หัวเว่ย (Huawei) ผู้จัดหาโซลูชั่นไอซีทีชั้นนำระดับโลก เปิดตัว ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) เพื่อเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจรสำหรับองค์กรต่างๆ และช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ นายเดวิด ซุน ประธานกรรมการบริหาร และหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เกียรติร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดครั้งนี้ ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 15 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นศูนย์โอเพ่นแล็ป ลำดับที่ 7 ของหัวเว่ยทั่วโลก ต่อจากซูโจว เม็กซิโก มิวนิก สิงคโปร์ โจฮันเนสเบิร์ก และดูไบ โดยมีเนื้อที่ราว 2,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ ณ อาคารจี ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทแห่งใหม่ในประเทศไทย

นายเดวิด ซุน ประธานกรรมการบริหารและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลแก่ลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ ในอุตสาหกรรม โดยจะเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด และดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ ช่วยแก้ปัญหาการทดสอบโซลูชั่นการใช้งานต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม และให้บริการฝึกอบรมด้านไอซีที

ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) จะช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนานวัตกรรมความร่วมมือและการคิดค้นโซลูชั่นใหม่ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศไทย รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านต่าง ๆ อาทิ สมาร์ทซิตี้ ความปลอดภัยสาธารณะ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) การเงิน  การศึกษา การขนส่ง และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ในพิธีเปิดศูนย์ดังกล่าว นายเดวิด ซุน ได้กล่าวว่า ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) ยังจะช่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และช่วยขับเคลื่อนและส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพและการศึกษาของไทยในด้านไอซีทีด้วย “เมื่อผนวกกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล “ไทยแลนด์ 4.0” และโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของภูมิภาคมีความชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมได้ผลักดันให้ความเร็วในการเชื่อมต่อโมบายบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นจาก 5 Mbs ไปอยู่ที่ 15 Mbps และเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารโดยตรงของไทยไปยังประเทศต่างๆ ให้เพิ่มมากขึ้นผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำ” เราเชื่อมั่นว่าด้วยระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ สภาพเศรษฐกิจ นโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัล สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากบีโอไอ และการเชื่อมโยงของเครือข่ายการบิน รวมถึงบุคลากรที่มีความสามารถด้านไอซีที จะทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากขึ้นในสายตาขององค์กรธุรกิจในระดับนานาชาติ”

นอกจากนี้ หัวเว่ย (Huawei) ยังคงให้การสนับสนุนภาครัฐบาลของไทยในหลายด้านผ่านการทำงานร่วมกันกับภาครัฐ และเอกชน และองค์กรวิจัยต่างๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศ การปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมสู่การเติบโตแนวดิ่ง (vertical industries) และการนำเสนอประสบการณ์การใช้งานดีไวซ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าชาวไทย “ในปัจจุบันนี้ คนไทยกว่า 6 ล้านคน ใช้อุปกรณ์ดีไวซ์ของหัวเว่ย และเพลิดเพลินกับคุณสมบัติใหม่ ๆ ของเครื่อง อาทิ กล้องเลนส์คู่ที่พัฒนาร่วมกับไลก้า วีดีโอสตรีมมิ่งแบบเอชดี และเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูง LTE นวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งของหัวเว่ยในฐานะหนึ่งใน 3 แบรนด์ชั้นนำของสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ ที่มีระดับการรับรู้ของแบรนด์สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 84”

ในปีที่ผ่านมาหัวเว่ยได้จ่ายภาษีเป็นจำนวนทั้งสิ้น 33 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่งในประเทศไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปีก่อนหน้า นอกจากนี้บริษัทยังใช้งบจัดซื้อจัดจ้างถึง 660 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และได้มีการจัดการอบรมด้านไอซีทีให้กับ “นักรบดิจิทัล” มากกว่า 35,000 คนในประเทศไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา “เรามุ่งหวังว่าบริษัทหัวเว่ยจะเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย”

ศูนย์โอเพ่น แล็ป บางกอก ตั้งเป้าจะให้การฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีไม่ต่ำกว่า 800 คนต่อปี รวมถึงพัฒนาบุคลากรที่ผ่านประกาศนียบัตรรับรองด้านอาชีพ Huawei Certification อีก 500 คนต่อปี และคาดว่าจะสามารถรองรับโครงการทดสอบแนวคิด (POC) ราว 150 คนต่อปี โดยคาดว่าทุก ๆ ปี จะสามารถต้อนรับบริษัทสตาร์ทอัพด้านไอซีทีได้มากกว่า 20 ราย

ในส่วนของโครงการความร่วมมือของศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่

  • โครงการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับโซลูชั่นด้านไอซีทีเพื่อพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าร่วมกับการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค
  • โครงการความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เมืองแห่งความปลอดภัยของกรมตำรวจ
  • โครงการความร่วมมือกับกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเมืองอัจฉริยะของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นอกจากนี้ที่ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอกยังได้ประสานความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศอีกกว่า 30 แห่ง เพื่อให้บริการข้อมูล และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม และดิจิทัลโซลูชั่น อาทิ เอสเอพี, ไมโครซอฟท์, ฮันนี่เวลล์, บอมบาร์ดิเอร์, ออราเคิล, แอ็กเซนเจอร์ และอินโฟซีส ฯลฯ

และในปี 2560 หัวเว่ยวางแผนที่จะเปิดศูนย์โอเพ่น แล็ป ใหม่อีก 7 แห่งทั่วโลก และอีก 3 ปีนับจากนี้ จะลงทุนด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มบุคลากรอีกประมาณ 1,000 คน เพื่อสร้างศูนย์โอเพ่น แล็ป ให้ครบ 20 แห่งในปี 2562