ถ้าคุณถูกบังคับให้เลือกระหว่างช่วยคนที่ข้ามถนน กับ ช่วยชีวิตคุณกับคนในรถคุณจะเลือกอะไร?

เพื่อให้ได้คำตอบทีมนักวิจัยจาก MIT Media Lab ได้วิเคราะห์การตอบสนองมากกว่า 40 ล้านคน ในการทดลองที่เปิดตัวขึ้นในปี 2014 ทั้งทางด้านจริยธรรม และ มุมมองที่แตกต่างกันจากคนทั่วโลก

การชั่งน้ำหนักระหว่างคนที่จะช่วยชีวิตดูจะเป็นหลักจริยธรรมทั่วไปที่ทุกคนมอง แนวคิดนี้ได้รับการสำรวจจากซีรีย์ The Good Place ที่ฉายทางช่อง NBC โดยในเนื้อเรื่องนั้นตัวละครอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องเลือกระหว่าง การปล่อยให้รถรางวิ่งเข้าชนวิศวกร 5 คน หรือ จะช่วยชีวิตวิศวกร 5 คน แล้วทำให้วิศวกรคนอื่นๆ เสียชีวิตแทน ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นนี้เราจะทำอย่างไร

จากการวิจัยเราพบว่า

4 ปี ภายหลังการทดลองจำลองสถานการณ์ กว่า 40 ล้านคนเลือกที่จะ

  • ช่วยชีวิตของคนมากกว่าหากมีสัตว์ตัดหน้ารถ
  • คนส่วนมากเลือกที่จะช่วยชีวิตคนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • มีแนวโน้มที่จะช่วยชีวิตเด็กมากกว่าผู้สูงอายุ
  • นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่เลือกที่จะช่วยชีวิตผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • ช่วยคนที่มีฐานะมากกว่าคนที่ยากจน
  • ช่วยชีวิตคนเดินเท้ามากกว่าผู้โดยสารภายในรถ

นักวิจัยบอกว่าจากการสำรวจข้อมูลประชากร ประมาณ 490,000 คน พบว่าปัจจัยเรื่อง เพศ อายุ และ ศาสนา ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมบางอย่างกลับมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น คนฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับจำนวนผู้คนที่จะเสียชีวิต ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจกับเรื่องคนเดินเท้ามากกว่า

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยได้กล่าวว่า แบบจำลองที่พวกเขาได้ทำนั้น เป็นการทดลองแบบไม่มีการควบคุม เราไม่สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องได้ทั้งหมดในสถานการณ์ที่ซับซ้อนเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นตัวจุดประกายการสนทนาเรื่องจริยธรรมในการขับขี่ระดับสากล ตั้งแต่อดีตเราไม่มีสิทธิกำหนดได้ว่าใครควรมีชีวิตรอด หรือใครควรตาย ในเวลาเพียงเสี้ยววินาที โดยไม่มองตามความเป็นจริง เราจึงควรมีการคุยกันถึงเรื่องจริยธรรมนี้เพื่อทำการออกแบบขั้นตอนทางจริยธรรม ทีมงานในการวิเคราะห์กล่าว

ทางด้านเยอรมันได้เสนอกฎหมายว่า ผู้ขับรถจะต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุให้มากที่สุด และ หากเกิดความเสียหายขึ้นมาผู้ขับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และ ตามกฎหมายยังระบุอีกว่า ขั้นตอนเหล่านี้จะต้องไม่ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ และ สุขภาพ ของทั้งผู้โดยสาร และ คนเดินเท้า

อ้างอิง