วันพุธแบบนี้ คิดว่าคงมีคนรอคอยจะได้อ่านบทความจาก “ครูทอม” อยู่บ้างนะครับผม วันนี้ขอพูดถึงคำที่เดี๋ยวนี้มีคนใช้ผิดกันเยอะมากกกกกกกกก มากจนงงว่าเป็นไปได้ยังไง ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนไม่เห็นจะผิดกันมากขนาดนี้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่นบางส่วนที่มักจะพิมพ์โดยไม่ได้ใส่ใจเท่าไหร่นัก (บางส่วนก็เลยคำว่าวัยรุ่นมามากแล้ว) นั่นก็คือคำว่า “น่า” กับ “หน้า” นั่นเองครับ

2 คำนี้ออกเสียงเหมือนกันเป็นเป๊ะ! เป๊ะ ๆ ๆ ๆ เป๊ะยิ่งกว่าเป๊ะครับ แต่ว่าสะกดต่างกัน ซึ่งเราเรียกคำประเภทนี้ว่า “คำพ้องเสียง” ครับผม

คำว่า “น่า” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพุทธศักราช 2542 ว่าเป็น “คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่นน่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้, ชวนให้, ทำให้อยากจะ เช่น น่าหิน น่ารัก ” ดังนั้น เวลาเราจะแสดงความรู้สึกที่มีต่ออะไรสักอย่าง เราก็ต้องใช้คำว่า “น่า” ไงครับ เช่น

IMG_5542

“น้องเฟื่องลดาน่ารักจุงเบย”

Beartai IT Tape29.mp4_snapshot_07.24_[2014.02.11_21.49.37]

“รายการแบไต๋ไอทีมีแต่เรื่องราวน่าสนใจ”

6016251d6

ครูทอมเป็นครูที่น่าเคารพนับถือมาก (เหรอ???? 555+)

ส่วนคำว่า “หน้า” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพุทธศักราช 2542 ว่า “ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา”

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือไอ้เจ้าอวัยวะที่เป็นที่อยู่ของตา จมูก ปาก นั่นแหละครับ แล้วก็หมายถึงอะไรที่มันอยู่ตรงข้ามส่วนหลังนั่นเองครับ

พูดตรง ๆ ครับว่า ถ้าใครเคยเรียนหนังสือที่โรงเรียน ทุกโรงเรียนก็คงสอนกันมาตั้งแต่จำความได้แล้วนะครับว่า คำว่า “หน้า” มันแปลว่าอะไร เพราะแบบเรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐานของทุกหลักสูตรก็ต้องสอนคำนี้ให้เด็ก ๆ อยู่แล้ว เชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในความคิดของทุกคนอยู่แล้วครับว่า “ใบหน้า”, “หน้าตา” ต้องสะกดอย่างนี้ รวมไปถึงคำว่า “ข้างหน้า” “ด้านหน้า” “หน้าต่าง” “หน้าหนังสือ” รวมไปถึง “หน้า” อะไรก็แล้วแต่ที่หมายถึง “หน้า”

ส่วนความรู้สึกว่า “น่าจะ” มันก็ต้องเป็น “น่า” อยู่แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะผิดกันง่าย ๆ

จำไว้เลยครับว่า…

920153800910

 

ความเป็นไปได้ในมุมมองของครูทอม ก็คือว่า คำว่า “น่า-หน้า” เป็นคำพ้องเสียง ออกเสียงเหมือนกัน ทำให้บางครั้งเวลาจะพิมพ์ 2 คำนี้เลยเกิดความรู้สึกสับสนอยู่ในใจ บางครั้งมือก็ไปไวกว่าความคิด ทำให้พอจะพิมพ์คำว่า “น่ารัก” ดันกลายเป็น “หน้ารัก” ทีนี้พอมีคนพิมพ์ผิดแบบนี้มาก ๆ  เข้า ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือว่า ส่งผลให้มีคนเห็นการใช้ “น่า-หน้า” สลับกันมากขึ้น และก็ยังส่งผลต่อเนื่องไปอีกให้หลายคนสับสนจริง ๆ ว่าที่ถูกต้องต้องเป็นอย่างไร และผลที่เลวร้ายที่สุดก็คือบางคนเข้าใจผิดไปแล้วว่าต้องสะกดว่า “หน้ารัก”

ภาษาเป็นเรื่องสำคัญครับ ถ้าเราคุยเล่นกับเพื่อนฝูงหรือกับคนสนิท บางครั้งผิดบ้างก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรอกครับ แต่ถ้าต้องไปติดต่อธุระสำคัญแล้วล่ะก็ การสะกดผิด ๆ ถูก ๆ แสดงให้เห็นถึงความไม่ “professional” อย่างมากเลยครับ ดังนั้น ขอเชิญชาวเน็ตทุกท่านร่วมกันใช้ภาษาไทยกันอย่างถูกต้องด้วยนะครับ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเองและเพื่อทักษะด้านภาษาไทยของเยาวชนรุ่นหลังครับ

เออ…. ลืมไปเลยครับว่า แบไต่ไอทีเมื่อวานยังมีเรื่องรายน่าสนใจอีกมาก เช่น มีคำถามจากทางบ้านถามมาว่า “กลิ่นไอ” กับ “กลิ่นอาย” คำไหนถูกกันแน่ เอ… แล้วคำตอบคืออะไรล่ะครับ ถ้าอยากรู้ก็ตามไปชมได้เลยที่แบไต๋ไอที ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ครับผม อ๊ะ!!!! ยังไม่ต้องเอาเมาสืไปคลิกเครื่องหมายกากบาทที่มุมขวาบนก็ได้ครับ เลื่อนลงไปข้างล่างอีกนิดก็เจอลิงก์รายการแบไต่ไอทีแล้วครับ ครูทอมจัดให้เรียบร้อย ^ ^

ก่อนจากกันไปวันนี้ ฝากถึงทุกท่านนะครับว่าถ้าสงสัยอะไรเกี่ยวกับภาษาไทยก็ถามครูทอมได้นะครับที่
twitter : @tutor_tom
Instagram : @jakkriz
Facebook : facebook.com/tom.jakkriz

Play video