โดย พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.

ถ้าท่านมีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง Minority Report หรือ Mission Impossible :

Play video

จะมีฉากที่ Tom Cruise ใช้ระบบสแกนม่านตาและใช้ลายนิ้วมือด้วยระบบไบโอแมทริกซ์ (Biometric) เป็นสิ่งที่ดูเหลือเชื่อในอดีต ซึ่งถือว่าไกลความจริง จนไม่อยากจะเชื่อว่าเราจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วในวันนี้

ไบโอแมทริกซ์เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีชีวภาพกับคอมพิวเตอร์และสื่อสารโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน โดยใช้การตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคลที่เป็น “ลักษณะเฉพาะ” มาใช้ระบุตัวบุคคลนั้นๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นๆ

Play video

“ไบโอแมทริกซ์” ซึ่งเป็นที่นิยม ได้แก่ การตรวจหาความถี่ของ “คลื่นเสียง” ของบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความถี่ของคลื่นเสียงไม่เท่ากัน ไม่สามารถปลอมแปลงได้, “ลายนิ้วมือ” ซึ่งมีความเฉพาะตัว และไม่เหมือนกัน ปลอมแปลงยาก, การตรวจสอบ “เรตินา” ของดวงตา แต่ละบุคคลจะมีลักษณะลวดลายในเรตินาไม่เหมือนกัน แม้แต่เป็น “ฝาแฝด” กันก็ตาม การตรวจสอบโดยวิธีนี้จึงให้ความน่าเชื่อถือสูงมาก และการตรวจสอบ “ดีเอ็นเอ” ซึ่งแต่ละคนมีโครงสร้างดีเอ็นเอไม่เหมือนกัน มีความน่าเชื่อถือมาก แต่ค่าใช้จ่ายสูง

ไบโอแมทริกซ์ สามารถประยุกต์ใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลขององค์กร การระบุตัวตน รวมถึงการสั่งการ บางหน่วยงาน เช่น ตำรวจ สามารถใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นหลักฐานแสดงตัวตน หรือใช้ตรวจสอบบุคคลต้องสงสัยได้

Play video

ไบโอแมทริกซ์ที่ใช้ในการระบุตัวบุคคล แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การใช้ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ลายนิ้วมือ (Fingerprint) ลักษณะใบหน้า (Facial Recognition) ลักษณะของมือ (Hand Geometry) ลักษณะของนิ้วมือ (Finger Geometry) ลักษณะใบหู (Ear Shape) Iris และ Retina ภายในดวงตา และกลิ่น (Human Scent)
  2. การใช้ลักษณะทางพฤติกรรม ได้แก่ การพิมพ์ (Keystroke Dynamics) การเดิน (Gait Recognition) เสียง (Voice Recognition) หรือการเซ็นชื่อ(Signature) ในการระบุตัวบุคคล

ยกตัวอย่าง กระบวนการ Face Recognition System หรือการตรวจสอบใบหน้าบุคคล สามารถรับข้อมูลได้จากหลายอุปกรณ์ เช่น web camera, scanner, video หรือ CCTV เป็นต้น โดยทำการส่งผ่านไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าสู่ face management server ซึ่งระบบจัดการนี้มี face recoqnition server ได้หลายตัว ขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบ

ใน London เมืองหลวงของสหราชอาณาจักร ซึ่งถือว่ามีจำนวนกล้อง CCTV มากที่สุดในโลก นับล้านกล้อง เชื่อมต่อกับระบบ Face Recognition System สามารถตรวจจับผู้กระทำความผิด และคลี่คลายคดีอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถควบคุมอัตราการเกิดอาชญากรรมได้ด้วยความสำเร็จ และที่น่าสนใจคือ กล้องส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นการติดตั้งโดยรัฐบาล แต่เป็นการติดตั้งโดยเอกชนและประชาชน ซึ่งร่วมมือกับภาครัฐในการเชื่อมต่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ก็มีเรื่องที่หลายภาคส่วนเป็นกังวลในประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) จนมีการกล่าวกันว่า London จะกลายเป็น “รัฐแห่งการถูกจับตา (Surveillance state)” ดูข้อมูลเพิ่มเติมตาม Link ข้างล่างบทความ

สำหรับ “ข้อเสีย” ที่ทำให้ไบโอแมทริกซ์ไม่แพร่หลายมีอยู่ 3 ประการ คือ

  1. ความน่าเชื่อถือ เพราะเทคโนโลยีไบโอแมทริกซ์บางประเภทยังต้องการการพัฒนา ทั้งด้านทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือ
  2. “ราคา” ของอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องสแกนเรตินา/ไอริสในดวงตา ยังมีราคาสูง
  3. การยอมรับของสังคม เพราะเป็นเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” ของแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางเทคนิค เช่น ใช้อวัยวะของร่างกายเป็นรหัสผ่าน จึงมีโอกาสโดนทำร้ายร่างกาย เพื่อขโมย “รหัสผ่าน” ได้ง่าย
ขณะที่ “ข้อดี” ได้แก่ ทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็น ต้องพกบัตร และจำรหัสผ่าน ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และป้องกันการสูญหายของบัตรผ่าน หรือการลักลอบนำเอารหัสผ่านไปใช้, กรณีการใช้รหัสผ่าน หรือบัตรผ่าน เจ้าของบัตรอาจอ้างว่ารหัสผ่านถูกลักลอบนำไปใช้ แต่ถ้าใช้การระบุตัวบุคคลด้วยไบโอแมทริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้, ไบโอแมทริกซ์ ยากต่อการปลอมแปลง และลักลอบนำไปใช้, ระบบไม่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเพราะ “อวัยวะ” ของร่างกายที่เป็น “รหัสผ่าน” ไม่ใช่สิ่งที่ทำ “เลียนแบบ” ได้

นอกจากนี้ “ไบโอแมทริกซ์” ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องพักผ่อน เท่ากับว่าจะมียามรักษาการณ์ติดอยู่กับบ้าน หรือ “ด่านชายแดน” ที่เหนือล้ำกว่า “สุนัขเฝ้าบ้าน” ที่ยังต้องหลับ หรืออาจโดนยาเบื่อ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
UK BIG BROTHER ALERT: 1 SURVEILLANCE CAMERA FOR EVERY 11 PEOPLE