เมื่อวันก่อนเราได้เห็น ในหน้าเพจเฟซบุ๊คของคุณ เต๋อ นวพล (อีกแล้ว) โพสต์ภาพพร้อมข้อความประกอบว่า “ อย่าปล่อยให้คนญี่ปุ่นทำหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยดีกว่าเราสิ , เสียอย่างเดียว ไม่มีซับอังกฤษ”

ภาพจาก facebook – Nawapol Thamrongrattanarit

 

ภาพจาก facebook – Nawapol Thamrongrattanarit

ในหน้านิตยสารนั้นมีรูปของ นักร้อง นักแต่งเพลงลูกทุ่งไทยคนหนึ่งนั่นคือ คุณ “สรวง สันติ” ซึ่งแต่เดิมเราก็ไม่เคยรู้จักศิลปินท่านนี้มาก่อน (เนื่องจากเค้าเสียชีวิตไปก่อนที่เราจะเกิดมาฟังเพลงบนโลกใบนี้เสียอีก) แต่เราได้รู้จักจากการฟังอัลบั้ม compilations รวมศิลปินลุกทุ่งไทยที่ออกวางจำหน่ายในต่างประเทศ  ชื่อว่า Thai? Dai! (The Heavier Side Of The Luk Thung Underground)

หน้าปกอัลบั้ม เป็นรูป สรวง สันติ

 

Play video

เป็นอัลบั้มรวมศิลปินลูกทุ่งหลายท่าน ซึ่งแต่ละคนก็มีฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดาทั้งนั้น ลองฟังดูแล้วคุณจะชอบเพราะ เพลงลูกทุ่งที่รวมอยู่ในอัลบั้มนี้ มีความโดดเด่นตรงที่มีส่วนผสมของดนตรีหลากหลายแนวแม้แต่ไซคีเดลิคร็อค กับ พังก์ก็มีด้วย !!!  อะไรมันจะยอดเยี่ยมปานนี้

บทความนี้เราก็เลยจะพาทุกๆท่านไปรู้จักกับศิลปินท่านนี้กันครับ คุณ “สรวง สันติ” และนี่ก็คือ ๗ ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ลุกทุ่งไทยสายร็อคคนนี้ !!!

ข้อที่ ๑   สรวง สันติ มีผลงานเพลงตั้งแต่อายุ 17 ปี

ในปี พ.ศ. 2505 ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ ได้นำวงไปทำการแสดงที่ จ.สุโขทัย ณ ตอนนั้น นาย จำนงค์ เป็นสุข (ชื่อเดิมของสรวง สันติ) ซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 17 ปี ได้ลองไปสมัครดู ครูพิพัฒน์ได้ฟังเสียงก็รับเข้าอยู่ประจำวง และให้บันทึกเสียงเพลงชุดแรก คือ “มดแดงเฝ้ามะม่วง”และ “ลุงฉิ่ง” โดยตั้งชื่อให้ว่า “ดาว มรกต” แต่ไม่ดัง

ข้อที่       สรวง สันติ เสียชีวิตเมื่ออายุยังน้อย และเสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลากว่า 35 ปี

สรวง สันติ มีชื่อจริงว่า จำนงค์ เป็นสุข เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นคนสุโขทัยโดยกำเนิด และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2525 เวลา 23.00 น.โดยประมาณ จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ขณะเดินทางไปจังหวัดปราจีนบุรี  สรวง สันติ เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 37 ปี

ข้อที่ ๓  อยากเป็นนักร้อง ต้องมุ่งมั่น!!!

เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2509  (เมื่อ 51  ปีก่อน) ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของ “สรวง สันติ” เพราะ นาย จำนงค์ เป็นสุขไปสมัครอยู่กับวงดนตรีจุฬารัตน์ของครูมงคล อมาตยกุล โดยเข้ามาอยู่ในฐานะนักแต่งเพลง ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติมาก แต่ด้วยเพราะใจรักอยากเป็นนักร้องมากกว่าจึงเข้าไปบอกกับครูมงคล ขอเป็นนักร้อง เลยต้องเจอบททดสอบมากมาย ต้องยอมเป็นเบ๊รับใช้คนทั้งคณะ ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง ครูมงคลจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “สรวง สันติ” และได้ออกร้องเพลงเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์ปัตตานี และต่อมาได้บันทึกเสียง อัดแผ่นเสียงเพลงแรกเมื่อ 31 สืงหาคม พ.ศ. 2509  เพลง ”แฟนใครแฟนมัน” ก็ได้รับความนิยมชมชอบจากแฟนเพลงทันที

ข้อที่  ๔  ร้องลูกทุ่งก็ยังไม่ดัง หนีไปเป็นชาวร็อคดีกว่า !!!

แต่ไปๆมา สรวง สันติ ก็กลับไม่เกิดในฐานะนักร้องอีกนั่นแหละ แต่กลับดังในฐานะนักแต่งเพลงมากกว่า เขาอยู่กับวงจุฬารัตน์ 6 ปี อยู่จนยุบวง ก็เลยออกมาตั้งวงเอง ชื่อวง “เดอะบัฟฟาโล่” และมีชื่อเสียงในการนำดนตรีไซคีเดลิคและฮาร์ดร็อคไปใส่ในเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970  แต่จนแล้วจนรอดเขาก็ยังไม่ดังอยู่ดี แต่ภาพลักษณ์ของความเป็นร็อคเกอร์กลับเป็นที่ถูกใจแฟนๆเนื่องจากในเวลาแสดงสดนั้นสรวง มักจะเผาเสื้อ เผากีตาร์ เผากลอง ฟาดกีตาร์กับเวที เล่นจริง เผาจริง ฟาดจริง  (แหม้ช่างชาวร็อคจริงๆ)

ข้อที่ ๕  แต่งเองร้องเอง ยังไงก็ไม่ดัง ไปแต่งให้คนอื่นร้องดีกว่า

เขาตั้งวงอยู่ได้ประมาณ 3 ปี ก็เลิก หันมาแต่งเพลงอย่างเดียว แต่คราวนี้กลับดังระเบิดระเบ้อ เพลงไหนเพราะ ๆ หวาน ๆ ซึ้ง ๆ สรวงให้คนอื่นร้องหมด เก็นอันที่ดิบๆเถื่อนๆฮาๆไว้ร้องเอง และยังรักษาลายเซ็นต์ตัวเองไว้คือ เผากีตาร์ เผากลองอยู่เหมือนเดิม

เพลงดังๆที่สรวงแต่งให้คนอื่นร้องมีอยู่มากมาย อาทิเช่น

สาว ต.จ.ว. – ไพจิตร อักษรณรงค์

Play video

รักสิบล้อต้องรอสิบโมง และ สวยในซอย  – วงรอยัลสไปรท์

Play video

Play video

ส่วนเกิน – ดาวใจ ไพจิตร 

Play video

หนุนของต่างแขน – พนม นพพร

Play video

ข้อยเว้าแม่นบ่ – นันทิดา แก้วบัวสาย

Play video

แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าเพลงที่สรวงแต่งเองร้องเองแล้วมันจะไม่ดังไปซะทุกเพลง เพลงของสรวงที่โด่งดังก็มีหลายเพลงอยู่ อาทิเช่น 

ผู้ยิ่งใหญ่

Play video

ได้กลิ่นอายแบบคาวบอยมาเลย

น้ำมันแพง

Play video

มีความเป็นชาวร็อค !

1-2-3 ด่วนสองแถว

Play video

เพลงนี้มีลักษณะการร้องสลับพูด แบบในเพลงของ เพลิน พรมแดน

แต่ละเพลงนี่มีเอกลักษณ์จริงๆ  เราว่าใครที่ไม่เคยฟังลูกทุ่งเลยถ้าลองเริ่มจากการฟังสรวง สันติ นี่น่าจะเป็นอะไรที่เข้าท่า

ข้อที่ ๖ สรวง สันติ เป็นคนติสต์

สรวง สันติ เป็นคนเงียบขรึม ช่างคิดช่างฝัน  ไม่ชอบให้เวลาผ่านเลยไปโดยไร้ประโยชน์จึงมักชอบนั่งแต่งเพลงไปเรื่อย ด้วยเหตุนี้จึงมีผลงานเพลงที่ออกมาจากปลายปากกาของเขามากมาย สรวง สันติ เป็นคนรักเพื่อนฝูง และมีอารมณ์ขัน แต่เป็นอารมณ์ขันแบบส่วนตัว บางครั้งคนอื่นเขาขำกันแทบตาย แต่ สรวง สันติ เก็บเอาไปขำวันรุ่งขึ้น (ติสต์จริงๆ) ด้วยความที่เป็นคนที่มีจินตนาการทำให้หลายๆครั้งเหมือนสรวงจะเป็นคนเหม่อลอยและคิดอะไรอยู่ตลอดเวลา เรื่องบางเรื่องที่กำลังเล่า กำลังพูดอยู่ในตอนนั้นก็อาจผ่านเลยไปและค่อยกลับมาตกตะกอนในภายหลัง

ข้อที่  ๗  เพลงของสรวง สันติ  ได้รับความนิยมในต่างประเทศและถูกรวมไว้ในอัลบั้มรวมฮิตเพลงลูกทุ่งที่ออกขายในต่างประเทศมากมาย

มีอัลบั้มเพลงมากมายที่บรรจุเพลงขอสรวง สันติเอาไว้ ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราแนะนำ

Thai? Dai! (The Heavier Side Of The Luk Thung Underground)

อัลบั้มนี้มีเพลงของ สรวง สันติอยู่ 3 เพลง ได้แก่  ขึ้นๆลงๆ , น้ำมันแพง และ ดับไฟคุยกัน

หนึ่งในเพลงฮิตของสรวง สันติ ที่มีกลิ่นอายความร็อคเต็มที่ คือ เพลงขึ้นๆลงๆ ซึ่งหากลองฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกคุ้นเคย ละม้ายคล้ายคลึงกับเพลงดังจากวง Black Sabbath ที่มีออซซี ออสบอร์นเป็นหัวเรือ

ลองไปฟังกันเลยดีกว่า 

Play video

Play video

Thai Funk: ZudRangMa Vol. 1

อัลบั้มนี้มีเพลงของ สรวง สันติอยู่ 1  เพลง ได้แก่ เพลง น้ำมันแพง

Play video

แปะให้ฟังกันอีกรอบ

Thai Funk: ZudRangMa Vol. 2

อัลบั้มนี้มีอยู่ 1  เพลงคือ เลี้ยงไม่โต

Play video

เพลงนี้น่าจะ inspire มาจาก

Kung Fu Fighting ของ Carl Douglas

Play video

Luk Thung! The Roots Of Thai Funk: ZudRangMa Vol. 3

ปกอัลบั้มทั้ง 3 Vol. เท่มาก ยิ่ง Vol. นี้มาเป็นกระติ๊บเลย

อัลบั้มนี้มีเพลงที่สรวงร้องอยู่ 1  เพลงคือ ดับไฟคุยกัน

Play video

และนี่ก็คือหนึ่งในตำนานเพลงลูกทุ่งไทย เป็นลูกทุ่งไทยสายร็อคที่ประกาศศักดาความภาคภูมิใจสู่ระดับสากล เป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ควรค่าแก่การจดจำและระลึกถึงผ่านบทเพลงของเขาอยู่เสมอ สุดยอดเลยจริงๆครับ กับลูกทุ่งไทยสายร็อคคนนี้

“สรวง สันติ”


เพลงอื่นๆของสรวง สันติ

Play video

Play video

Play video

ยังมีอีกมากมายหาฟังได้จากใน youtube ครับ


อ้างอิง

เฟซบุ๊ค นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ 

ประวัติ สรวง สันติ 

อัลบั้มต่างๆ

Thai? Dai! (The Heavier Side Of The Luk Thung Underground)

Thai Funk: ZudRangMa Vol. 1

Thai Funk:  Vol. 2

Luk Thung! The Roots Of Thai Funk: ZudRangMa Vol. 3