โครงการนี้ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และธรรมชาติใน London และ พิพิธภัณฑ์ Smithsonian ใน Washington DC ในพิพิธภัณฑ์ทั้งสองนี้มีตัวอย่างของต้นไม้และสิ่งมีชีวิตหลายล้านชนิด และในพิพิธภัณฑ์ดิจิตอลนี้จะบันทึกตัวอย่างฟอสซิลที่กว่า 40 ล้านชนิดที่ Smithsonian เก็บไว้กว่า 50 ปี โครงการนี้เหมือนเป็นการเปิดลิ้นชักที่สำคัญมากเลยทีเดียว

Kathy Hollis ผู้นำโครงการจาก The Smithsonian Museum of Natural History กล่าวว่า เราพยายามที่จะนำข้อมูลเหล่านี้เข้าไปในพิพิธภัณฑ์ดิจิตอลเพื่อที่จะให้นักวิจัยสามารถศึกษาได้ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนบนโลก และเราก็ค่อนข้างแน่ใจว่านี่จะเป็นคลังฟอสซิลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรามีตัวอย่างกว่า 40 ล้านชนิด ที่บันทึกประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และคุณสามารถเรียนรู้ผ่านฟอสซิลเหล่านี้ สิ่งที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เป็นเพียงเศษเสี้ยวของคลังฟอสซิลที่เรามีเท่านั้น และนี่คือเวลาเปิดลิ้นชักเพื่อนำพวกมันออกมาสู่โลกภายนอกหลังจากถูกเก็บมาเป็นเวลากว่า 10 ปี

ด้าน The Royal Society journal Biology Letters ได้บอกว่าพิพิธภัณฑ์ดิจิตอลนี้จะเพิ่มความสามารถของนักวิจัยให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในอดีต เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในอนาคตได้

ในโครงการพิพิธภัณฑ์ดิจิตอลนี้ จะทำการเก็บภาพที่มีคุณภาพสูง และข้อมูลสำคัญต่างๆของตัวอย่างไว้ อย่างเช่น อายุ สายพันธุ์ สถานที่พบ และนอกจากนี้ยังมีตัวอย่างสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจถึง การเปลี่ยนแปลงของชีวิตใต้ท้องทะเล และอุณหภูมิในมหาสมุทรได้อีกด้วย ที่สำคัญรายระเอียดส่วนใหญ่ของระบบดิจิตอลจะทำออกมาละเอียดกว่าของจริง โดยภาพต่างๆของฟอสซิล ศาสตราจารย์ Emily Rayfield จากมหาวิทยาลัย Bristol จะใช้เครื่อง CT Scans เพื่อสร้างโมเดลขึ้นมา และจำลองการใช้งานของกระดูกต่างๆเหล่านั้น

ในความเป็นจริงการจะยกฟอสซิลเหล่านั้นเพื่อจำลองการเคลื่อนไหวต่างๆ มันเป็นไปได้ยากมาก แต่ในระบบดิจิตอลเราสามารที่จะหมุน ขยาย หรือจำลองสิ่งเหล่านั้นได้ สิ่งนี้จึงเป็นเหมือนชิ้นส่วนสำคัญในการศึกษา

หลายคนสงสัยว่าสิ่งแวดล้อมสามารถเป็นแหล่งอาหารให้ สัตว์ในยุคนั้นได้อย่างไร หนึ่งในสมมุติฐานคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเช่นการมีคอที่ยาวขึ้น หรือลักษณะของกะโหลก และฟันที่ต่างกันไป ทำให้พวกมันสามารถกินอาหารที่ต่างชนิดได้ แบบจำลองดิจิคอลนี้จะสามารถจำลองการเคลื่อนไหวของกราม การเคี้ยวของพวกมันได้ มันสามารถแสดงถึงความแตกต่างของพวก sauropods (พวกสี่ขา คอยาว กินพืช) ที่จริงๆแล้วอาจจะกินอาหารที่ต่างกัน และสามารถบอกถึงสภาพแวดล้อมที่ที่สามารถเป็นแหล่งอาหารให้ไดโนเสาร์กว่า 10 ตัวได้ในเวลาเดียวกัน เราต้องทำให้แน่ใจว่าพิพิธภัณฑ์ดิจิตอลจะได้รับการบันทึก และจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ เพื่อให้ข้อมูลมีคุณภาพสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ ศาสตราจารย์ Rayfield กล่าว

อ้างอิง