วันที่ 18 ส.ค. 65 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) ประกาศเปิดให้บริการโฉมใหม่ในวันที่ 12 กันยายนนี้ หลังจากหยุดบริการเพื่อปรับปรุงไปตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2562 โดยประกาศความพร้อมสู่การเป็น “ที่สุดของอิเวนต์แพลตฟอร์ม” (The Ultimate World Class Event Platform for All) ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยที่ใหญ่ขึ้นถึง 5 เท่าจากเดิม

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า #beartai #ศูนย์สิริกิติ์ #qsncc #ประชุม #แสดงสินค้า
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า #beartai #ศูนย์สิริกิติ์ #qsncc #ประชุม #แสดงสินค้า
@beartai

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า #beartai #ศูนย์สิริกิติ์ #qsncc #ประชุม #แสดงสินค้า

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด คาดว่าหลังเปิดใช้งาน น่าจะมีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 13 ล้านคนต่อปีในเวลาไม่นาน เพิ่มจากช่วงก่อนปิดปรับปรุงที่มีผู้เข้าใช้บริการ 6 ล้านคนต่อปี

สำหรับการปรับปรุงในครั้งนี้ใช้งบประมาณกว่า 15,000 ล้านบาท ขยายพื้นที่รวมให้มากขึ้นถึง 5 เท่า เป็น 300,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่จัดงานอิเวนต์ 78,500 ตารางเมตร พื้นที่สำหรับร้านค้าปลีก 11,000 ตารางเมตร ฮอลล์จัดนิทรรศการ 8 ห้อง ห้องเพลนารี 4 ห้อง ห้องบอลรูม 4 ห้อง และห้องย่อย 50 ห้อง รองรับผู้เข้าใช้บริการได้มากถึง 100,000 คนต่อวัน พร้อมลานจอดรถใต้ดินที่สามารถจอดรถยนต์ได้มากถึง 3,000 คัน 

โดดเด่นที่แตกต่างกัน สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ได้แก่

ชั้น LG ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ และเป็นศูนย์รวมร้านค้า บริการ รวมถึงผลงานแสดงศิลปะชั้นครูของไทย ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้อย่างครบครัน อีกทั้งยังเป็นชั้นที่เชื่อมต่อกับทางเข้าจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ทำให้การออกแบบในชั้นนี้เน้นบรรยากาศการต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ภายใต้แนวคิด ‘ชุดไทยลำลอง’ หรือ ‘Casual Thai’  ให้ความรู้สึกถึงเสน่ห์ของผ้าไทยอย่าง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง การจับจีบผ้า การซ้อนเกล็ด มาใช้ในการประดับตกแต่งส่วนต่าง ๆ 

Event Hall

ชั้น G ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์อาหาร และพื้นที่รีเทล การออกแบบในชั้นนี้ยกระดับจากคอนเซ็ปต์ชุดไทยลำลองให้ทางการขึ้นมาเล็กน้อย กลายเป็น ‘ชุดทางการแบบไทยประยุกต์’ หรือ ‘Formal Thai’ ได้รับแรงบันดาลใจจากโจงกระเบน มีการจับจีบผ้าและผนังให้เกิดรูปเว้าโค้งแบบลายไทย โดยโถงนิทรรศการหลักได้รับการตกแต่งด้วยวัสดุสีทองแดง รวมถึงประตูกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นประตูลายรดน้ำ ปิดทองที่ให้อารมณ์หรูหรา อันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยสมัยก่อน 

ชั้น 1 เป็นที่ตั้งของ Ballroom, Plenary Hall และห้องประชุม

ห้องบอลรูม พื้นที่ส่วนนี้ได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบมาจาก ‘ชุดชาวเขาไทย’ ที่เล่าเรื่องราวของธรรมชาติในรูปแบบลายเส้น รูปทรงเรขาคณิต และการใช้วัสดุตกแต่ง สีเงินจากเครื่องเงิน ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่ชาวเขานิยมสวมใส่

เพลนารีฮอลล์ (Plenary Hall) – ได้รับแรงบันดาลใจจากในการออกแบบจาก ‘ชุดไทยจักรี ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดไทยประจำชาติพระราชนิยม 8 ประเภท’ โดยเลือกลายพื้นฐานอย่าง ลายประจำยาม มาลดทอนรายละเอียด ขยายสัดส่วนให้ใหญ่ขึ้น และหยิบบางส่วนของเส้นสายในชุดไทยจักรีมาตกแต่งบรรยากาศให้ดูร่วมสมัย

ชั้น 2 ประกอบไปด้วยห้องประชุมย่อย พื้นที่รับรองแขก และร้านอาหาร ชั้นนี้ใช้การตกแต่งแบบ เรียบหรู โปร่งโล่งด้วยผนังกระจกใสติดกับสวนเบญจกิติ และสามารถเดินออกไปยังระเบียงเพื่อมองวิวทิวทัศน์ของสวนได้ถึง 180 องศา

ห้องบอลรูม
เพลนารีฮอลล์ 2 (Plenary Hall)
เพลนารีฮอลล์ 4 (Plenary Hall)

นอกจากงานดังกล่าวแล้ว ยังมีงานอิเวนต์ทั้งในและต่างประเทศ  คอนเฟิร์มมาจัดงานที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์กว่า 160 งาน ตั้งแต่ศูนย์ฯ เปิด จนถึงสิ้นปี 2566 ซึ่งมีทั้งงานไมซ์ (MICE) และงานไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นงานคอนเสิร์ต อย่าง “T-Pop Concert Fest” รวมศิลปินเพลงป๊อปแนวหน้าชั้นนำของไทย เช่น พีพี บิวกิ้น, ศิลปินเกิร์ลกรุ๊ป “4EVE”, โบกี้ ไลอ้อน ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 และงานมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Thailand Game Show” ในวันที่ 21-23 ตุลาคม 2565  และอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในการเป็นสถานที่จัดงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ในวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2565 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส