เมื่อหลาย ๆ คนประสบกับปัญหา ‘ปากแตก’ ลิปบาล์ม ดูจะเป็นตัวช่วยที่ง่ายที่สุดในการกู้สภาพปากแตก และบรรเทาอาการเจ็บ คัน บริเวณริมฝีปากได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว ลิปบาล์มช่วยแก้อาการปากแตกได้จริงหรือ?

ลิปบาล์ม เป็นเพียงหนึ่งทางเลือกในการให้ความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปากเพียงชั่วคราวเท่านั้น และในลิปบาล์มบางชนิดเมื่อแห้งแล้วยังทิ้งรอยน่ากลัวไว้บนปากของเราอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์บอกกับเราว่า เมื่อเราทาลิปบาล์ม ชั้นฟิล์มบาง ๆ จะถูกเคลือบลงบนริมฝีปากของเรา แต่เมื่อมันระเหยออกไปมันจะยิ่งกลับทำให้ปากของเราขาดน้ำ

เรามักประสบปัญหาปากแตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่อากาศหนาว ๆ หรืออากาศแห้ง แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านความงามบอกว่า เราจึงควรดูแลริมฝีปากของเราให้ดี เหมือนกับการดูแลผิวในส่วนอื่น ๆ ด้วย ยิ่งในช่วงที่อากาศหนาว คนส่วนน้อยที่จะใส่เสื้อผ้าเพื่อปิดปากของเขา เมื่อริมฝีปากสัมผัสกับอากาศโดยตรงก็จะยิ่งทำให้ปากแตกได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าผิวตรงริมผีปากจะดูแตกต่างจากผิวส่วนอื่น ๆ ของเรา แต่ริมฝีปากก็คือผิวของเรามันถูกสร้างมาจาก three layers of cells เช่นกัน แต่สำหรับผิวหนังชั้นนอกสุดอย่างหนังกำพร้า (corneum) ของริมฝีปาก มันเป็นชั้นที่บางมากและได้รับผลกระทบง่าย และผิวบริเวณนี้ก็ไม่มีขน หรือต่อมไขมันของมันเอง จึงต้องอาศัยความชุ่มชื้นจากต่อมไขมันใต้ผิวบริเวณรอบ ๆ ริมฝีปากแทน

การเลียริมฝีปากหรือการทาลิปมัน จึงดูจะเป็นความคิดที่ดีในการเพิ่มความชุ่มชิ้นให้ริมฝีปาก แต่มันกลับเป็นผลเสียเพราะมันจะทำให้ริมฝีปากเกิดอาการขาดน้ำในอนาคตได้ ในลิปบาล์มบางชนิดก็มีส่วนประกอบที่ยิ่งทำให้ปากแห้งมากยิ่งขึ้น เช่น Menthol, Salicylic acid, Cinnamic aldehyde และ Peppermint flavors ถึงแม้คนส่วนมากจะไม่ได้รับผลกระทบจากสารเหล่านี้ แต่มันอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในคนที่แพ้ง่าย แล้วลิปที่เป็น Shiny glosses และ oils ที่เขาบอกว่ากันรังสี UV ได้ จำเป็นด้วยหรือไม่? ต้องบอกก่อนเลยว่าผิวบริเวณริมฝีปากมีเมลานิน (สารที่ทำให้เกิดสีผิว) น้อยมาก มันจึงไม่จำเป็นที่ต้องได้รับการปกป้อง แต่หากคุณต้องการที่จะทาลิปเพื่อป้องกันรังสี UV ละก็ แน่นอนมันจะได้ผล

การดูแลริมฝีปากที่นักวิทยาศาสตร์แนะนำคือการใช้ลิปบาล์มที่มีชั้นเคลือบหนา และมีส่วนผสมของครีมบำรุง พร้อมทั้งมี SPF ป้องกันริมฝีปากของคุณ ลิปที่มีส่วนผสมของ Glycerin และ วุ้นปริโตรเลียม เป็นลิปที่คุณควรใช้ และคุณอาจเพิ่มความชุ่มชื้นให้อากาศด้วยการใช้เครื่องทำความชื้นเปิดในบ้านของคุณ และคำแนะนำสุดท้ายเลยคือ ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อเติมความชุ่มชื้นจากภายในสู่ภายนอก

อ้างอิง