วันนี้ ผึ้งจะพาไปรู้จักกับ ig Nobel (อิ๊ก โนเบล) รางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ และที่สำคัญ งานวิจัยแรก! อันนี้ได้ดีกรีรับรางวัลในสาขาสันติภาพ ประจำปี 2019 เลยนะ ซึ่งหัวข้องานวิจัย นั้นก็คือ “การเกาแก้คันตรงส่วนไหนของร่างกายฟินมากที่สุด” คิดว่าตรงไหนกันคะ?

คำตอบคือ ปลายแขน ข้อเท้า และหลังค่ะ เหตุผลสองบริเวณนั้น เวลาเการ่างกายจะได้รับค่าความพึงพอใจเยอะที่สุด เพราะเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ให้เราเกลี่ยการเกาและการลงน้ำหนักในการเกาได้เยอะนั่นเอง เป็นไงล่ะมีคำตอบเป็นรูปธรรมให้ด้วย ถัดมาเป็นเรื่องกิน ๆ โดยรายงานนี้ได้รับรางวัลในสาขาแพทยศาสตรศึกษาค่ะ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ว่าด้วย “พิซซ่า จะส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อเป็นพิซซ่าจากในอิตาลี”

เหตุผลที่เป็นงั้นผึ้งสรุปให้ฟัง ๆ สั้นจากหน้ากระดาษรายงานบานเบอะเลยแล้วกันค่ะว่าเป็นเพราะ พิซซ่าในอิตาลี วิธีการทำเขาจะใช้วัตถุดิบทุกอย่างแบบสด ๆ ไม่ใช้วัตถุดิบแช่แข็ง และน้ำมันมะกอกที่คนอิตาลีเขาชอบใช้ประกอบอาหารกันก็มีประโยชน์เป็นอันดับต้น ๆ จากบรรดาน้ำมันทุกประเภทนั่นเองค่ะ

งานวิจัยถัดไปชิ้นนี้ได้รางวัลสาขาวรรณกรรมประจำปี 2016 ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลมีชื่อว่านายทอม ทเวตส์ ที่ทดลองใช้ชีวิตแบบแพะเป็นบนเทือกเขาแอลป์เป็นเวลา 3 วัน โดยการปลอมตัวเป็นแพะ! ใส่ขาเทียม และกินหญ้าเหมือนกับแพะจริง ๆ เอาง่าย ๆ เหตุผลที่เขาทำ ก็เพราะว่าต้องการจะแสดงให้เห็นว่าสัตว์ทุกชนิดบนโลกสามารถอยู่ร่วมกันได้ถ้าคุณมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อันนี้ ก็พีคในพีคเหมือนกันนะคะ แถมได้รางวัลในปี 2018 ในสาขาความน่าจะเป็น ซึ่งมันก็คือ “วัวจะลุกขึ้นเมื่อมันนอนลง”  คือในงานวิจัยเขาให้เหตุผลมาว่า ถ้าวัวเอนตัวนอนลงไปนานเท่าไหร่ อีกไม่นานมันก็จะยืนขึ้น แต่ที่แปลกคือ ถ้ามันยืนขึ้น เราก็ไม่รู้ว่ามันจะล้มตัวลงนอน… อืมไม่เหมือนคนเลย ล้มตัวเมื่อไหร่นี่เจอกันอีกทีเช้าวันถัดไป

เรื่องสุดท้ายแล้วท้ายสุด เป็นผู้ชนะสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2015 นู่นนนน ซึ่งเขาคือ ตำรวจนครบาลไทยที่ได้รับจากนโยบาย “มอบรางวัลให้ตำรวจที่ไม่รับสินบน”

รางวัลเหล่านี้ บ้างก็อาจจะฟังดูตลก บ้างก็ดูเพี้ยน ๆ แต่จริง ๆ แล้วจุดประสงค์ของ Ig Nobel คือการทำให้ทุกคนหันมาสนใจในงานวิทยาศาสตร์ และเปิดให้ทุกคนได้รับใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ค่ะ

เอาเป็นว่าถ้าดูคลิปนี้แล้วชอบก็อย่าลืมช่วยแชร์ให้ด้วยนะคะ และจงจำไว้จินตนาการสำคัญกว่าความรู้!

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส