ยาพาราเซตามอลหรือยาสามัญประจำบ้าน จัดเป็นยาแก้ปวดยอดฮิตไม่ว่าจะมีไขหรือมีอาการรปวดใดๆ ก็ตาม พาราเซตามอลเป็นยาที่หลายๆ บ้านมักจะนึกถึงเสมอ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาพาราเซตามอลอาจสร้างผลเสียมากกว่าที่คุณคิด

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Edinburg ได้ศึกษาผลกระทบจากการใช้ยาระงับปวดหรือพาราเซตามอลกับตับและเนื้อเยื่อของหนู จากการทดลองพบว่า ในบางสถานการณ์ยาพาราเซตามอลสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ตับได้โดยการทำอันตรายต่อการเชื่อมต่อโครงสร้างที่สำคัญระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกันในอวัยวะ

เมื่อการเชื่อมต่อของเนื้อเยื่อภายในตับนั้นแน่นหนาขึ้น โครงสร้างของตับจะเปลี่ยนไปทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติจนอวัยวะนั้นตายไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ประเภทความเสียหายของตับนั้นรู้จักกันดีได้แก่ ตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับซึ่งอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันนั้นยังไม่มีการเชื่อมโยงความเป็นพิษของพาราเซตามอล ซึ่งตอนนี้นักวิจัยกำลังต้องการตรวจสอบว่า การใช้ยาพาราเซตามอลและช่วงเวลาที่ต่างกันนั้นมีผลกับความเป็นพิษต่อตับหรือไม่

Dr Leonard Nelson จากมหาวิทยาลัยภาคห้องปฏิบัติการด้านโภชนาการและสถาบันวิจัยชีววิศวกรรมกล่าวไว้ว่า “พาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดที่เป็นที่ต้องการของโลก นอกจากราคาถูกแล้วยังปลอดภัย อย่างไรก็ตาม การใช้ยายังส่งผลเสียต่อตับซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญในการพัฒนายาต่อไป”

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวถึงเรื่องการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดไว้ว่าเป็นอันตรายต่อตับ เมื่อผู้ป่วยหรือใครก็ตามที่รับประทานเกินขนาดจะมีอาการดังนี้

  • 24 ชั่วโมงแรก: ส่วนใหญ่จะมีอาการ คลื่นไส้ เบื่ออาการระยยะเวลาสั้นๆ เหงื่อออก หรือบางรายอาจไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น
  • 24-48 ชั่วโมง: ไม่มีอาการอะไร แต่ตรวจพบมีเอนไซม์ transaminase เริ่มสูงขึ้น
  • หลังจาก 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของตับอักเสบ ได้แก่ คลื่นไส้ เบื่ออาหารอีกรอบ ในรายที่ไม่รุนแรงก็จะทุเลาลงในเวลา ต่อมา สำหรับรายที่รุนแรง อาการดำเนินของโรคและผลแทรกซ้อนเหมือนภาวะตับอักเสบเสบจากสาเหตุอื่นๆ ในรายที่รุนแรงอาการ แสดงของตับวายจะปรากฏให้เห็นและอาจเสียชีวิตได

เห็นแบบนี้แล้ว ก็ใช้ยาเท่าที่จำเป็น และใช้แต่พอเหมาะ ให้ทานทีละเม็ด เว้นระยะประมาณ 6 ชั่วโมง วันหนึ่งห้ามเกิน 8 เม็ด และถ้ามีอะไรผิดปกติ เช่นทานแล้วไม่หายปวดสักที ให้รีบปรึกษาแพทย์ครับ

อ้างอิง อ้างอิง2