กรมการขนส่งทางบกระบุ Uber Taxi ผิดกฎหมาย !!!

เริ่มออกตรวจจับจริงจัง เตือนประชาชนอย่าใช้บริการ เพราะอาจไม่ปลอดภัยเนื่องจากเป็นรถที่ไม่เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลรถโดยสารสาธารณะ

นาย ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏว่ามีผู้ให้บริการรถรับส่งผู้โดยสารในลักษณะรถแท็กซี่ผ่าน Application ด้วยรถยนต์บริการ (ป้ายเขียว) และ รถยนต์ส่วนบุคคล (ป้ายดำ) โดยอัตราค่าโดยสารไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ล่าสุดกรมการขนส่งทางบก ได้เชิญประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และมณฑลทหารบกที่ 11 เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาก่อนจะสร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้างในอนาคต เช่น ปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิต ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้บริการ โดยในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าการให้บริการรับส่งผู้โดยสารในลักษณะรถแท็กซี่ผ่าน Application ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์บริการดังกล่าว ถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ฐานใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้นอกจากนี้ยังมีความผิดฐานไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนดผู้ขับรถไม่มีใบขับขี่สาธารณะและไม่เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ประวัติผู้ขับรถสาธารณะนอกจากนี้การชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิตอาจส่งผลต่อความปลอดภัยด้านธุรกรรมของผู้ใช้บริการในอนาคต

นายธีระพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการประชุมหารือร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าว มีการตกลงร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยมณฑลทหารบกที่ 11 และกรมการขนส่งทางบก ได้บูรณาการในการตรวจสอบการให้บริการที่ผิดกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา หากตรวจพบกรมการขนส่งทางบกจะเปรียบเทียบปรับสูงสุดทุกราย ได้แก่

  • ความผิดฐานใช้รถผิดประเภท โทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
  • ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด โทษปรับสูงสุด 1,000 บาท
  • ไม่มีใบขับขี่รถสาธารณะปรับสูงสุด 1,000 บาท

ในส่วนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะเร่งดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่นำรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์รับจ้างมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารในลักษณะรถแท็กซี่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเร่งดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถแท็กซี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ และอย่าหลงเชื่อการสร้างแรงจูงใจด้วย
เหตุผลต่าง ๆ เนื่องจากหากคำนวณค่าโดยสารแล้วจะพบว่ามีการแฝงค่าใช้จ่ายต่อระยะทางและเวลา รวมทั้งมีการประกันค่าโดยสารขั้นต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่
มิเตอร์ในปัจจุบันแล้ว พบว่า Uber Taxi จะมีราคาที่สูงกว่าและข้อสำคัญ ผู้โดยสารอาจไม่ได้รับความปลอดภัยเนื่องจากรถดังกล่าวไม่เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลในการตรวจสอบรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก รวมทั้งต้องใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตซึ่งอาจมีมาตรฐานความปลอดภัยไม่เพียงพอ

ประชาชนที่สงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในท้ายที่สุด

ที่มา : กรมการขนส่งทางบก

4591_Pr-Press-New-35--28-november-2014ซึ่งกระแสใน Twitter ขณะนี้ ก็ได้มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นกันมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

งานนี้ต้องรอดูกันต่อไปว่าทาง Uber จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อให้พวกเราได้ใช้บริการ Uber กันได้อย่างถูกกฎหมายครับ 🙂 ล่าสุดทาง Uber ได้ออกมาแจ้งลูกค้าผ่าน LINE ว่า