จากที่ Mark Zuckerberg” (มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของเฟซบุ๊ก ได้เปรยๆออกมาเมื่อช่วงเดือนกันยายนว่า อาจจะมีการทำปุ่มเพิ่มขึ้นมาสำหรับ Facebook นอกจากปุ่ม “Like” สร้างความฮือฮาอย่างมาก ว่าหน้าตาปุ่มใหม่ที่มีขึ้นมานี้จะเป็นอย่างไร หลายสำนักตีความไปว่าเป็นปุ่ม “Dislike”

แต่ล่าสุดทาง Facebook ได้เผยออกมาแล้วจ้าาา!! ปุ่มใหม่ที่ว่านี้เป็นหน้าตาเป็นอย่างไร แท้นแทน!! ปรากฏว่าหน้าตามันออกมาคล้ายกับตัว อิโมติคอนที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกนั่นเอง แต่จะเริ่มต้นให้ทดสอบการใช้งานเพียงแค่ 2 ตลาดก่อนเท่านั้นเองอ่ะ ได้แก่ สเปน และ ไอร์แลนด์

 

เป็นเซ็ทหกปุ่มด้วยกัน จะปรากฏให้เห็นก็ต่อเมื่อกดค้างที่ปุ่ม Like วางเรียงกันเป็นเซ็ท ประกอบด้วยปุ่ม “รัก” “หัวเราะ” “มีความสุข” “ช้อค” “เศร้า” และ “โกรธ”

700x203xfb2.png.pagespeed.ic.psRkXvweS_

Facebook บอกว่านี้คือฟีเจอร์ป๊อปอัพใหม่ ที่จะเริ่มต้นให้ทดสอบการใช้งานเพียงแค่ 2 ตลาดก่อนเท่านั้น ได้แก่ สเปน และ ไอร์แลนด์ เหตุที่เลือก 2 ประเทศนี้นั้น Adam Mosseri : Director of product ของ Facebook ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะทั้งสองชาตินี้มีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีการกระจายตัวเครือข่ายเพื่อนออกไปนอกประเทศมากนัก ดังนั้น จึงค่อนข้างเหมาะสมในการนำมาทดสอบระบบ โดยที่ไอร์แลนด์นั้นใช้ภาษาอังกฤษ ในขณะที่สเปนจะเป็นการทดสอบการใช้สำหรับประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ

ชุดแสดงอารมณ์นี้จะปรากฏทั้งในรูปแบบเวอร์ชั่นมือถือและเดสก์ท็อปนะจ๊ะ แต่ก็ยังไม่มีแผนว่าจะนำมาใช้ใน Messenger หรือตัวอื่นๆ ของ Facebook การใช้งานบนมือถือก็คือ ปุ่มอิโมติคอนจะขึ้นมาให้เห็นเมื่อคุณสัมผัสที่ปุ่ม Like บนหน้าจอ แต่ถ้าเป็นบนเดสก์ท็อป จะมาก็ต่อเมื่อคุณนำเมาส์ไปจิ้มแถวๆ ปุ่ม Like

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่นี้ ถือเป็นความท้าทายเล็กๆ ที่น่าจับตาเลย คือเป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของ users ได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งการกดไลค์อย่างรวดเร็ว อาจจะไม่ใช่ปฏิกิริยาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น เรื่องเศร้า หรือข่าวร้ายที่ถูกเผยแพร่

screen-shot-2015-10-07-at-17-18-42

นอกจากนี้ ด้วยการที่การใช้งานมือถือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การที่ users จะต้องใช้เวลามากในการเขียนข้อความเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกต่างๆ มันไม่สะดวกเอาเสีย ดังนั้น การเพิ่มปุ่ม อิโมติคอนแสดงอารมณ์ จะช่วยสร้างความประทับใจของผู้ใช้ให้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลดีในแง่ของธุรกิจอีกด้วย.

ที่มา : techcrunch