หลังจากที่เราผ่านวิบากกรรมช่วง โควิด-19 กันมาได้แล้ว สถานการณ์ทั่วโลกเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ เช่นเดียวกับการเรียนการสอน ที่บรรดานักเรียน นักศึกษา ได้กลับมาโรงเรียนกันตามปกติ ช่วงนี้บรรดานักวิจัยก็เลยมีข้อมูลน่าสนใจต่าง ๆ มาทำวิจัยเปรียบเทียบกันระหว่างสภาวะช่วงที่ ต้องเรียนจากบ้าน กับ การออกมาเรียนที่สถานศึกษา

มีกลุ่มนักวิจัยชาวสวีเดน ที่เพิ่งเผยผลการวิจัยที่น่าฉงนออกมา เผยแพร่ทางวารสาร The journal Economics ในเรื่องจาก ภาพลักษณ์ของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการเรียน เปรียบเทียบระหว่างการเรียนในห้องเรียน และการเรียนที่บ้าน พบว่าการออกมาเรียนที่สถานศึกษาก็มีผลกระทบต่อผลการเรียนของนักศึกษาเช่นกัน

เอเดรียน เมฮิก

เอเดรียน เมฮิก (Adrian Mehic) หัวหน้าทีมวิจัยในเรื่องนี้เผยว่า
“ประเด็นหลักที่เราศึกษากันก็คือ นักศึกษาที่หน้าตาดีทั้งชายและหญิงมีผลอย่างไรกับการเรียนในสถานศึกษา”
พอเป็นการเรียนออนไลน์ที่ไม่ได้เจอหน้าตากันแบบตัวเป็น ๆ ผลการเรียนของนักศึกษาคนสวยก็ไม่รุ่งเหมือนเดิมแล้ว

การวิจัยนี้อิงจากข้อมูลของนักศึกษาหญิงหน้าตาดีจากสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในสวีเดน 5 กลุ่ม โดยให้นักศึกษาด้วยกันจำนวน 74 คน เป็นคนคัดเลือกโดยอิงจากรูปร่างหน้าตา

ผลการวิจัยขั้นต้นปรากฏว่า ยิ่งพวกเธอมีภาพลักษณ์ดูดีเท่าไหร่ ผลการเรียนของพวกเธอก็ยิ่งดีตามไปด้วย โดยเฉพาะวิชา ธุรกิจ และ เศรษฐศาสตร์ ส่วนด้านวิชา คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกส์ นั้น พวกเธอจะทำคะแนนสอบข้อเขียนได้มากกว่าการทำรายงาน แต่พอเข้าสู่ช่วงการเรียนออนไลน์ คะแนนของคนสวยเหล่านี้ก็ตกฮวบกันหมด

ตรงกันข้ามกับพวกคนหล่อ “พวกนักศึกษาชายหน้าตาดีกลับดูมีผลการเรียนที่เสถียรซะมากกว่า แล้วยังดึงให้เพื่อน ๆ เขาเรียนดีตามไปด้วย”
เมฮิกเสริมท้ายในผลวิจัยนี้ต่ออีกว่า “สำหรับผมแล้ว พอบอกได้เลยว่า การมีรูปร่างหน้าตาดีสำหรับนักศึกษาชายนั้น ส่งผลกับพวกเขาในทางบวก อย่างเช่น ทำให้เขามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แทนที่จะมาแบ่งพรรคแบ่งพวก ซึ่งการแบ่งพรรคแบ่งพวกนั้นจะเห็นในกลุ่มนักศึกษาหญิงเสียมากกว่า”

แต่สุดท้ายเมฮิกก็ยอมรับว่า นี่เป็นการวิจัยในช่วงเริ่มต้น ซึ่งยังต้องใช้เวลาศึกษากันต่ออีกมา
“มันเป็นงานที่ยากสำหรับนักวิจัยเลยล่ะครับ ที่จะตอบได้ว่าทำไมคนเราถึงเลือกปฏิบัติต่อผู้คนตามรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน หรืออาจจะเป็นเพราะว่า เวลาเราพบเจอคนที่มีเสน่ห์ดึงดูด เราก็คิดไปก่อนแล้วว่าเขาหรือเธอน่าจะเก่ง และฉลาด ซึ่งบางทีอาจจะไม่ใช่อย่างที่คิดก็ได้ ซึ่งในจุดนี้เรายังต้องศึกษาค้นคว้ากันลงลึกต่อไป เพื่อความแม่นยำ”

ที่มา