แม้พลาสติกห่ออาหารจะมีประโยชน์ในการปกป้องอาหารของเราจากสิ่งสกปรกหรือยืดเวลาให้อาหารอยู่ได้นานขึ้นได้ แต่ถ้าในแง่ที่ข้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้น พลาสติกคือตัวการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเป็นอันดับต้นๆ และหากปล่อยไว้นานกว่านี้ชั้นบรรยากาศของโลกจะค่อยๆ ย่ำแย่ลง นั่นหมายถึงภัยภิบัติจากธรรมชาติก็จะเพิ่มตาม ซึ่งด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้กลุ่มนักวิจัยกรมวิชาการเกษตรของสหรัฐ  (U.S. Department of Agriculture) ได้ทดลองสร้างพลาสติกห่ออาหารที่ผลิตจากโปรตีนสังเคราะห์ชนิดหนึ่งในน้ำนมอย่าง Casein ที่ทำให้พลาสติกห่ออาหารนี้นั้น“กินได้” 

film2-768x432

film3

แน่นอนว่าพลาสติกห่ออาหารที่กินได้ดังกล่าวนี้นั้นย่อมเป็นมิตรกับธรรมชาติและยืดเวลาการถนอมอาหารได้มากกว่าเพราะสามารถกันออกซิเจนได้มากถึง 500 เท่าจากพลาสติกห่ออาหารทั่วไป อีกทั้งยังสามารถละลายในน้ำร้อนได้ทำให้ผู้ใช้งานอาจดัดแปลงเป็นซองใส่กาแฟ น้ำตาล ฯลฯ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วสะดวกสบายในกิจวัตรประจำวัน ซึ่งนอกจากนี้พวกเขายังคิดที่จะแต่งกลิ่น รส หรือแม้แต่สารอาหารลงไปในพลาสติกดังกล่าวเพื่อให้สามารถกลมกลืนกับการใช้ชีวิตได้อีกด้วย

Play video

ปัจจุบันพลาสติกห่ออาหารที่กินได้ดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ในช่วงทดลองและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังไม่กำหนดการที่ชัดเจนในการนำมาใช้ตามร้านค้า รวมไปถึงปัญหาด้านอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาเช่น หากพลาสติกดังกล่าวสามารถนำมาห่ออาหารได้จริงๆ ทางสหรัฐฯอาจจะต้องเพิ่มจำนวนของฟาร์มนมอย่างมหาศาล รวมไปถึงปัญหาด้านกลไกการตลาด เป็นต้น

Credit: ACS