การแยกความแตกต่างระหว่างข่าวกับโฆษณาในเวลาเสพสื่อสังคมออนไลน์ อาจจะแค่ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวสำหรับผู้ใหญ่ แต่หมู่วัยรุ่นก็ตกหลุมพรางของการโฆษณาเช่นเดียวกัน

ล่าสุดมหาวิทยาลัย Stanford ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้พบว่า เมื่อเห็นเรื่องราวในสื่อสังคมออนไลน์เป็นครั้งแรก กว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนที่สำรวจ แยกระหว่างส่วนเนื้อหาข่าวกับส่วนที่เป็นโฆษณาแฝงไม่ได้ และคิดว่าเนื้อหาส่วนที่โฆษณาเป็นข่าวจริงๆ

การศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัย Stanford ในครั้งนี้พยายามประเมินสามารถในการรับรู้ข่าวสาร รวมถึงการตอบสนองต่อข่าวสารของนักเรียน โดยนำข้อมูลและเรื่องราวที่รวบรวมจาก Facebook, Twitter, รูปภาพ รวมถึงความเห็นในบล็อกหรือเว็บไซต์ มาใช้ในการประเมิน

social-networks

โดยการศึกษาวิจัยดังกล่าวเก็บรวบรวมคำตอบจากนักเรียนกว่า 7,804 คน ในพื้นที่ 12 รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา

ผู้วิจัยบางส่วนมีความเห็นว่า “ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อาจจะใช้งานแอปพลิเคชั่นต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว แต่เมื่อต้องประเมินข้อมูลหรือข่าวที่ได้รับจริงๆ พวกเขากลับตกหลุมพรางของสื่อโฆษณาอย่างง่ายดาย

“หลายคนอาจจะคิดว่าวัยรุ่นมีความชำนาญและรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ แต่จากการศึกษาวิจัยของเราพบข้อเท็จจริงที่ตรงข้ามกับความเชื่อนั้น” ความเห็นจาก Sam Wineburg, ผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้

แล้วคุณล่ะ แยกความแตกต่างระหว่างส่วนเนื้อหาข่าวกับส่วนที่เป็นโฆษณาในเว็บไซต์แบไต๋ของเราออกไหม?

สามารถอ่านรายงานการวิจัยฉบับเต็มได้ ที่นี่

อ้างอิง : TheNextWeb,Cnet, Stanford study