การประมูลคลื่น 900MHz ในครั้งนี้เมื่อเทียบกับครั้ง 1800MHz เรียกได้ว่าเป็นการประมูลที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาหรือแม้แต่มองเห็นวี่แววว่าเมื่อไหร่จะจบลง เพราะ ณ ปัจจุบัน (2 ทุ่มตรงวันที่ 18 ธันวาคม) การประมูลก็ผ่านพ้นไปแล้วกว่า 195 ครั้ง มูลค่าการประมูลทั้งหมดกว่า 150,342 ล้านบาทแล้ว ก็ยังมีผู้ประมูลกันอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าจะหยุดลงกันเลยแม้แต่น้อย งานนี้ทาง พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช. จึงขอออกมาวิเคราะห์ว่า “ทำไม?” คลื่น 4G 1800MHz และ 900MHz จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากดังที่เห็นในงานประมูลครั้งนี้

  1. จากการวิเคราะห์ของสมาคมผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นานาชาติ GSMA ได้วิเคราะห์ว่าประเทศไทยมีการใช้งาน Mobile Broadband (3G/4G) เป็ นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์ และปัจจุบันนี – ผู้ให้บริการ (Operator) แต่ละรายขาดแคลนคลื่นความถี่อย่างหนัก ผู้ให้บริการจึงต้องการความถี่เพิ่ม5gchart1
  2. กสทช. ได้วิเคราะห์ว่าในปัจจุบัน ผู้ให้บริการแต่ละค่ายต้องการคลืนความถี่อย่างน้อย 60 MHz เพื่อเผชิญต่อความต้องการการใช้งาน data อย่างมหาศาลของผู้บริโภคในประเทศ โดยวงการโทรคมนาคมไทยมีความจําเป็ นทีจะต้องมีการเปลียนแปลงจากเทคโนโลยี 4G LTE ไปเป็ น LTE Advanced ภายในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า เพื่อรองรับการใช้งาน data ที่มหาศาล และหากภายใน 5 ปี ข้างหน้า กสทช. ไม่มีการจัดสรรคลื่นความถี่ ก็จะเกิดวิกฤติในคุณภาพการให้บริการที่หนักหน่วง จึงทําให้ผู้ให้บริการ (Operator) ต้องเก็บความถีครั้งนี้ไว้ให้ได้
  3. ตาม Roadmap ของ 5G มีแผนในการเปลี่ยนผ่านในการให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 2020 และจะทําให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความต้องการคลื่นความถี่ในการให้บริการข้อมูลในระดับความเร็วสูงกว่า 1 กิกะบิท ต่อวินาที (Gbps) ซึ่งต้องการความถี่ต่อ 1 ผู้ให้บริการ (Operator) สูงกว่า 70 MHz จึงต้องช่วงชิงคลืนความถี่ให้ได้ในครั้งนี้5gchart
  4. ผู้ให้บริการบางรายจะหมดสัญญาสัมปทานในคลื่นความถี่ที่สําคัญในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้า จึงทําให้หากพลาดโอกาสครั้งนี้ อาจทําให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว เพราะภายใน 3-4 ปี นี้ กสทช. ยังไม่มีแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ Mobile Broadband เนื่องจากคลื่นความถี่ส่วนใหญ่ ยังติดอยู่ในสัญญาสัมปทานนั่นเอง

ซึ่งข้อมูลที่พี่มาร์ช พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. ได้วิเคราะห์ออกมานี้ทำให้เป็นเหตุผลว่า ทั้ง 3+1 ค่ายจึงต้องเดินหน้าเพื่อฟาดฟันชิงคลื่นความถี่ครั้งนี้ไปให้ได้นั่นเองครับ โดยผู้ที่เจ็บตัวน้อยสุดเมื่อไม่ได้รับคลื่นครั้งนี้มีเพียง JAS ซึ่งเป็นเจ้าใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทุนทางด้านอุปกรณ์ส่งสัญญาณคลื่นความถี่เลย ส่วน 3 ค่ายดังทั้ง AIS, TRUE และ DTAC นั้น หากพลาดการประมูลครั้งนี้ไป ไม่รู้ว่าอนาคตของพวกเขาจะเป็นเช่นไรต่อไป…