ยุคปัจจุบันแทบทุกคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต เชื่อได้ว่าจะต้องเคยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์อย่าง Shopee หรือ Lazada บางทีก็ซื้อผ่าน Social Media อย่าง Facebook หรือ IG ซึ่งเป็นการติดต่อกับพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง สิ่งที่พูดถึงเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นการซื้อขายแบบ E-Commerce ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าการเติบโตของ E-Commerce จะขึ้นอยู่กับอินเทอร์เน็ตที่ก้าวไกลไปข้างหน้าก็คงไม่ผิดอะไรนัก

โดยอัตราการเติบโตของตลาด E-Commerce จากข้อมูลของ ETDA ได้เปิดเผยออกมาว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเติบโตอย่างมาก เมื่อเทียบระหว่างปี 2560 – 2561 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 14.04% ที่มูลค่า 3,150 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากยุคการซื้อขายผ่านหน้าร้าน กลายเป็นการซื้อขายออนไลน์เข้ามาแทนที่ได้อย่างไร้รอยต่อ

ซึ่งผลสำรวจช่วงกิจกรรม 11.11 Shopee BIG SALE ในปี 2561 ก็ได้เปิดเผยว่ามีออเดอร์เข้ามาถึง 11 ล้านครั้งใน 1 วัน เฉลี่ย 1 นาทีขายสินค้าได้ 58,000 ชิ้นเลยทีเดียว

สาเหตุการเติบโตของ E-Commerce

  • คนเริ่มเชื่อมั่นใจการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ด้วยระบบของร้านค้าออนไลน์ที่ดี และพ่อค้าแม่ค้าที่เอาใจใส่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • Platform ร้านค้าออนไลน์มักจะมีโปรโมชันเด็ด ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายอยู่เป็นประจำทุกเดือน
  • บริการส่งสินค้ารวดเร็ว ทันใจ ตรงเวลามากขึ้น
  • เทคโนโลยีทั้งอินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟนตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี
  • มีบริการหลังการขายที่เชื่อถือได้
  • ปัจจุบันเราสามารถหาซื้อสินค้าแทบทุกประเภทผ่านร้านค้าออนไลน์ได้แล้ว (ยกเว้นสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งมีชีวิต)

ซึ่งจากทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงก็หมายความว่าเหล่าพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ก็จะต้องมีการเติบโตทางด้านรายได้จากการขายสินค้าเป็นจำนวนมากขึ้นเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่ารายได้จะเติบโตเพียงอย่างเดียว ถ้าเงินทุนของพ่อค้าแม่ค้า E-Commerce ไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการขายสินค้าในช่วงเวลาสำคัญได้

สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าต้องเตรียมตัวรองรับการเติบโตของ E-Commerce

  • ช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากกว่า 1 ช่องทาง แม้จะเป็นช่องทางออนไลน์ก็ตาม
  • ทีมงานที่พร้อมจะลุยไปกับเรา
  • โปรโมชันพิเศษที่สามารถดึงดูดลูกค้ามาซื้อสินค้าของเราได้
  • การโฆษณาที่เหมาะสมเพื่อสร้าง Awareness
  • แหล่งเงินทุนที่เพียงพอในการ Stock สินค้าเพื่อรองรับช่วง BIG SALE

“เงินทุน” คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการค้าขาย และปัญหาใหญ่ที่สุดคือ “การกู้” (Lending) ที่ทำได้ยากยิ่ง

ปัญหาของการกู้เงินโดยปกติคือ ต้องเตรียมเอกสารมากมาย ต้องมีหลักประกันในการกู้เงิน และสุดท้ายกู้มา ดอกเบี้ยก็สูง ทำให้การกู้แต่ละครั้งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องคิดแล้วคิดอีก แต่ในยุคดิจิทัลแบบนี้ธุรกิจมากมายก็เริ่มปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลเช่นกัน โดยการสร้าง Digital Lending หรือ การกู้ยืมเงินออนไลน์ขึ้นมาเพื่อตอบรับยุคสมัยที่ E-Commerce กำลังขยายอย่างต่อเนื่อง

Digital Lending คือทางออกของธุรกิจ E-Commerce ในยุคปัจจุบัน

Digital Lending หรือการกู้ยืมเงินยุคใหม่ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาการเข้าถึงเงินทุนของธุรกิจ E-Commerce โดยการประเมินเครดิตผู้กู้ออนไลน์ และ การสร้างช่องทางการให้บริการขอกู้สินเชื่อแบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ขอกู้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวก ง่ายดาย

โดยผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ปัจจุบัน มีกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ ฝาก กู้ โอน และชำระเงิน ได้อย่างครบถ้วน เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 40 ของคนทั้งประเทศ และคนจำนวนกว่า 17 ล้านคนไม่สามารถกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร หรือหน่วยงานด้านการเงินที่ภาครัฐควบคุมดูแลได้ ซึ่งคำถามคือ คนที่ไม่สามารถกู้เงินได้นั้น เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีคุณสมบัติจริง ๆ หรือไม่

สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดวิธีการคิดรูปแบบใหม่ โดยการใช้ข้อมูลรูปแบบใหม่ประกอบการพิจารณา ผ่านช่องทางออนไลน์สำหรับการให้บริการขอกู้สินเชื่อ หรือ Digital Lending ที่จะเอื้อให้ผู้กู้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ปัจจัยต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ออกมาเช่น ข้อมูลพฤติกรรมทางสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมบน Social Media หรือพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่า พวกเขาเหล่านี้จะมีกำลังในการกู้ยืมได้เท่าไหร่ โดยข้อมูลที่ถูกนำมาวิเคราะห์อาจดูไม่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรง แต่แก่นสำคัญอยู่ที่การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้กู้เงิน ผ่านระบบ AI ที่ได้เรียนรู้ผ่านระบบ Machine Learning เพื่อทำให้เห็นถึงความความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้มาและความเป็นไปได้ที่จะช่วยประเมินผู้กู้ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การสร้างช่องทางออนไลน์สำหรับการให้บริการขอกู้สินเชื่อ หรือ Digital Lending ยังถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเข้าถึงทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ปล่อยสินเชื่อนั้นสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพื้นที่ ต้นทุนพนักงาน หรือด้านการสร้างความโปร่งใส ก็จะมีส่วนช่วยให้เกิดการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจได้ในระดับประเทศ

ปัจจุบันมี Digital Lending อะไรแล้วบ้าง?

ในปัจจุบันได้มีกลุ่มเงินทุนทั้งในและต่างประเทศเปิดตัว Digital Lending ออกมาแล้วมากมาย โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทหลักดังนี้

  1. Online Lender คือการปล่อยกู้ผ่านช่องทาง Digital แบบ End-to-End
  2. P2P Lending Platform คือการจับคู่ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยมี platform เป็นตัวกลางทำธุรกรรมระหว่างกัน
  3. E-Commerce and Social Platform ปล่อยกู้ให้กับผู้ใช้งานแอปพลิเคชันของตัวเอง โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของลูกค้าเป็นเครื่องประเมินความเสี่ยง
  4. Marketplace Platform มีลักษณะคล้าย P2P Lending Platform แต่จะต่างกันตรงที่ผู้กู้และผู้ให้กู้จะมาเจอกัน และทำธุรกรรมการกู้เงินระหว่างกันโดยตรง
  5. Supply Chain Lender คือการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อจุดประสงค์ในการซื้อวัตถุดิบจาก Supplier ของตน
  6. Mobile Money Lender คือการเข้าเป็นพันธมิตรกับบริษัทเครือข่ายมือถือเพื่อปล่อยกู้ให้กับฐานลูกค้าของเครือข่าย โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้ามาเป็นเครื่องประเมินความเสี่ยง
  7. Tech-Enabled Lender คือการที่บริษัทผู้ให้บริการกู้ยืมเงินทั่วไป มีการนำ technology มาใช้ในบางขั้นตอนของการปล่อยสินเชื่อ

และในปีที่ผ่านมากลุ่มธนาคารเองก็ทยอยเปิดตัว Digital Lending ของตัวเองขึ้นมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่นธนาคารกสิกรไทยปีที่แล้วเริ่มเปิดตัวการปล่อยกู้แบบ Digital Lending ผ่านช่องทาง K PLUS Mobile Banking Platform ของธนาคารกสิกรไทยที่เติบโตเร็วมาก จนวันนี้มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 11 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็น Active User ด้วย ล่าสุดธนาคารกสิกรไทยก็มี MADFUND เป็นบริการ Digital Lending ที่ได้เปิดตัวมาพร้อมๆ กับอีกหลากหลายบริการใน MADHUB ซึ่งได้ประกาศจับมือกับ Platform ร้านค้าออนไลน์ Shopee ที่จะมอบสิทธิพิเศษสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มองหาช่องทางการกู้เงินเพื่อเตรียมขยายธุรกิจ ด้วยบริการ MADFUND ผู้กู้ซึ่งเป็นร้านค้าจาก Shopee สามารถกู้ได้ด้วยมูลค่าสูงสุดถึง 600,000 บาท และนอกจากจะให้กู้ได้ง่าย ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องใช้เอกสารแล้ว ยังให้ดอกเบี้ยในอัตราพิเศษต่ำสุดไม่ถึง 9% ต่อปีอีกด้วย

“เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” MADFUND สำหรับร้านค้าบน Shopee ทำได้ง่ายแค่ปลายนิ้วผ่าน K PLUS

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่สนใจ MADFUND ดีลสุดพิเศษจากธนาคารกสิกรไทย และ Shopee สามารถเข้าไปเช็กได้ที่รายการ Update จาก Shopee บน Shopee Application และรอรับ Notification จาก K PLUS เพื่อทำการสมัครสินเชื่อได้เลย !!!!

แล้วถ้าไม่มีเวลาเตรียมตัวเพื่อขยายธุรกิจ E-Commerce จะมีวิธีช่วยอะไรบ้าง?

MADHUB ให้โอกาสสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยู่บน Platform Shopee เข้ามาใช้บริการ MADHUB ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวม Solution แบบครบวงจร เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับพวกเขา ซึ่งบางครั้งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็มัวแต่วุ่นกับการซื้อของ ขายของ ไม่มีเวลาศึกษาวิธีการทำตลาดใหม่ๆ การใช้ Social Media ต่างๆ หรือเทคนิคการทำ Content และการลงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เขาก็เปิด MADCOURSE หลักสูตรออนไลน์ เรียนฟรี 24 ชั่วโมง กับกูรูผู้เชี่ยวชาญด้าน E-Commerce โดยตรง ที่ https://www.kasikornbank.com/MADHUB/madcourse เท่านั้น

และอีก 1 สิ่งที่น่าสนใจคือบัตร MADCARD ซึ่งมี 2 แบบ คือแบบที่ธนาคารกสิกรไทยออกเอง เป็น บัตรเดบิต MADCARD ซึ่งเป็นบัตรเดบิตใบแรกที่ให้ส่วนลดค่าโฆษณา เมื่อซื้อโฆษณาบน Facebook Instagram หรือ Google จะได้รับเงินคืน 1% และ 0.5% สำหรับการซื้อของออนไลน์ โดยรับเงินคืนสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน ส่วนลด 50% ซื้อสมุดเช็ค ส่วนลดค่ากล่อง และเรียนฟรีกับกูรูชื่อดัง รวมสิทธิพิเศษที่จะได้รับมูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาทต่อปี และหากใช้จ่ายผ่าน MADCARD อย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มโอกาสการได้รับสินเชื่อธุรกิจจากธนาคารในอนาคต

และมีอีก 1 ใบคือ บัตรที่ร่วมมือกับ Kerry สร้างขึ้นเพื่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์โดยเฉพาะ คือ บัตรเดบิต MADCARD FOR KERRY EXPRESS ผู้ถือบัตรจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งจากธนาคารกสิกรไทยและสิทธิพิเศษจาก KERRY EXPRESS โดยจะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดค่าโฆษณาและซื้อของออนไลน์ 0.5% Voucher สำหรับใช้บริการ Kerry Express 100 บาท และสะสมคะแนน Kerry Club Members ที่จะเปิดให้บริการในต้นปี 2020 เป็นต้น

เรียกได้ว่ายุคปัจจุบันเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือธุรกิจ E-Commerce นั้นมีตัวช่วยมากมายที่พร้อมจะเข้ามาสนับสนุน ผลักดันให้เติบโตเพื่อก้าวไปสู่ธุรกิจออนไลน์ระดับแนวหน้าได้อย่างมากมายจริง ๆ ครับ

อ้างอิง: EDTA | mgronline

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส