ผลงานเรื่องล่าสุดของผู้กำกับชื่อดังชาวปาเลสไตน์ Hany Abu-Assad หลังจากหนักดราม่าจนได้ดี เข้าชิงออสการ์ภาพยนตร์สาขาต่างประเทศยอดเยี่ยมไป 2 ครั้งจาก Paradise Now (2006) และ Omar (2013) และในครั้งนี้เขาก็ยังคงวนเวียนอยู่กับเรื่องราวดราม่าที่มีปาเลสไตน์และฉนวนกาซาเป็นฉากหลังเช่นเดิม แต่ดูจะสดใสและเปี่ยมด้วยความหวังมากขึ้น โดยนำเหตุการณ์จริงของ Mohammed Assaf ผู้ชนะการประกวด Arab Idol ซีซั่นที่ 2 ที่กลายเป็นเทียนแห่งความหวังของปาเลสไตน์ จนได้รับการขนานนาม Assaf Hilm Falastine หรือ อัซซาฟ ความฝันของปาเลสไตน์ นั้นมามาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ได้อย่างสนุกเลยทีเดียว

หนังดีที่ถูกมองข้าม เข้าฉายในไทย 28 เมษายนนี้

หนังดีที่ถูกมองข้าม เข้าฉายในไทย 28 เมษายนนี้

รู้จักฉนวนกาซา

ต้องเกริ่นคร่าวๆก่อน เกี่ยวกับเรื่องราวของฉนวนกาซาที่เป็นพื้นหลังของเรื่อง เขตฉนวนกาซาเป็นเขตปกครองตนเองของชาวปาเลสไตน์ซึ่งเป็นมุสลิมนิกายซุนนีย์ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งทั้งการเมืองภายในและภายนอก โดยเฉพาะสงครามระหว่างรัฐบาลฮามาสของปาเลสไตน์กับประเทศอิสลาเอล ที่โจมตีใส่กันทั้งอาวุธสงคราม การก่อการร้ายและการลักพาตัว มาหลายทศวรรษ และปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเด็ดขาดเสียทีด้วยการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงต่อกันเสมอมา จนมีประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายพันคนต่อปีด้วย

เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวในหนังชัดขึ้น ต้องรู้ที่ตั้งของกาซาเล็กน้อย โดยกาซามีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นความยาวประมาณ 11 กิโลเมตรติดกับประเทศอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอลเป็นระยะทางราว 51 กิโลเมตร ทางตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นระยะทางชายฝั่งประมาณ 41 กิโลเมตร แม้จะมีพื้นที่ติดทะเลแต่อธิปไตยในน่านน้ำและอากาศของกาซานั้นเป็นของอิสราเอล ทำให้กาซาอยู่ในสภาพถูกปิดล้อมด้วยประเทศอื่นทุกทางนั่นเอง ตามรูป

Untitled
และสถานภาพของกาซาที่ไม่ได้รับการยอมรับสิทธิให้เป็นประเทศนี้ จึงทำให้ประชาชนในกาซาอยู่ในสภาวะผู้ลี้ภัยไปด้วย คนที่ลำบากยากเข็ญอย่างมากก็ไม่ใช่ใครที่ไหนประชาชนชาวปาเลสไตน์ธรรมดาๆ นั่นเอง

กลับมาที่เรื่องหนัง

ว่าด้วยเรื่องหนัง หนังเล่าเกี่ยวกับ อัซซาฟ เด็กชายที่เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในแคมป์ผู้ลี้ภัยคานยูนิส (ถ้าดูในแผนที่จะอยู่ค่อนล่างใกล้อียิปต์) พี่สาวของเขา นูร์ มีความฝันในการจะพาน้องชายเป็นนักร้องดังที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ในความหมายที่จะเปลี่ยนสภาพความเป็นอยุ่อันเลวร้ายในกาซาที่ดูดทำลายความหวังและความฝันของประชาชนไปหมดนั่นเอง และแน่นนอนว่าวงดนตรีกลุ่มเล็กๆ ของเด็กๆ นั้นต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายทีเดียว จนวันหนึ่งที่อัซซาฟแทบไม่เหลือความหวังในการทำตามฝันของตนและพี่สาว เขาก็เห็นโฆษณาการรับสมัครออดิชั่นเข้าแข่ง Arab Idol รายการประกวดร้องเพลงดังของชาติอาหรับ และแม้จะต้องหลบหนีข้ามพรมแดนเข้าอียิปต์ เขาก็จะต้องไปล่าฝันครั้งนี้ให้ได้

นูร์ พี่สาวที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของอัซซาฟ

นูร์ พี่สาวที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของอัซซาฟ

มาดูชีวิตจริงของอัซซาฟบ้าง แม้จะมีบางส่วนเหมือนในหนังและบางส่วนก็แต่งแต้มเพิ่มเติม แต่เรื่องราวของเขาเองก็มหัศจรรย์มากๆเช่นกัน โดยในการเข้าประกวดนั้น เมื่อเขามาถึงสถานที่รับประกวดเขาก็พบว่ากองประกวดได้ปิดรับสมัครแล้ว ทางเดียวที่เขาจะเข้าไปในสถานที่รับสมัครได้คือต้องแอบปีนกำแพงเข้าไป แต่กระนั้นก็ตามเข้าไปได้เขาก็ไม่มีเลขประจำตัวในการประกวดอยู่ดี ครั้งนั้นอัซซาฟนั่งรออย่างหมดหวังในที่รอเรียกของผู้เข้าแข่งขัน เขาร้องเพลงขึ้นมา และนั่นสร้างความประทับใจให้กับผู้ลงสมัครชาวปาเลสไตน์คนหนึ่งชื่อ Ramadan Abu Nahel ที่ยอมสละเลขประจำตัวของตนเองให้อัซซาฟทันที ตรงนี้ในหนังเก็บรายละเอียดเดิมได้ใกล้เคียง แต่จะต่างบ้างเล็กน้อย ต้องไปดูในหนังเองนะครับ

ฉากรอบออดิชั่นสุดมหัศจรรย์ที่เอามาจากเรื่องจริง

ฉากรอบออดิชั่นสุดมหัศจรรย์ที่เอามาจากเรื่องจริง

หนังเน้นเล่าปูมในวัยเด็กที่ส่งผลต่อชีวิตทั้งชีวิตของอัซซาฟ และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจนกระทั่งหาทางเข้าประกวดนั้น หนังก็เดินหน้าอย่างฉับไวไม่ต้องรอนาน ทั้งแทรกไปด้วยกิมมิกของชีวิตอันไร้ความฝันของชาวปาเลสไตน์ทั้งซากอาคารที่โดนถล่ม คนพิการแขนขาขาดตามท้องถนนที่เห็นได้เป็นเรื่องปกติด้วย การวิ่งตามความฝันของอัซซาฟจึงไม่เพียงจุดความหวังในใจตัวเองเท่านั้นยังคือการจุดความหวังให้คนทั้งชาติของเขาด้วย ในหนังช่วงการประกวดรอบสุดท้ายนี้ หนังตัดมาใช้ภาพจริงจากบันทึกเทปรายการได้อย่างเนียนและทรงพลังมากๆ (อัซซาฟตัวจริงหล่อกว่านักแสดงนะ น่าเสียดายน่าจะเอาตัวจริงเล่นไปเลย 55)

วงวัยเด็กของอัซซาฟที่ตระเวนเล่นตามงานแต่งและงนต่างๆ

วงวัยเด็กของอัซซาฟที่ตระเวนเล่นตามงานแต่งและงานต่างๆ

ซากปรักหักพังที่เป็นเหมือนตัวละครสำคัญที่ผลักดันอัซซาฟให้พ้นจากสภาพนี้อยู่เสมอ

ซากปรักหักพังที่เป็นเหมือนตัวละครสำคัญที่ผลักดันอัซซาฟให้พ้นจากสภาพนี้อยู่เสมอ

อัซซาฟตัวจริง คมเข้มหล่อเหลาไม่เบานะ

อัซซาฟตัวจริง คมเข้มหล่อเหลาไม่เบานะ

ภาพจริง ชาวปาเลสไตน์กำลังร่วมลุ้นผลการประกวด

ภาพจริง ความดีใจของชาวปาเลสไตน์ผู้เพิ่งเห็นความหวัง

ภาพจริง ความดีใจของชาวปาเลสไตน์ผู้เพิ่งเห็นความหวัง

น่าเสียดายว่าเพลงในหนังหลายๆเพลงหลายๆ ช่วงเราไม่รู้ความหมายทำให้อาจไม่ได้อินตามเท่าใดนัก แต่จากการหาข้อมูลอย่างน้อยก็พอหาเพลงสำคัญที่สุดได้ โดยเพลงสุดท้ายที่เขาใช้ประกวดนั้นก็เป็นเพลงที่เปี่ยมความหมายถึงบ้านเกิดของเขาด้วย อย่าง “Ali al-keffiyeh” (แปลว่า จงชู Keffiyeh – ผ้าโพกศีรษะของชาวอาหรับ) ที่พูดถึงความภูมิใจ ศักดิ์ศรีของปาเลสไตน์ เพลงนี้หลายคนเชื่อว่าเป็นเพลงพื้นเมืองของปาเลสไตน์ แต่ความจริงเพลงนี้เพิ่งแต่งเมื่อปี 2007 โดยนำทำนองมาจากเพลงพื้นเมืองของอิรักและเขียนเนื้อใหม่โดยกวีชาวปาเลสไตน์มากกว่า อย่างไรก็ตามเพลงนี้กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวอัซซาฟที่โด่งดังไปแล้วนั่นเอง

การร้องรอบชิงของอัซซาฟในเพลง Ali al-keffiyeh
Play video

 

คำแปลของเพลง Ali al-keffiyeh

Play video

สรุป หนังอาจรอบไม่มากตามฐานะของหนังต่างชาติที่ไม่มีเข้ามาบ่อยนัก ยิ่งมาเจอสัปดาห์กัปตันอเมริกา:ซีวิลวอร์แห่งสหประชาชาติด้วยแล้ว คงยิ่งมาไวไปไวพอสมควร แต่สำหรับคอหนังหาดูยาก โดยเฉพาะจากตะวันออกกลางที่เน้นสมจริงดราม่าฟีลกู้ด การแสดงดีงาม และเปี่ยมด้วยพลังแล้ว เรื่องนี้เติมเต็มใจได้อิ่มเลยทีเดียว

Play video