และเสียงนี้นี่เองที่ให้ข้อมูลนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพของหินตัวอย่างได้
โทมัส เซอร์บุเชน (Thomas Zurbuchen) ผู้ประสานงานด้านวิทยาศาสตร์ของนาซากล่าวว่า “SuperCam ช่วยให้เราแยกตัวอย่างหินที่มีแนวโน้ม และมีศักยภาพควรค่าแก่การนำกลับมาวิเคราะห์ ออกจากหินทั่วไปได้ โดยมันทำหน้าที่เสมือนหู ที่สามารถฟังได้ว่า เมื่อเลเซอร์เข้าไปกระทบกับพวกมันจะมีเสียงสะท้อนกลับอย่างไร ช่วยให้พิจารณาได้ว่าตัวอย่างใดที่จะเหมาะสม ควรนำกลับมาตรวจสอบยังโลกที่สุด ซึ่งการที่เราเลือกที่จะนำตัวอย่างกลับมาวิเคราหะ์เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนี้ นับว่าเป็นผลงานที่มีความทะเยอทะยานที่สุดเท่าที่มนุษยชาติเคยทำมา”
นอกจากเสียง ทีม SuperCam ยังได้รับชุดข้อมูลจากเซ็นเซอร์ VISIR ที่ตรวจจับสัญญาณที่มองเห็นได้ และคลื่นอินฟราเรด รวมทั้งจากสเปกโตรมิเตอร์รามาน (Raman spectrometer) ด้วย
แสง สี เสียง เพื่อการศึกษาดาวอังคาร
VISIR นั้นใช้รวบรวมแสงที่สะท้อนจากดวงอาทิตย์ เพื่อศึกษาปริมาณแร่ของหินและตะกอน เทคนิคนี้ช่วยเติมเต็มสเปกโตรมิเตอร์รามาน ซึ่งใช้ลำแสงเลเซอร์สีเขียว เพื่อกระตุ้นพันธะเคมีในหินดังกล่าวเพื่อสร้างสัญญาณที่จะบ่งชี้ว่าองค์ประกอบแร่ของหินนั้นมีอะไรบ้าง

Credit : NASA/JPL-Caltech/LANL/CNES/CNRS
โอลิเวียร์ เบย์แซค (Olivier Beyssac) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติฝรั่งเศส (French National Centre for Scientific Research: CNRS) กล่าวว่า “ นี่เป็นครั้งแรกที่เครื่องมือชนิดนี้นอกจากบนโลก! สเปกโตรมิเตอร์รามานนี้จะมีบทบาทสำคัญในการล้วงข้อมูลเชิงลึกด้านธรณีวิทยา บ่งชี้ว่าพวกมันก่อตัวขึ้นในเงื่อนไขใด และยังตรวจจับโมเลกุลอินทรีย์และอนินทรีย์ที่อาจเกิดขึ้นโดยสิ่งมีชีวิตได้ด้วย”
ช่างน่าทึ่งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างร่วมแรงร่วมใจกันค้นหาวิธีการที่จะทำให้การเดินทางไปยังดาวอังคารในครั้งนี้เกิดประโยชน์สูงสุด จนเกิดเป็นเทคโนโลยีที่น่าทึ่งเหนือจินตนาการแบบนี้ ท่าทางว่า ต่อไปต้องมีอะไรให้เราได้ทั้งฟังและชมกันอีกมากมายแน่นอน
อ้างอิง
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส