ทุกวันนี้เรามีภาพจำเกี่ยวกับ smartwatch ในเรื่องของฟีเจอร์ที่ถูกโฆษณาอย่างมากในโดยเฉพาะความสามารถในการช่วยเหลือเรื่องตรวจวัดการออกกำลังกาย ตั้งแต่การวัดจำนวนการเดินทุกฝีก้าว อัตราการเต้นของหัวใจ แต่ล่าสุดมีนักวิจัยที่พบประโยชน์อีกประการหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบคือ มันสามารถบอกความผิดปกติการทำงานของร่างกาย และแนวโน้มของโรคภัยไข้เจ็บได้ล่วงหน้าอีกจริง

Michael Snyder ศาสตาจารย์ด้านพันธ์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Stanford ได้ออกมาเปิดเผยผลวิจัยที่ทดลองมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม โดยให้อาสาสมัครได้ใส่อุปกรณ์ wearable ชนิดต่างๆ ที่มีระบบติดตามด้านสุขภาพและวัตอัตราการเต้นหัวใจ พร้อมรวบรวมข้อมูลที่บันทึกได้ในแต่ละวันทั้งหมดกว่า 250,000 รายการ ซึ่งมีข้อมูลด้านชีวภาพ อาทิ ระดับของอ็อกซิเจนในเลือด, อุณหภูมิบนผิวหนัง และอัตราการเต้นหัวใจในช่วงเวลาต่างๆ พบว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำนายโรคล่วงหน้าของบุคคลนั้นๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้แม้ในปัจจุบันภายนอกจะยังดูปกติสบายดีอยู่ก็ตาม

นอกจากนี้ตัวศาสตราจารย์ Synder เองยังเป็นหนึ่งผู้ได้เข้าร่วมการทดลองในโปรเจ็กต์นี้ด้วยตัวเองอีกด้วย โดยเขาสังเกตเห็นค่าอัตราการเต้นหัวใจที่สูงขึ้นและค่าอ็อกซิเจนในเลือดที่วัดได้ต่ำลง แม้ว่าตัวเขาจะรู้สึกปกติทุกอย่าง แต่หลังจากนั้นเมื่อมีการตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าเขากำลังจะป่วยด้วยโรคลายม์ (Lyme Disease) และได้รับการรักษาทันท่วงที

ใครที่อ่านข่าวนี้แล้วอาจเริ่มให้ความสนใจกับตัว smartwatch กันมากขึ้น ซึ่งแม้มันไม่สามารถระบุรายละเอียดหรือวินิฉัยโรคได้ทุกประเภท แต่หากผลการวัดค่าต่างๆ จากร่างกายของเราที่ผิดปกติไปจากเดิมแม้เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเป็นเครื่องมือที่ช่วยแจ้งเตือนสถานะสุขภาพของเราให้รู้ตัวเร็วยิ่งขึ้น

อ้างอิง