สมัยก่อนตอนยังมีขนมไม่หลากหลายเท่าปัจจุบัน เด็กยุค 90 แยกขนมได้ 2 อย่าง อย่างแรกซื้อเพื่อเอาของเล่น กับอย่างสองซื้อเพื่อเอาของกิน

แต่จะมีขนมอยู่อย่างนึงที่ซื้อแล้วได้ทั้งเล่นและกินก็คือ เจ้าหมีเยลลี่ Jolly Bear นี่แหละ ตอนเด็กๆ ชอบหักคอต่อตัว เอาหัวไปสลับสีกัน หรือบางทีก็เอาไปจิ้มแก้มเพื่อนเล่น ติดเป็นตุ่มก็ดูน่ารักดี 😀

วันก่อนแอบคิดถึงเลยเดินไปหาดูในห้างอ่าวเฮ้ย . . . “หมีตรูอยู่ไหน”

หาอยู่ตั้งนานหมีน้อยเพื่อนเก่าไปกองอยู่ในหลืบชั้นล่างสุด -*- ปล่อยให้เยลลี่เกาหลีกับหมีเยอรมัน (Haribo) มากินพื้นที่ไปหมดแผง

ด้วยความสงสัย ว่า Jolly Bear ด้อยกว่ายี่ห้ออื่นตรงไหน หรือเป็นเพราะส่วนประกอบ เลยขอลองดูหลังซองกันสักหน่อย  วัดกันลุ่นๆ เอาเฉพาะเยลลี่หมี  #หมีมาหมีกลับไม่โกง

Haribo : กลูโคส 51%  น้ำตาล 24% เจลาติน 6% น้ำผักและน้ำผลไม้เข้มข้น < 2% และอื่นๆ / น้ำหนักสุทธิ 30 กรัม 110 กิโลแคลอรี่

Jolly Bear : กลูโคส 39% น้ำตาล 35% น้ำผลไม้ 12% สารทำให้เกิดเจลและอื่นๆ / น้ำหนักสุทธิ 55 กรัม 192.5 กิโลแคลอรี่ (Gluten Free* และไม่มีวัตถุกันเสีย)

*เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่มมีอาการแพ้สาร Gluten จึงต้องมีการระบุ Gluten Free ไว้บนฉลาก เพื่อแจ้งว่าผลิตภัณฑ์นี้ มีกลูเตนที่น้อยกว่า 20 ppm สามารถรับประทานได้ (Gluten เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เลย์)

อ้าวโดยรวม ก็ไม่ขี้เหร่นี่หว่า น้ำตาลรวมแล้วพอกัน แถมหมีไทยใส่น้ำผลไม้มากกว่าตั้งเยอะ แล้วทำไม Jolly Bear ถึงได้ตกกระป๋องไปขนาดนี้วะ จะบอกหมีเยอรมันเจ้าใหญ่ทุ่มตลาดก็ไม่ใช่ เพราะ 10 บาทเท่ากันแถมได้น้อยกว่าอีก

สงสัยเป็นเพราะรสชาติ และรสสัมผัสที่ไม่เหมือนกันเลยทำให้คนเลือกที่จะกิน Haribo มากกว่า ขึ้นกับความชอบส่วนบุคคลละ

สุดท้ายนี้ กลัวไปหา Jolly Bear ครั้งถัดไปแล้วหาไม่เจอ แค่คิดว่าจะไม่ได้หักคอหมีมาสลับหัวเล่นก็ ตะเตือนไตละ T_T ของกินที่เล่นได้กำลังจะหายไปอีกอย่าง #แล้วลูกเราจะเล่นอะไร #อีกหน่อยจอลลี่แบร์อาจเหลือแค่ความทรงจำ #คิดถึงหมีหน่อยในฐานะอะไรก็ได้