ความแพร่หลายของกระบวนการคิดที่มุ่งเน้นการออกแบบ การรวมแนวทางการออกแบบเข้าไว้ในธุรกิจ และการแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์ ก่อให้เกิดผลดีต่อวิชาชีพและธุรกิจด้านงานสร้างสรรค์ในทุกที่ทั่วโลก  อะโดบีทำการสำรวจ Creative Pulse ประจำปี 2559 โดยได้สอบถามความคิดเห็นของบุคลากรด้านครีเอทีฟกว่า 1,700 คน รวมถึงกราฟิกดีไซเนอร์ เว็บดีไซเนอร์ ศิลปิน และอื่นๆ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามกำลังสร้างการขับเคลื่อนที่สำคัญมากในองค์กร  56 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รู้สึกว่าตนเองสร้างแรงขับเคลื่อนมากขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อสองปีที่แล้ว ขณะที่ 89 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า องค์กรธุรกิจของตนให้ความสำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์และกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าผลสำรวจดังกล่าวจะเป็นแนวโน้มที่ดี แต่กลุ่มคนทำงานด้านครีเอทีฟก็ไม่ควรหยุดนิ่ง เพราะโอกาสในการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจย่อมหมายความว่าครีเอทีฟจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคใหม่ๆ โดย 93 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเห็นด้วยว่ากลุ่มคนทำงานด้านครีเอทีฟไม่ควรหยุดนิ่ง ที่จริงแล้ว บุคลากรด้านครีเอทีฟจำเป็นที่จะต้องมีชุดทักษะที่ “พร้อมสรรพ”  และสำหรับในปีหน้านั้น ครีเอทีฟในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเชื่อว่าทักษะที่สำคัญที่สุดได้แก่ การออกแบบ UX/UI (27 เปอร์เซ็นต์), การพัฒนาแอพ (16 เปอร์เซ็นต์) และการเล่าเรื่องในรูปแบบดิจิตอล (11 เปอร์เซ็นต์)  เมื่อพิจารณาทักษะสามอย่างนี้ บุคลากรด้านครีเอทีฟในอนาคตจำเป็นที่จะต้องผสานรวมทักษะจากโลกของการออกแบบ ประสบการณ์การใช้งาน การเขียนโปรแกรม และการสื่อสารเข้าด้วยกัน

ทาง Adobe ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ใช้งานวสาวสามารถนำถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมี 3 เรื่องสำคัญที่ทาง Adobe ไม่ได้มองข้ามดังนี้

  1. Asia มีการเติบโตที่ร้อนแรงมาก เราเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้างด้านวัตกรรมและยอมรับนวัตกรรมเพื่อนำมาขับเคลื่อนในรูปแบบใหม่ ๆ
  2. วันนี้ในปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับ CMO เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขา   และพวกเขาก็ต้องการเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้งาน
  3. ประสบการณ์คือความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งสำหรับ Adobe ข้อมูลที่ลูกค้าได้สร้างสรรค์ขึ้นมานั้น จะสามารถมองามารถมององเห็นได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขื่อนไขของเวลา ซึ่งทีมการารตลาดการตลาดถือว่าเป็นหัวหอกที่จะนำำบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้

และสุดท้ายนี้ตลาดประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะเราเปิดรับนวัตกรรม ไม่ต่อต้านเทคโนโลยี

ในประเทศไทยทาง Adobe มองเห็นว่า ภาคการเงิน เป็น 1 ในตลาดลาดใหญ่ของเขา รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยว, E-Commerce และ ภาคสิ่งพิมพ์ แน่นอนว่า Media Entertainment ถือว่าเป็นตลาดหลักที่ใช้งาน Adobe อย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่สามาารถสร้างสร้างรายได้ให้ Adobe เป็นอันดับ 2 ของ South-East Asia เลยทีเดียว (แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีบริษัทในไทย) ซึ่งวันนี้ Trend ที่การตลาดนำธุรกิจแบบนี้ จะทำให้ Adobe จะมีโอกาสโตขึ้นอีกกว่า 30% ภายใน 5 ปีนี้

และปัจจุบันทาง Adobe ก็ได้มีทีมงานที่ Support ภาษาไทยให้กับผู้ใช้งาน Adobe เพื่อช่วยเหลือและสร้าง Experience ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน และเขาเพิ่มตำแหน่งงานใหมงานใหม่ล่าสุด Adobe Success Manager เพื่อนำำเอาประสบการณ์ต่าง ๆ นำไปช่วยลูกค้าที่ใช้งานโปรแกรม Adobe ให้ประสบความความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และสุดท้ายทางเราก็ได้สอบถามไปยัง Adobe ในส่วนของราคา Adobe Creative Cloud ที่ปรับสูงขึ้น ทาง Adobe ให้ข้อมูลว่า ที่เขาปรับราคาให้สูงขึ้นเกิดจากการคำณวนค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการพัฒนาตัวโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าก็มีทั้ง Function และ Feature ใหม่ ๆ ต่าง ๆ ของแต่ละโปรแกรมเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ๆ เพื่อให้ทุก ๆ ท่านได้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในด้านของความปลอดภัยทาง Adobe ก็มีการพัฒนาเพื่ออุดช่องโหว่อยู่เรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน