เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 จรวดนิว เชฟเพิร์ด (New Shepard) ของบริษัท บลู ออริจิน (Blue Origin)ได้ทะยานสู่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อปฏิบัติภารกิจขนส่งสิ่งของและอาหาร รวมทั้งกล่องไฮโดรโพนิกสำหรับปลูกพืชน้ำที่กินได้ในอวกาศ (Microgravity LilyPond Chamber) ที่นำไปทดสอบในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ก่อนจะนำกลับมายังโลกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา

Credits: Blue Origin
ข้อมูลจากห้องไฮโดรโพนิกอันเล็กนี้จะช่วยให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า เทคโนโลยีที่พวกเขาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
“ในอวกาศ เราต้องการพืชที่ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการจำนวนมาก โดยใช้ทรัพยากรและปริมาณน้อยที่สุด และถ้าหากพืชชนิดนั้นสามารถเติบโตได้เร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ทั้งยังมีรสชาติที่ดี นั่นก็ย่อมดีขึ้นไปอีก” คริสติน เอสโคบาร์ (Christine Escobar) รองประธานของห้องปฏิบัติการอวกาศและผู้ตรวจสอบหลักของ Microgravity LilyPond กล่าว
เมื่อพิจารณาจากความต้องการเหล่านี้ ถั่วเลนทิล (Duckweed / water lentils) จึงได้รับเลือกให้เป็นพืชทดสอบ ด้วยปริมาณโปรตีนสูง (มากถึง 45%) และสารต้านอนุมูลอิสระกรดอะมิโนและโอเมก้า 3 ที่อุดมไปด้วยความกรุบกรอบ ทำให้มันถูกเรียกว่าเป็น ‘สุดยอดอาหาร’ หรือ ‘superfood’ แถมมันยังเติบโตได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องการดินอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชดังกล่าวก็ยังต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การปลูกพืชน้ำลอยน้ำในอวกาศ นั่นต้องทำให้พื้นผิวน้ำมีความเสถียรและมั่นคง ซึ่งจะช่วยทำให้พืชสัมผัสกับอากาศและสามารถเก็บเกี่ยวได้

Credits: Jared J. Stewart/University of Colorado at Boulder
และด้วยสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง เทคโนโลยีนี้จึงอาศัยการปลูกเป็นถาดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อย่างใกล้ชิด ช่วยให้ผิวน้ำมีความเสถียร มีระบส่งน้ำผ่านช่องทางเล็ก ๆ คล้ายเส้นเลือดฝอยแบบเปิดจำนวนมาก และยังมีแสงไฟ LED เพื่อให้แสงสว่าง และเมื่อพืชเติบโตพร้อมที่จะนำมากิน ตะแกรงจะหมุนยกมันขึ้นจากน้ำ ส่วนน้ำนั้นก็จะนำไปรีไซเคิลใช้สำหรับการเพาะปลูกครั้งต่อไป

ที่ช่วยให้ผิวน้ำมีความคงตัวช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้ ทั้งยังมีหลอดไฟ LED และตะแกรงหมุนช่วยเก็บเกี่ยวพืชเมื่อโตเต็มที่ด้วย
Credits: Space Lab Technologies
ระหว่างนี้ เราก็ลุ้นกันไปว่าเทคโนโลยีล่าสุดจะมีประสิทธิภาพเพียงพอให้ปลูกพืชผักในอวกาศได้จริงหรือไม่ ไม่แน่เราอาจจะได้เห็นแปลงปลูกผักในสถานีอวกาศ เหมือนอย่างในภาพยตร์ Martians หรือ ซีรีส์ Away เร็ว ๆ นี้ก็ได้ และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ภาพงานฉลองในสถานีอวกาศคงยิ่งดูสวยงามสดใสมากกว่าเดิมอีกหลายเท่าแน่ ๆ
อ้างอิง
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส