาในเขตนครหลวงเวียงจันทร์) ได้ดังต่อไปนี้

  • เบนซินพิเศษ 95 – 9,400 กีบ ~ 39.18 บาท : (ราคาไทย เบนซิน 95 ขาย 35.66 ส่วนแก๊สโซฮอล์ 95 ขาย 29.10)
  • เบนซิน 91 – 8,210 กีบ ~ 34.22 บาท : (ราคาไทย แก๊สโซฮอล์ 91 ขาย 28.28)
  • ดีเซล – 7,160 กีบ ~ 29.84 บาท : (ราคาไทย 25.59)

ประเด็นการเติมน้ำมันเต็มถังจะได้น้ำมันไม่เต็มจำนวนเงิน

ประเด็นสงสัย/ข้อมูลผิดบนสื่อออนไลน์

  • อย่าเติมน้ำมันเต็มถัง เพราะน้ำมันผ่านหัวจ่ายคิดเงินแล้วตัวจ่ายตัดน้ำมันที่ล้นไหลคืนปั๊ม แต่หัวจ่ายไม่ลดเงินที่คิดไปแล้ว ให้บอกราคาไปเลยว่าเติมเท่าไร น้ำมันที่ค้างสายก็จะไหลเข้าถังรถเรา เพราะยังมีที่ว่างให้น้ำมันไหลลงถังรถได้
  • ภายในท่อจ่ายน้ำมันจะมีท่อส่งกลับน้ำมัน ( สีดำ) เมื่อเต็มน้ำมันเต็มถังแล้ว ลิ้นหัวจ่ายน้ำมันที่ตัวปั๊มจ่ายน้ำมันจะถูกปิด ขณะเดียวกัน วาลว์ส่งกลับน้ำมันที่ตัวปั๊มนั้น จะเปิดเพื่อให้น้ำมันที่ค้างในท่อจ่ายน้ำมันไหลกลับคืนเข้าสู่ถังน้ำมันใต้ดิน โดยน้ำมันที่ค้างในมือจ่ายและท่อจ่ายน้ำมันนั้น ได้ผ่านมิเตอร์และถูกคิดเงินไปแล้ว

ทางปตท. จึงชี้แจงมาว่า

ราคาน้ำมันจะคำนวณจากน้ำมันที่ไหลออกจากวาล์วเปิด/ปิดที่หัวจ่ายน้ำมันเท่านั้น ไม่ได้คำนวณจากน้ำมันที่ไหลออกจากตู้จ่าย เพราะฉะนั้นน้ำมันที่ค้างอยู่ในสายจ่ายจึงไม่ได้คำนวณเป็นเงินด้วย โดยน้ำมันที่ค้างอยู่ในสายจะมีไม่เกิน 1 ลิตร ซึ่งพนักงานปั้มสามารถนำน้ำมันในส่วนนี้ออกมาได้ ถ้าหากถอดสายจ่ายออกจากตัวปั้ม แต่ถ้าจะทำเพื่อโกงน้ำมันก็ไม่คุ้ม เพราะอันตราย ยุ่งยากและต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการถอดสายออก

ปั้มจ่ายน้ำมันทำงานดังนี้

fuel

  • เมื่อบีบมือจ่ายน้ำมัน เพื่อเติมน้ำมันเข้าถังน้ำมันรถลูกค้า น้ำมันจะถูกดูดขึ้นมาจากถังเก็บน้ำมันของปั๊มที่อยู่ใต้ดิน ผ่านตู้จ่าย ก่อนไหลไปตามท่อจ่ายซึ่งยาวประมาณ 2.5เมตร และมือจ่าย เพื่อปล่อยน้ำมันเข้าไปในถังน้ำมันรถ
  • ปลายมือจ่ายจะมีวาล์วปิด-เปิด ทำหน้าที่ควบคุมการไหลน้ำมันออก (เหมือนสายชำระในห้องน้ำ) เมื่อแรงดันอากาศที่ปลายท่อเปลี่ยน น้ำมันจะไหลออกมา และเมื่อน้ำมันในถังเต็มถัง จะมีน้ำมันมาอุดท่อเล็กๆ ที่ปลายหัวมือจ่าย จึงเกิดสุญญากาศขึ้น วาล์วที่ปลายมือจ่ายจึงปิด เพื่อตัดการจ่ายน้ำมัน
  • เมื่อมือจ่ายตัดการจ่ายน้ำมัน ตัวเลขปริมาณและราคาบนมิเตอร์ที่ตู้จ่าย ก็จะหยุดทันที
  • ในระบบ ไม่มีท่อส่งน้ำมันย้อนกลับ มีเฉพาะท่อส่งน้ำมันออกอย่างเดียว ที่สำคัญ ระบบท่อจ่ายน้ำมัน ยังจะมีวาวล์กันน้ำมันเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับหลายจุด เช่น ท่อที่ออกจากถังใต้ดิน ท่อก่อนเข้าใต้ตู้จ่าย ท่อที่มือจ่าย เป็นต้น

แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าน้ำมันที่ออกมา เต็มลิตร หรือเต็มจำนวนตามที่จ่ายเงิน?

  • ทุกเช้าก่อนปั๊มเริ่มเปิดขายน้ำมัน เจ้าหน้าที่ปั๊มน้ำมัน ต้องไปตรวจสอบ/ทวนสอบ(Verify)ที่มือจ่ายทุกมิเตอร์ด้วยถังตวงมาตรฐาน 5 ลิตร ว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ใน พรบ. กำหนดหรือไม่ ถ้าทดสอบแล้ว พบว่าขาดหรือเกิน จะเชิญเจ้าหน้าที่ช่างตวงวัดมาสอบเทียบมิเตอร์ใหม่
  • ทุกปี กระทรวงพาณิชย์ จะส่งเจ้าหน้าที่ออกดูแลตรวจสอบมาตรฐานการทำงานของหัวจ่าย เพราะตู้จ่ายแต่ละตู้นั้นคลาดเคลื่อนได้เสมอเมื่อใช้ไปนานๆ
  • การโกงเติมแล้วได้ไม่เต็มลิตรอาจเกิดขึ้นได้ เพราะผู้ประกอบการตั้งใจปรับมิเตอร์ที่ตู้จ่าย หรือใช้ตู้จ่ายที่เสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องเข้าดูแลตรวจสอบต่อเนื่องทุกปี หากพบก็จะถูกลงโทษทางกฏหมาย
  • ทุกตู้จ่ายจะมีวันหมดอายุที่ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ระบุไว้ทุกตู้ เจ้าของปั๊มน้ำมัน ต้องคอยตรวจสอบและแจ้งให้ทางกระทรวงทราบ เพื่อดำเนินการตรวจสอบและต่ออายุอยู่เสมอ