ครั้งที่แล้ว เราแนะนำให้รู้จักกับ StashAway แพลตฟอร์มบริหารการลงทุน ซึ่งเป็นตัวช่วยการลงทุนใน ETF ระดับโลกครับ ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก ๆ

ครั้งนี้! เรามาว่ากันต่อกับการลงทุนในอีกรูปแบบนึงที่เรียกว่า Thematic Portfolio หรือการเลือกลงทุนตามธีมครับ เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์ใหม่ของทาง StashAway เขาเลย ส่วนมันจะเป็นยังไง ผมไปแบไต๋ให้ฟัง!

ก่อนอื่น มาทวนความจำแบบไว ๆ เรื่องการลงทุนใน ETF กันก่อนครับ

ETF หรือ Exchange Traded Fund คือ กองทุนรวมดัชนี ที่อิงไปตามการเคลื่อนไหวของค่าดัชนีมากที่สุดและเป็นการลงทุนที่สามารถกระจายการลงทุนไปได้ในหลาย ๆ หุ้น แต่กลับมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำครับ เพราะส่วนมากจะมีนโยบายการลงทุนแบบ Passive อิงไปตามค่าดัชนีที่อ้างอิงอยู่ จึงไม่ต้องเสียค่าบริหารพอร์ตกองทุนแพง ๆ ครับ

ทีนี้เรามาว่ากันต่อกับฟีเจอร์ใหม่ของทาง StashAway กับการลงทุนตามธีมหรือแบบ Thematic Portfolio ครับ

โดยจะเป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจหรือนวัตกรรมที่เป็น “เมกะเทรนด์” ครับ กล่าวคือเป็นการลงทุนในเทรนด์ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของโลกและสร้างนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้คนอย่างยั่งยืน เช่นพวกเทคโนโลยีพลังงานสะอาด, รถยนต์ไฟฟ้า, AI, บล็อกเชน หรือธุรกิจไบโอเทค เป็นต้น

ซึ่งในแอปของ StashAway จะมีให้เลือกลงทุนได้ทั้งหมด 4 ธีมครับ ได้แก่

1.Technology Enablers ธีมเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่คอยขับเคลื่อนชีวิตของเราอยู่เบื้องหลังและจะมีบทบาทในภายภาคหน้ามากขึ้น เช่น AI (ปัญญาประดิษฐ์) บล็อกเชน คลาวด์คอมพิวต้ิง เซมิคอนดักเตอร์ หรือโรโบติกส์ เป็นต้น ซึ่งบริษัทที่ลงทุนก็พวก Coinbase, Nvidia, Zoom หรือ Alphabet เป็นต้น

2. The Future of Consumer Tech – กลุ่มธุรกิจ Consumer Tech ที่ถูกพัฒนาเพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้บริโภคให้สะดวกสบายและเชื่อมโยงกันง่ายขึ้น ยกตัวอย่างก็พวก

  • E-Commerce เช่น Amazon
  • FinTech เช่น PayPal
  • ด้านเกมมิง เช่น Activision Blizzard หรือ AMD
  • ด้านยานยนต์ไฟฟ้า เช่น Tesla
  • รวมถึงด้านโซเชียลมีเดียและอื่น ๆ อย่าง Meta หรือ Apple เป็นต้น

3. Healthcare Innovation – นวัตกรรมทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วมาต้ังแต่ก่อนเกิดโรคระบาดและมีแนวโน้มที่จะถูกเร่งสปีดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลรักษาชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น เช่นพวกกลุ่มธุรกิจไบโอเทค, จีโนมิกส์, ด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรมครับ ซึ่งบริษัทที่ไปลงทุนก็เป็นบริษัทที่เราคุ้นหูกันดีจากการผลิตวัคซีน เช่น Moderna, Pfizer, Biontech หรือ CRISPR เป็นต้น

4. Environment and Cleantech – ธีมเทคโนโลยีที่คำนึงถึงการลดคาร์บอนให้กับโลกของเรา ซึ่งมีแนวโน้มพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลังจากสภาพแวดล้อมของโลกเราถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุด Point of no return ไปแล้ว เช่น กลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาด, เทคโนโลยีการจัดการน้ำ, ระบบกักเก็บพลังงานและ Smart Grid, การเงินสีเขียวและเทคโนโลยีบำบัดขยะครับ โดยบริษัทที่ลงทุน ได้แก่ Solar Edge, Ecolab, Schneider Electric หรือ Enphase เป็นต้น

สมมติผมเลือกลงทุนในธีม Consumer Tech เพราะผมมองว่ายังไงกลุ่มธุรกิจนี้ก็จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราได้อย่างยั่งยืนและมีแนวโน้มในการเติบโตที่สูง ทาง StashAway จะทำการจัดสรรเงินลงทุนไปยังกลุ่มธุรกิจที่หลากหลายให้ เช่นทั้งพวกฟินเทค, อีคอมเมิร์ซ หรือเกมมิงให้ด้วย (ซึ่งอยู่ในธีม Consumer Tech เหมือนกัน) เพื่อลดความกระจุกตัวลง

ซึ่งในแต่ละธีมก็จะลงทุนใน ETFs ประมาน 7-11 ตัว และล้วนจัดการโดยบริษัทจัดการกองทุน Thematic ระดับโลก เช่น Ark, BlackRock, Global X เป็นต้น

ปกติแล้ว การลงทุนแบบ Thematic มักมีระดับความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง เพราะเป็นการลงทุนที่มีความกระจุกตัวในกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ทาง StashAway เขาก็เลยมี StashAway Risk Index (SRI) เพื่อมากำหนดค่าความเสี่ยงที่เราจะยอมรับได้ ซึ่งตีค่าออกมาเป็นตัวเลข เพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนของพอร์ต

ยกตัวอย่างเช่นผมลงทุนไปในธีม Environment and Cleantech และเซ็ตค่า SRI ไว้ที่ 20% ซึ่งจะมั่นใจได้ถึง 99% ว่าพอร์ตของเราจะไม่มีมูลค่าลดลงต่ำกว่า 80% ใน 1 ปีครับ ซึ่งแต่ละธีมจะมีให้เลือกความเสี่ยงได้มากถึง 7 ระดับ ตั้งแต่ SRI ที่ 20% ถึง 45%

ที่เราสามารถกำหนดความเสี่ยงได้หลายระดับอย่างแม่นยำแบบนี้ได้ก็เพราะว่าตัวพอร์ตจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ได้สัดส่วนการลงทุนที่ลงตัวระหว่าง ”สินทรัพย์ตามธีม” และ ”สินทรัพย์ปรับสมดุล” ด้วย ซึ่งสินทรัพย์ตามธีมก็คือ ETF ที่เราเลือกลงทุนไปตามธีม ส่วนสินทรัพย์ปรับสมดุลคือ ETF ที่ลงทุนในหุ้นกู้, ทองคำหรือพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ เพื่อช่วยรักษาระดับความเสี่ยงให้เหมาะสมกับพอร์ต (ตามภาวะเศรษฐกิจ) ครับ
และที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือเทคโนโลยีเบื้องหลังของ StashAway ที่เรียกว่าระบบ ERAA (อี-ร่า) ครับ ซึ่งจะมาช่วยประมวลผลจาก Data ย้อนหลังจำนวนมหาศาลแทนการตัดสินใจของมนุษย์ และช่วยออกแบบสัดส่วนของพอร์ตให้ลงตัวที่สุด พร้อมปรับพอร์ตอย่างเหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจให้เราด้วย

เพราะ ERAA จะมีการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์เพื่อเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่ถูก (Undervalued) และ ลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่แพง (Overvalued)

นอกจากนี้ยังมี Risk Shield ที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์ตลาดในทางเทคนิค เพื่อตรวจจับสัญญาณความผิดปกติของตลาดที่อาจนำไปสู่การปรับตัวลงอย่างรุนแรง เรียกว่าทั้งหมดนี้ ก็ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ผู้ลงทุนอุ่นใจ ไม่ต้องคอยเฝ้าพอร์ตตลอดเวลาครับ ระบบจัดการให้เองหมดเลย

ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมเรียกว่ายังคงเป็นจุดเด่นของ StashAway เขาล่ะครับ เพราะมีการคิดค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการแบบ All-inclusive จบในอัตราค่าธรรมเนียมเดียวเพียง 0.2% – 0.8% ต่อปี ซึ่งเป็นเพียงค่าธรรมเนียมเดียวที่เรียกเก็บ โดยจะคิดอัตราตามขั้นบันได ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุน ยิ่งลงทุนมาก ค่าธรรมเนียมจะยิ่งต่ำ ส่วนค่ายิบย่อยอื่น ๆ ก็จะไม่มีการเรียกเก็บอะไรใด ๆ อีกเลย ดีงามมาก ๆ

ข้อสังเกต

รีวิวแบไต๋ให้ข้อสังเกตไว้เสมอนะครับ หลังจากที่ทีมงานได้ลองลงทุนด้วยการใส่เงินเข้าไปจริง ๆ ระบบก็จะนำเงินของเราไปลงทุนโดยใช้เวลาราว 4-6 วันทำการ เลยอยากจะบอกท่านผู้ชมครับว่าอาจจะต้องอดใจรอนิดนึง เพราะยอดอาจจะไม่เข้าแบบ Realtime ซึ่งส่วนนี้ตัวแอปก็ชี้แจงไว้อย่างชัดเจนแล้วว่ากระบวนการไหนต้องใช้เวลาเท่าไหร่ แต่เงินเข้าแน่นอน สบายใจได้

การลงทุนตามธีมหรือแบบ Thematic Portfolio นับเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจนะครับ เป็นการลงทุนในสิ่งที่เราเชื่อมั่นว่ามันจะเติบโตในอนาคตอย่างระยะยาว แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลือกระดับความเสี่ยงหรือค่า SRI ให้เหมาะกับคุณจริง ๆ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับความผันผวนในระยะสั้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้และสามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อรับผลตอบแทนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจในธีมที่คุณเลือกครับ

สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามทีมงานดูแลลูกค้าได้ทาง facebook.com/StashAwayTH หรือ Line Official Account ที่ @stashaway ได้เลย

สุดท้ายนี้ คงต้องบอกว่า ‘การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน