ก่อนจะหมดเดือนกรกฎาคมที่เป็นเดือนแห่งการครบรอบ 35 ปีการเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของ Back to the Future ภาคแรก ก็มาต่อกันที่ “รวมเรื่องที่เราขอท้าว่า คุณพลาดไปแน่ ๆ ตอนที่ 2” ซึ่ง What the Fact ได้เคยนำเสนอตอนแรกไปแล้ว ย้อนกลับไปอ่านกันได้ และในตอนนี้ทั้ง Netflix และฟรีทีวีก็มีการนำไตรภาคนี้กลับมาฉายอีก สำหรับผู้มีอายุต่ำกว่าเลข 4 ลงมาที่เกิดไม่ทัน ก็น่าจะมีโอกาสได้ชมหนังสนุก ๆ เรื่องนี้ของรุ่นพี่รุ่นพ่อ ที่แม้ว่าจะผ่านมานานแค่ไหน หนังก็ยังดูสนุกอยู่เสมอ

Marty ได้เจอกับ Mr. Peabody and Sherman การ์ตูนคู่หูนักท่องเวลา

แม้ในหนังจะไม่ได้เอ่ยชื่อออกมาชัด ๆ แต่ตอนที่ Marty McFly เดินทางย้อนเวลากลับไปปี 1955 และไปโผล่ในไร่ของตาแก่ Peabody เจ้าของที่ตั้งห้าง Twin Pines Mall ลูกชายของ Peabody ในเรื่องนั้นมีชื่อว่า Sherman โดยหนังต้องการจะโยงไปที่ตัวละครคู่หูสุดฮิต Mr. Peabody and Sherman ในการ์ตูนชุดที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการย้อนเวลาเหมือนกันอย่าง The Adventures of Rocky and Bullwinkle ที่ออกฉายทางโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี 1959

Sherman เป็นแฟนหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ยุคคลาสสิ

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

เด็กชาย Sherman ที่ตกใจเมื่อเห็น Marty โผล่มากลางไร่ของครอบครัวตัวเอง เขาคว้าหนังสือ Tale from the Space ขึ้นมาเพื่อจะบอกพ่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นช่างเหมือนในหนังสือที่เขาอ่านอยู่ ในฉากนี้จะเห็นโลโก้ของค่ายหนังสือการ์ตูนในตำนานอย่าง EC Comics ที่ตีพิมพ์การ์ตูนแนวไซไฟวิทยาศาสตร์มากมาย รวมถึง Tales from the Crypt ที่หนังแสดงการคารวะด้วยการใส่ชื่อคล้าย ๆ กันนี้ในหนังสือเล่มที่ว่าด้วย นอกจากนั้น Tale from the Space ยังอ้างอิงไปถึงชื่อตอนหนึ่งของหนังดังในอดีตที่สร้างมาจากละครวิทยุเสียเหมือนจริง ผู้คนเชื่อว่ามีเอเลียนบุกโลกจริง ๆ อย่าง The War of the Worlds (1953) โดยละครวิทยุและหนังสร้างมาจากนิยายของ H.G. Wells อีกที

อัลบั้มเพลงในร้าน Roy’s Records ก็ย้อนเวลามาเหมือนกัน

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

ข้อนี้เป็นการแซวเล่นในความ “หลุด” ของทีมงานสร้างหนังมากกว่า โดยในฉากที่ Marty เพิ่งกลับไปยังกลางเมือง Hill Valley ปี 1955 ใหม่ ๆ นั่น เขาได้เดินผ่านร้านแผ่นเสียง Roy’s Records ที่โชว์ 4 อัลบั้มตั้งไว้ริมกระจกหน้าร้าน จริง ๆ แล้ว ใน 4 อัลบั้มนั้นมีแค่อัลบั้มเดียวที่ออกวางขายแล้วในปี 1955 นั้นคือ Nat King Cole’s “Unforgettable” ที่วางขายปี 1954 นอกจากนั้นอีก 3 อัลบั้มคือ “In the Land of Hi-Fi” ของ Patti Page วางขายปี 1956, “Eydie in Dixieland” ของ Eydie Gorme และ The Chordettes’s self-titled compilation วางขายปี 1959 ทั้งสองอัลบั้ม ซึ่งหมายถึงตอนปี 1955 ยังไม่มีการวางขายนั่นเอง

สมุดหน้าเหลืองของ Hill Valley เขียนนามสกุล Doc ผิด

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

ฉากนี้ก็เป็นบททดสอบความตาดีของแฟนหนังอีกเช่นกัน เพราะทีมงานฝ่ายศิลป์น่าจะใส่รายละเอียดนามสกุลของ Doc ในสมุดโทรศัพท์ผิดไป ฉากนี้เป็นฉากที่ Marty พยายามจะหาที่อยู่ของ Doc ตอนย้อนกลับมาในปี 1955 เขาเดินไปขอโทรศัพท์หลังร้านอาหาร สิ่งที่ผิดไปก็คือชื่อของ Emmet Brown โดยชื่อของ Doc ตกตัว T ไปหนึ่งตัวนั่นเอง เพราะจริง ๆ แล้วต้องเขียนว่า Emmett Brown (หรือหนังจะสื่อว่าเป็นคนละ Emmett Brown คนละไทม์ไลน์กันก็ไม่แน่ใจนะ)

บ้านของ Doc เป็นบ้านของบุคคลสำคัญ และเป็นอาคารศิลปะชื่อดัง

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

บ้านของ Doc ในปี 1955 เลขที่ 1640 Riverside Drive หรือ John F. Kennedy Drive จริง ๆ แล้วเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ชื่อว่า Pasadena หรือที่ชาวแคลิฟอร์เนียเรียกว่า The Gamble House ออกแบบโดย 2 สถาปนิก Charles และ Henry Greene ที่สร้างให้กับ James Gamble เห็นชื่อแบบนี้ เขาไม่ใช่นักพนันแต่อย่างใด แต่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Procter & Gamble หรือ P&G บริษัทเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุปโภคด้านความสะอาด (สบู่ แชมพู ยาสีฟัน) James Gamble ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1803-1891 และบ้าน Pasadena หลังนี้ก็กลายเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปะที่โด่งดังมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 แล้ว

Visit Pasadena—The Gamble House | Visit Pasadena

(อ่านต่อหน้าถัดไป)

Doc เก็บเรื่องราวสำคัญในอดีตของตัวเองไว้ใกล้ ๆ

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

ตามแบบฉบับของนักวิทยาศาสตร์ที่ชอบเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ในฉากเปิดเรื่องของภาคแรก Doc แปะข่าวไว้ในกรอบรูปว่า บ้านของตระกูล Brown ถูกรื้อทิ้งและถูกขาย จริง ๆ แล้ว ตระกูล Brown ของ Doc เป็นตระกูลที่มีฐานะ จะเห็นได้จากบ้านขนาดใหญ่ตอนปี 1955 แต่พอมาปี 1985 Doc กลับเหลือบ้านเล็ก ๆ ซึ่งก็คือการเอาโรงรถมาทำเป็นบ้าน เพราะ Doc ใช้เงินไปกับการทดลองวิทยาศาสตร์จนหมด และในฉากเปิดเรื่อง จะเห็นข่าวบ้านเดิมของ Doc ถูกไฟไหม้อย่างเป็นปริศนา (ที่ไม่มีใครรู้ว่าเกิดจากอะไร) และเขาก็ขายที่ดินของบ้านเดิมไปแล้ว ตอนที่หนังปี 1985 เผยให้เห็น

เหล่าปรมาจารย์ของ Doc

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นครูของ Doc ปรากฎอยู่ในฉากเปิดเรื่อง ปี 1985 ตอนนั้น Doc มาใช้ชีวิตอยู่ในโรงรถแล้ว รวมถึงตอนที่ Marty ย้อนเวลากลับไปปี 1955 ตอนที่ Doc ยังมีบ้านหลังใหญ่อยู่ ก็จะเห็นกรอบรูปนักวิทยาศาสตร์ระดับตำนานยุคต่าง ๆ ทั้ง Albert Einstein, Isaac Newton, Ben Franklin และ Thomas Alva Edison นอกจากนั้นน้องหมาในปี 1955 ของ Doc ยังชื่อ Copernicus ที่มาจากชื่อของนักวิทย์และนักดาราศาสตร์ชื่อดัง Nicolaus Copernicus ส่วนน้องหมาในปี 1985 ก็ชื่อว่า Einstein อีกด้วย

เมื่อนิยายไซไฟอวกาศ (ในเรื่องที่เป็นของจริง) กลายเป็นเรื่องจริง

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

George พ่อของ Marty นั้นคลั่งไคล้ซีรีส์โทรทัศน์แนววิทยาศาสตร์มาก ชนิดที่จะต้องกลับบ้านไปดูซีรีส์เรื่อง The Honeymooners ทุกตอนตามข้อมูลที่ภาคแรกบอก แล้วเขาก็ยังอ่านนิยายแนววิทยาศาสตร์ด้วย (หนังสือนิตยสาร Fantastic Story เป็นนิตยสารที่มีอยู่จริง ตีพิมพ์ในปี 1954 เรื่องราวเกี่ยวกับ Darth Vader จากดาว Vulcan ที่คอหนังย่อมจะรู้ว่า เป็นการจับแพะชนแกะของตัวละครจากหนัง Star Wars กับสถานที่จากหนัง Star Trek)

พอ Marty รู้แบบนี้ก็เลยแต่งชุดป้องกันกัมมันตรังสีสีเหลืองที่เขาใส่ตอนนั่งไทม์แมชชีนมาจากปี 1985 มาแกล้งขู่พ่อของเขา เพื่อให้ขอ Lorraine หรือแม่ไปงานเต้นรำวิวาห์ใต้สมุทรด้วย ซึ่งในฉากปี 1985 ตอนที่ Marty กลับมาหลังจากไปแก้ไขอดีตแล้วก็จะเห็นว่า George และครอบครัว McFly กลายเป็นผู้มีอันจะกินขึ้นมา เพราะขายหนังสือจากเรื่องที่เขาเขียนไว้ตอนปี 1955 จนโด่งดังนั่นเอง

Edward Van Hallen เล่นกีต้าร์จริง ๆ

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

เสียงกีตาร์ตอนที่ Marty แกล้งใส่ชุดกันกัมมันตรังสีสีเหลืองเพื่อไปหลอกพ่อว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวนั้น เป็นเสียงลีดกีตาร์ของนักกีตาร์ชื่อดัง Eddie Van Halen ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้อนุญาตให้หนังใช้เสียงนี้ของเขา หนังก็เลยต้องเติมชื่อ Edward Van Halen เข้าไปแทน (แหม่…คนดูจะไม่รู้เลยนะว่าเป็นคนเดียวกัน!) แต่ท้ายที่สุด Robert Zemeckis กับ Eddie Van Halen ก็พูดคุยกันลงตัว จนเขายอมอนุญาตให้นำเพลง Donut City สกอร์เพลงประกอบจากหนัง The Wild Life (1984) มาใช้เป็นเพลงประกอบเพลงหนึ่งของหนังเรื่องนี้ได้

Rocker Eddie Van Halen, Battling Cancer, Celebrates Birthday with ...
นักกีตาร์ชื่อดัง Eddie Van Halen

Biff ทั้งตระกูล ชนรถปุ๋ยคอกยี่ห้อเดิมตลอด

รถยี่ห้อ Statlers ไม่ใช่รถยี่ห้อเดียวที่มีปรากฎในหนัง (ในแบบโชว์รูมขายรถและรถกระบะสีดำของ Marty) เพราะว่าตัวละคร Biff นั้นก็เกี่ยวข้องกับรถยี่ห้อเดิมไม่เคยเปลี่ยนมาตั้งแต่รุ่นทวดด้วยเช่นกัน ในภาคแรกและภาค 2 เขาขับรถชนรถบรรทุกขนปุ๋ยคอก รุ่น D. Jones Manure Hauling ส่วนเจ้าหมาบ้า Tannen ที่เป็นทวดของ Biff Tannen ก็ถูก Marty ต่อยจนน็อกหน้าคว่ำลงไปในปุ๋ยคอกของรถขนปุ๋ย A. Jones Manure Hauling เหมือนรุ่นหลานเป๊ะ

In Back to the Future (1985) Biff Tannen crashes in a truck owned ...

(อ่านต่อหน้าถัดไป)

Doc ไม่เคยมีเวลาพอจะออกแบบโมเดลจำลองให้ถูกสัดส่วน

Michael J. Fox and Christopher Lloyd in Back to the Future (1985)
Michael J. Fox and Christopher Lloyd in Back to the Future Part III (1990)

ในทุกยุคสมัยทั้งปี 1885, 1955 และ 1985 นักวิทยาศาสตร์อย่าง Doc จะต้องสร้างหุ่นจำลองเส้นทางการการขับรถ DeLorian เพื่อข้ามเวลาขึ้นมาก่อนเสมอ ซึ่งคำพูดติดปากของ Doc ที่บอก Marty ก็คือ เขาไม่เคยมีเวลาจะสร้างแบบจำลองออกมาให้ถูกสัดส่วน แต่ภาพที่คนดูและ Marty เห็นทุกทีก็คือ แบบจำลองที่ทำอย่างละเอียดและสวยชนิดที่คนธรรมดาก็คงทำไม่ได้ในเวลาวันสองวันเหมือนที่ Doc ทำ

Marty ยืนยันตัวเองได้ว่ามาจากอนาคต เพราะรู้ถึงนิมิตของ Doc

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

Doc เกิดล้มหัวฟาดขอบอ่างอาบน้ำเมื่อปี 1955 ทำให้เกิดนิมิตถึงหน้าตาของเครื่องผลิตพลังงานกัมมันตภาพรังสีเพื่อเดินทางข้ามเวลาได้ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีก 30 ปี กว่าเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ จะพร้อมสำหรับการประดิษฐ์ เมื่อ Marty ย้อนเวลาจากปี 1985 กลับไปปี 1955 ทีแรก Doc ก็ยังไม่เชื่อว่า Marty มาจากอนาคตจริง ๆ จน Marty เล่าให้ฟังว่า เขาเดินทางมาด้วยไทม์แมชชีนที่สร้างขึ้นจากนิมิตของ Doc ตอนล้มหัวฟาดพื้นเมื่อไม่นานมานี้ นั่นทำให้ Doc ยอมเชื่อว่า Marty มาจากอนาคต

จริง ๆ แล้ว Doc มักประดิษฐ์อะไรไม่ค่อยสำเร็จ

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
Back to the Future Part III (1990)

ใช่ว่า Doc จะมีแต่สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำที่สร้างเสร็จทุกชิ้น เพราะถ้าสังเกตดี ๆ ภายในเรื่องจะเต็มไปด้วยสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างไม่สำเร็จมากกว่า และก็ทำให้ Doc ดูจะเป็นนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องตามที่ใครหลายคนว่ากันมากกว่า อย่างเช่นเครื่องอ่านสมองที่ Doc กำลังทดลองอยู่ตอนที่ Marty เจอเขาเป็นครั้งแรกปี 1955 ในหนังภาคแรก พอมาถึงภาค 3 (ตอนที่ยังเป็นเหตุการณ์ในปี 1955) Marty ก็ได้หยิบเจ้าเครื่องนี้มาสวมหัวอีกที นั่นก็เป็นอีกชิ้นที่ใช้ไม่ได้จริง จัดอยู่ในหมวดเดียวกับ GT2000 ได้

Doc วัยแก่ได้เจอกับ Doc วัยหนุ่มในภาค 2

'Back to the Future' (1985)
Christopher Lloyd in Back to the Future Part II (1989)

ฉากที่ชวนลุ้นและชวนอมยิ้มมากที่สุดอีกฉากหนึ่งก็คือการที่ Doc ในวัยแก่ ที่ย้อนเวลาไปปี 1955 หลังจาก Biff ไปสร้างเรื่องราวเปลี่ยนแปลงไทม์ไลน์จนอนาคตวุ่นวายในภาค 2 แล้วเขาก็ไปกลับอยู่ในเมือง Hill Valley จุดที่ Doc วัยหนุ่มกำลังกุลีกุจอเตรียมเครื่องมือ รอฟ้าผ่าหน้าหอนาฬิกาเพื่อช่วย Marty อยู่ โดยในฉากนี้ Doc วัยแก่ก็ได้บอกใบ้เป็นนัย ๆ กับตัวเองในวัยหนุ่มว่า การรู้เรื่องที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคตไม่น่าจะใช่สิ่งที่ดีเท่าไรหรอกนะ

(อ่านต่อหน้าถัดไป)

เมื่อ Marty กลายเป็นผู้คิดค้นแนวดนตรี Rock ‘n Roll

Harry Waters Jr. in Back to the Future (1985)

หนึ่งในฉากที่ Marty กลับไปเปลี่ยนแปลงอดีต ก็คือการทำให้วัยรุ่นในโรงเรียน เมือง Hill Valley ได้รู้จักกับเพลง Rock ‘n Roll และนอกจากเหล่าวัยรุ่นจะออกอาการงงเป็นไก่ตาแตกกับเพลงที่มาก่อนกาล (เพราะไม่เคยฟังการเล่นดนตรีของ Pete Townshend ต้นแบบของเล่นกีตาร์ของ Marty แบบในเรื่องมาก่อน) กลุ่มนักดนตรีที่ไปโชว์อยู่ในงานก็งงไปด้วย นักร้องผิวดำที่เป็นหัวหน้าวงซึ่งหนังก็โยงกับความเป็นจริงว่า เขาคือ Chuck Berry จึงรีบโทรหาศิลปินชื่อดังที่เป็นลูกพี่ลูกน้องอย่าง Marvin Berry ให้ฟังเสียงดนตรีที่ Marty เล่น Marvin Berry ก็คือศิลปินที่ก่อกำเนิดแนวดนตรี Rock ‘n Roll นั่นเอง

https://youtu.be/S1i5coU-0_Q

มุกเสื้อกันกระสุนถูกใช้ในภาค 1 และ ภาค 3

เมื่อ Doc ได้อ่านจดหมายที่ Marty เขียนเอาไว้ให้ตอนย้อนเวลาไปในปี 1955 (แม้ที่แรกจะทำเป็นไม่อยากอ่าน เพราะไม่อยากล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคต) ทำให้เขาใส่เสื้อกันกระสุนและรอดตายจากถูกผู้ก่อการร้ายชาวลิเบียยิงตอนเหตุการณ์ต้นเรื่อง (ตามไทม์ไลน์แรกสุด) มุกนี้ถูกนำมาใช้อีกครั้งตอนที่ Marty ย้อนไปดินแดนตะวันตกในปี 1885 ตอนที่ถูกหมาบ้า Tannen ท้าดวลปืนกัน แล้วเขาก็ถูกยิงแต่ไม่ตายเพราะเอาฝาเตาถ่านหลังร้านเหล้ามากันทำเป็นเสื้อกันกระสุน Marty เองก็ลอกมุกนี้มาจากหนัง A Fistful of Dollars (1964) นำแสดงโดย Clint Eastwood ที่มหาเศรษฐี Biff ผู้ชั่วร้ายนั่งดูอยู่ในเพนท์เฮ้าส์ในภาค 2 นั่นเอง

https://www.youtube.com/watch?v=iCiCIpxTmVM

คิ้วหน้าหอฬิกาแหว่งมาโดยตลอด หลังจาก Doc เหยียบพังในภาคแรก

A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
A screen shot from 'Back to the Future' (1985)
A screen shot from 'Back to the Future' (1985)

คิ้วหรือบริเวณระเบียงขอบบนสุดของหอนาฬิกาตอนต้นเรื่องภาคแรกจะเป็นครั้งเดียวที่คนดูได้เห็นคิ้วสมบูรณ์อยู่ เพราะหลังจาก Marty เดินทางกลับไปแก้ไขอดีตปี 1955 และในตอนจบของภาคแรกที่ Doc จะต้องส่ง Marty กลับไปในปี 1985 Doc ปีนไปบนหอนาฬิกาเพื่อเสียบต่อสายไฟกับจุดสร้างกระแสไฟฟ้าให้รถให้ทันช่วงฟ้าผ่า และเขาก็พลาดเหยียบคิ้วบริเวณนั้นจนหลุดร่อนลงมา หลังจากฉากนี้จะสังเกตเห็นว่า ฉากช่วงตอนจบเรื่องภาคแรก และภาคอื่น ๆ บริเวณนี้ก็ยังคงแหว่งอยู่แบบนั้นมาเสมอ (เรียกว่าคุมความต่อเนื่องได้ดีนั่นเอง)

จริง ๆ แล้ว Doc อายุเท่าไร?

Michael J. Fox and Christopher Lloyd in Back to the Future (1985)
Michael J. Fox and Christopher Lloyd in Back to the Future (1985)

แม้ว่าในฉบับหนังรวมถึงฉบับแอนิเมชัน วิดีโอเกม และหนังสั้นฉบับต่าง ๆ จะไม่ได้บอกถึงอายุจริง ๆ ของ Doc หลักฐานเดียวที่บ่งชี้ถึงอายุของ Doc คือ หนังสือที่บอกเล่าถึงสคริปต์หรือบทร่างแรกของเรื่องโดย Robert Zemeckis ที่เป็นทั้งผู้กำกับและผู้ร่วมเขียนบทของหนัง โดยบอกไว้ว่า Doc เกิดในช่วงทศวรรษ 1920s นั่นทำให้พอจะเดาอายุของเขาในหนังภาคแรกได้ว่า น่าจะอายุประมาณ 65 ปีแล้ว ในปี 1985 (และ Doc ในปี 1955 ก็คือตอนที่เขาอายุ 35) แต่ Christopher Lloyd เล่นหนังภาคแรก เขาอายุ 45 ปี เท่ากับหนังต้องแต่งหน้าให้เขาแก่เพิ่มขึ้นถึง 20 ปีเลย และปัจจุบันเขาก็อายุ 75 ปีเข้าไปแล้ว

Michael J. Fox เล่นเป็นกี่คนในหนังเรื่องนี้?

ในภาคแรกคนดูอาจจะได้เห็นพ่อและแม่ของ Marty McFly รวมถึง Biff Tannen ทั้งตอนหนุ่มและตอนแก่ ซึ่งต้องแต่งหน้าทีมนักแสดงให้แก่ขึ้น 30 ปี (แบบไม่ค่อยเนียนเท่าไรตามเทคนิคการแต่งหน้าทำผมในยุคนั้น) แต่ในภาค 2 เราก็จะได้เห็น Marty McFly และ Jennifer ในอนาคตตอนแก่ขึ้นอีก 30 ปีด้วยเหมือนกัน รวมถึงพ่อและแม่ของ Marty ก็บวกเพิ่มแก่ไปวัยชราเลย

Elisabeth Shue in Back to the Future Part II (1989)

Michael J. Fox ยังได้เล่นเป็นตัวละครอื่นนอกจาก Marty McFly อีก 3 ตัว นั่นก็คือ Marty McFly Jr. และ Marlene McFly ลูกชายและลูกสาวของเขา ในภาค 2 และ Seamus McFly ปู่ทวดของตระกูล McFly ในภาค 3 (ซึ่งมีภรรยาเป็น Maggie McFly ที่รับบทโดย Lea Thompson ที่เล่นเป็น Lorraine McFly แม่ของ Marty อยู่แล้ว) แต่ตัวละครที่มีเวอร์ชันเดียวตลอดทั้งไตรภาคก็คือ Doc Emmett Brown

Michael J. Fox in Back to the Future Part II (1989)
Back to the Future Part II (1989)
Back to the Future Part III (1990)

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส