CPTPP คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) เริ่มมาจากประเทศในแปซิฟิก 4 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย สิงค์โปร์ บรูไน ชิลี นิวซีแลนด์ เริ่มคุยกันเมื่อปี 2006 โดยพูดถึงการเปิดเสรีทางด้านการเงิน ต่อมาอเมริกาเข้าร่วมด้วย หลาย ๆ ประเทศที่ต้องการเปิดเสรีการค้าทำให้เกิดการเพิ่มสมาชิกเข้ามาเป็น 12 ประเทศ หลังจากนั้นบารัค โอบามาก็เข้ามาสานต่อนโยบายของ จอร์จ ดับเบิลยูบุช

ซึ่งวิธีคิดของบารัคในตอนนั้นก็คือ การวางระเบียบโลก การวางกฎกติกาเรื่องการค้าการลงทุนโลก ความคิดหลักของบารัคก็จะมีอยู่ 2 ชุดความคิดซึ่งก็คือ CPTPP ที่จัดระเบียบทางด้านแปซิฟิก ให้เป็นการค้าการลงทุนที่โดดเดี่ยวจีน และอีกส่วนก็คือ อเมริกาข้างเดียวกับยุโรป เพราะฉะนั้นทั้งสองจึงเกิดกติกาการค้าที่โดดเดี่ยวจีนได้ หลังจากนั้นก็เกิดการเลือกตั้งใหม่ ทรัมป์ ได้เข้ามาแทน ด้วยความที่ ทรัมป์ เป็นนักธุรกิจ จึงไม่อยากที่จะรอนานตามสัญญา เลยเซ็นยกเลิกออกไป และอีกข้อเลยก็คือ แรงงานต่างด้าวสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้

การที่ทรัมป์ถอนตัวไม่ได้ทำให้ยกเลิก พอถึงการประชุม APEC ที่เวียดนามนายกรัฐมนตรีของญีปุ่นพูดคุยกับสมาชิกที่เหลือให้เดินหน้าต่อไป และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น CPTPP หลังจากคุยกันในปี 2017 เสร็จเรียบร้อยสามารถมีผลบังคับใช้ได้เลยในปี 2018 ซึ่งเป็นอะไรที่รวดเร็วมากเลยทีเดียว

  • การค้าสินค้าที่จะเปิดตลาดมากยิ่งขึ้น
  • การลงทุนที่จะเปิดการลงทุนมากยิ่งขึัน
  • ภาคบริการที่จะเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น

การที่จะเข้าร่วม CPTPP ต้องปฏิบัติตามกฎต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อยกระดับมาตรฐานสากล โดยสมาชิกในแต่ละประเทศต้องทำตามกฎนี้ให้ได้ ซึ่ีงการที่ไทยเข้าร่วม CPTPP จะเป็นการยอมรับกติการจัดซื้อจัดจ้าง นั่นหมายความว่าการที่จะจัดทำอะไรบางอย่าง อย่างเช่นการทำถนนซึ่งแต่ก่อนอาจจะหาผู้รับเหมาตามที่อยู่แห่งนั้น

เมื่อเข้าร่วม CPTPP คุณต้องใช้มาตรฐานสากล ซึ่งจะต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ ซึ่งในส่วนนี้ผู้รับเหมาในไทยต้องสู้และปรับตัวกับเทคโนโลยีของต่างชาติที่จะเข้ามา

ซึ่งก็อาจจะทำให้ผู้รับเหมาไม่โอเค อาจจะดูเหมือนว่าเขามาแย่งที่ทางทำมาหากิน หากไม่พัฒนาและปรับปรุงตามแน่นอนว่าคุณอาจจะไม่ได้ไปต่อในช่องทางทำมาหากินนี้

อย่างเวียดนาม เหตุผลที่ประเทศพัฒนาแล้วอยากให้เข้าร่วม CPTPP คือเขาต้องการแรงงานราคาถูก เขาอยากได้ทรัพยากร อยากได้ฐานการผลิต ถ้าประเทศที่พัฒนาแล้วอยากให้เวียดนามอยู่ จึงให้แต้มต่อกับเวียดนามในบางเรื่อง ซึ่งก็เกิดการเจรจากันอย่างในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างของทอดเวลาออกไปก่อน อย่างเช่นโพรเจกต์ใหญ่สามารถให้ต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมได้ ส่วนโพรเจกต์เล็กขอให้เป็นคนในประเทศก่อน

อย่างในไทยจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องจะเข้าไม่เข้าแต่เป็นเรื่องของการเจรจาว่าถ้าเราจะเข้าร่วม CPTPP ประเทศไทยเราจะสามารถเจรจาอะไรได้แค่ไหน

ประเด็นเรื่องเมล็ดพันธุ์ของ CPTPP

รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

CPTPP เป็นการค้าของโลกที่เอื้อประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมระดับโลกขนาดใหญ่โดยที่ช่องว่างต่าง ๆ มันส่งผลกระทบต่อเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพหลักในประเทศไทย โดยบางอย่างมันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง

หากไทยเข้าร่วม CPTPP แล้วประชาชนจะไม่สามารถคัดค้านได้ อย่างเรื่องเรากังวลกันก็คือเรื่องของเมล็ดพันธุ์ ที่เปิดโอกาสให้ต่างชาตินำไปวิจัยต่อได้ พอวิจัยเสร็จสามารถนำไปจดสิทธิบัตร หากมองถึงมุมของเกษตรกรรายย่อยที่มีภูมิปัญญาต่าง ๆ ก็จะนำมาส่งต่อกันเป็นรุ่น ๆ ไปหากนำมาเทียบกับบริษัทใหญ่ที่มีความสามารถในการวิจัยที่มากกว่า ตรงนี้ก็จะเห็นได้ชัดว่าใครที่จะมีสิทธิ์ในการครอบครองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น ๆ หรือใครที่จะสามารถขายได้มากกว่า

ศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

การพัฒนาพันธุ์พืชหรือการจดสิทธิบัตรนั้นต้องเป็นของใหม่ที่พิสูจน์ได้ว่าคุณมีการพัฒนาสายพันธุ์มันขึ้นมาเองไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งในแต่ภูมิประเทศก็จะมีสิ่งที่เรียกว่าพันธุ์พื้นเมืองอยู่ ซึ่งการที่จะมี CPTPP ในไทยนั้นโดยทั่วไปแล้ววิถีชีวิตของคนเราปกติไม่ได้จะไปจดอะไรกันอยู่แล้วจึงเป็นเหตุผลที่เกิดการขัดแย้งกับวิถีชีวิตของคนไทยซึ่งอาจจะเกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งมองมุมที่เราเป็นผู้พัฒนาแต่เราไม่ได้รับการคุ้มครองเลยอาจจะมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมนั่นเอง

รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

ถ้าเกิดเกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์มาปลูกแล้วมันมีหลายจุดที่ตรงกันกับที่เขานำไปพัฒนา อย่างนี้ทางด้านเกษตรกรมีสิทธิ์ถูกฟ้องผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตมาจากเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งโดยวิถีชีวิตของเกษตรกรโดยทั่วไปแล้วเวลาที่ปลูกเมล็ดพันธุ์พอเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะนำเมล็ดพันธุ์เก็บไว้เพื่อใช้ปลูกในครั้งถัดไป แต่จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไปโดยเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูกต่อไป

ซึ่งผลผลิตต่าง ๆ นั้นมีต้นทุนค่อนข้างสูง ปัญหาที่ตามมาคือ ราคาอาหารจะเริ่มสูงขึ้น ความหลากหลายก็จะน้อยลง ยิ่งมีบริษัทใหญ่ ๆ ที่เข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อีกความหลากหลายของสายพันธุ์ก็จะยิ่งลดลงไปอีก ซึ่งในส่วนของประชาชนก็ยังสามารถใช้เมล็ดพันธุ์อื่น ๆ อยู่ ตัวแปรสำคัญก็จะเป็นในส่วนของภาครัฐที่จะสามารถเลือกรับซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มาจากบริษัทรายใหญ่รายใดรายหนึ่ง ซึ่งจะดูเหมือนว่าบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ สิ่งนี้มันเอื้อประโยชน์ต่อต่างชาติทำให้มีอำนาจต่อการตัดสินใจของภาครัฐ

(ติดตามต่อได้ในคลิปจากแบไต๋ ที่เตรียมเผยแพร่เร็วๆ นี้)

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส