การเฝ้าระวังภัย กับการสอดส่องตรวจหาดาวเคราะห์น้อยในปัจจุบัน
แม้จะไม่เป็นอันตราย แต่เหตุการณ์นี้ก็ทำให้เราตระหนักว่า นาซาเองก็ยังรู้เพียงเศษเสี้ยวของวัตถุใกล้โลก (Near-Earth objects: NEO) ที่เข้ามา วัตถุเหล่านี้หลายชิ้นยังคงเล็ดรอดไม่อาจมองเห็นได้ด้วยนานากล้องโทรทรรศน์สุดทันสมัย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาจมีดาวเคราะห์น้อยอีกหลายดวงแอบอาศัยช่องว่างของระบบตรวจจับเข้ามาใกล้โลกของเราก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง มันก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้คนบนโลกได้
นาซาเริ่มโครงการสำรวจท้องฟ้า เพื่อป้องกันภัยคุกคามดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 อย่างไรก็ตาม มีการติดตามหินอวกาศเหล่านี้เฉพาะก้อนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 460 ฟุต (140 เมตร) ขึ้นไปเท่านั้น โดยนาซาคาดว่าน่าจะมีวัตถุขนาดเหล่านั้นที่เข้าใกล้โลกราวๆ 25,000 ชิ้น แต่ในปีที่แล้ว นาซาก็ได้ออกมาแถลงว่า พบวัตถุใกล้โลกในจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของที่ประมาณการณ์ไว้ ซึ่งนั่นไม่รวมดาวเคราะห์ดวงน้อย ๆ อย่างดวงที่ตกลงที่เชเลียบินสค์ และ 2019 OK ที่สร้างความแตกตื่นให้คนบนโลกด้วยซ้ำ
“เมื่อดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้ามาจากทิศที่มีดวงอาทิตย์อยู่ เราก็ทำอะไรได้ไม่มากนัก เนื่องจากเราใช้กล้องโทรทรรศน์ที่สังเกตการณ์ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Optical telescopes) และสามารถค้นหาพวกมันได้ในยามค่ำคืนเท่านั้น ดังนั้น เราจึงมีแนวคิดว่า ต้องค้นพบพวกมันก่อนที่มันจะเคลื่อนเข้ามาใกล้โลก และใช้การคำนวณล่วงหน้าหลายปี เพื่อดูว่าดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้นมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อโลกหรือไม่” โชดาสกล่าว

ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบออพติคอล
Credit: https://www.ztf.caltech.edu/
นาซามีแผนแก้ไขช่องว่างเหล่านี้ ด้วยการพัฒนากล้องโทรทรรศน์อวกาศที่สามารถตรวจจับดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่มาจากทิศทางของดวงอาทิตย์ในโครงการที่ชื่อว่า ‘Near-Earth Object Surveillance Mission’ หรือ ‘ภารกิจเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลก’ ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงต้นของโครงการ โดยนาซาได้จัดสรรงบประมาณปีนี้ให้กับโครงการดังกล่าว เป็นมูลค่าเกือบ 36 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 112 ล้านบาท) สำหรับกล้องโทรทรรศน์นั้นเรียกว่าภารกิจเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลก หากการทุ่มงบและพัฒนาเป็นไปด้วยดี คาดว่าเราอาจจะได้เห็นกล้องโทรทรรศน์ใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2568
เราคงต้องรอดูรอลุ้นกันต่อไปว่า ระหว่างการใช้งานได้จริงของกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ที่ใช้ตรวจจับดาวเคราะห์น้อย และการมาเยือนของดาวเคราะห์น้อย อะไรจะทำให้เราตื่นเต้นได้ก่อนกัน
อ้างอิง
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส