เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มกราคมที่ผ่านมาหน่วยข่าวกรองทางด้านเศรษฐศาสตร์หรือ EIU กล่าวถึง Global Health Security (GHS) ว่าสิงคโปร์มีการเตรียมพร้อมในการรับมือต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาน้อยกว่าประเทศไทย และ มาเลเซียเสียอีก

จากงานวิจัย EIU รายงานว่า ในความเป็นจริงแล้วไม่มีประเทศใดที่พร้อมรับมือกับการระบาดของโรค และเชื้อไวรัสแบบ 100% แต่จากงานวิจัยมีเพียง 13 ประเทศ จาก 195 ประเทศเท่านั้น ที่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคที่อยู่ในเกณฑ์ดี (ไทยและเกาหลีใต้เป็นสองประเทศที่ได้คะแนนประเมินความพร้อมอยู่ในระดับสูงด้วย)

จากงานวิจัยนี้สิงคโปร์ได้อันดับที่ 24 ด้วยคะแนน 58.7 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 18 (62.2 คะแนน) ในขณะที่เกาหลีใต้ได้อันดับที่ 9 (70.2 คะแนน) และไทยอยู่ในอันดับที่ 6 (73.2 คะแนน)

การจัดอันดับของ EIU กำหนดว่าประเทศที่มีคะแนน 67 คะแนนหรือมากกว่านั้นเท่านั้นถึงจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการรับมือกับโรคระบาดในระดับสูง ซึ่งจากงานวิจัยคะแนน GHS ทั่วโลกเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 40.2 เท่านั้น สำหรับ Top 3 ของตารางนี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (83.5 คะแนน), อังกฤษ (77.9 คะแนน) และเนเธอร์แลนด์ (75.6 คะแนน)

ไม่เพียงเท่านั้น EIU ยังเสนออีกว่าประเทศที่มีรายได้สูงมีค่าเฉลี่ย GHS อยู่ที่ 51.9 คะแนน ชี้ให้เห็นว่าการเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดของนานาประเทศยังคงอ่อนแอมาก

หลายคนคงมีคำถามว่าจริงหรือ? แล้ว EIU เอาข้อมูลมาจากไหน?

ทาง EIU จะทำการประเมินความสามารถและขีดความสามารถด้านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับ 195 ประเทศโดยประเมินระดับความพร้อมผ่านการตอบคำถาม 140 ข้อ โดยแบ่งเป็น 6 หมวดได้แก่

  1. การป้องกัน : หมวดนี้คือความเข้าใจในการป้องกันเชื้อ รวมถึงการแพร่เชื้อ
    สิงคโปร์ได้อันดับที่ 23, 56.2 คะแนน
  2. การตรวจหา และอาการเบื้องต้น : หมวดนี้คือการตรวจหาผู้ติดเชื้อ และการรายงานการระบาดของโรคเบื้องต้นระหว่างประเทศ ที่อาจแพร่กระจายเกินกว่าพรมแดนประเทศหรือภูมิภาค
    สิงคโปร์ได้อันดับที่ 40, 64.5 คะแนน
  3. การรับมือ : การรับมือต่อการแพร่ระบาด และลดการแพร่ระบาดของโรค
    สิงคโปร์ได้อันดับที่ 11, 64.6 คะแนน
  4. การดูแลสุขภาพ : หมวดนี้หมายถึงการรองรับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ในกรณีที่เกิดการแพร่ระบาด และติดเชื้อรวมถึงสามารถป้องกันผู้ที่ปฎิบัติงานด้านสุขภาพไม่ให้ติดเชื้อด้วย
    สิงคโปร์ได้อันดับที่ 38, 41.4 คะแนน
  5. การปฏิบัติตามบรรทัดฐานสากล : หมวดนี้หมายถึงการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศแผนการจัดหาเงินเพื่อแก้ไขช่องว่างและปฏิบัติตามบรรทัดฐานระดับโลก
    สิงคโปร์ได้อันดับที่ 101, 47.3 คะแนน
  6. ความเสี่ยงทางด้านสภาพแวดล้อม : หมวดนี้อ้างถึงสภาพแวดล้อมความเสี่ยงโดยรวมของประเทศและความอ่อนแอของประเทศต่อภัยคุกคามทางชีวภาพ
    สิงคโปร์ได้อันดับที่ 15, 80.9 คะแนน

นอกจากนี้ EIU ยังค้นพบว่า

  • งานวิจัยยังทำให้เราเห็นว่าความมั่งคั่งของประเทศไม่ได้เป็นตัวแปรในการป้องกันสุขภาพของประชาชน แต่มันถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายอย่างรวมถึงการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและระบบการเฝ้าระวังโรคที่แข็งแกร่ง เพราะ EIU พบว่ามีหลายประเทศที่มีรายได้สูง – ปานกลาง มีคะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ในงานวิจัยนี้
  • การมีแผนฉุกเฉินไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านั้นจะสามารถรับมือได้! EIU กล่าวว่า 85% ของประเทศต่าง ๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจำลองการรับมือกับการแพร่ระบาดขององค์กรอนามัยโลก
  • มีประเทศน้อยกว่า 5% ให้ความสำคัญกับแผนซ้อมรับมือโรคระบาดต่อปี
  • มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่กำลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ทางการเมืองส่งผลต่อขีดจำกัดในการรับมือกับการแพร่ระบาดทางชีวภาพ
  • มีเพียง 23% ของประเทศที่ได้คะแนนอยู่ในระดับสูงเท่านั้นที่แสดงให้เราเห็นว่าระบบการเมือง และรัฐบาลมีประสิทธิภาพ (ซึ่งครอบคลุมเพียงแค่ 14% ของประชากรโลก)

ข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดหรือเฝ้าระวังเท่านั้น แต่ทุก ๆ พื้นที่ควรมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และหยุดการแพร่เชื้อดั่งที่เคยมีประสบการณ์ผ่านโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายปีทีผ่านมา การแพร่กระจายเชื้ออาจเกิดได้เร็วกว่าที่เราคาดคิด

อ้างอิง Todayonile