• หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้ดำเนินรายการ
  • คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com

ภาษี e-Service เมื่อก่อนเรียกว่าเป็นภาษี e-Business ก่อนที่จะขึ้นเป็นภาษีตัวนี้ สืบเนื่องมาจากคนไทยใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นการจ่ายบริการฟังเพลง บริการสตรีมมิงต่าง ๆ เช่น Nexflix Spotify และบริการอื่น ๆ หลายคนอาจไม่สังเกตว่าตนเองจ่ายค่าบริการเหล่านี้ใน 1 ปีเท่าไหร่ ซึ่งบริการเหล่านี้มีคนไทยเกินครึ่งประเทศที่จ่ายออกไปเป็นประจำอยู่แล้วในทุก ๆ เดือน ซึ่งมูลค่ารวมกันแล้วราว ๆ หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

โดยสรรพากรได้คาดการณ์ตัวเลขหลังจากออก พ.ร.บ. e-Service นี้ว่าจะมีรายได้เพิ่มมากถึง 3,000 ล้านบาท ซึ่ง 3,000 ล้านบาทเป็นการเก็บ Vat 7% จากผู้ให้บริการต่างประเทศ พวกบริการต่าง ๆ ที่ไม่มีบริษัทในประเทศไทย ซึ่งในตอนนี้บริษัทที่ให้บริการเหล่านั้นต้องมาจดทะเบียนที่ไทย สมมติบริษัทเหล่านั้นเก็บเงินค่าบริการคุณในราคา 100 บาท บริษัทเหล่านั้นต้องหัก 7 บาทเพื่อจ่ายภาษีเข้าประเทศ ซึ่งคนส่วนใหญ่เขากังวลว่าจะไม่หัก 7 บาทจาก 100 แต่จะให้เสียเพิ่ม 7 บาทจากปกติที่คุณต้องจ่าย 100 กลายเป็นว่าต้องจ่าย 107 บาทแทน ซึ่งต้องบอกได้เลยว่าทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมานั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้หมด

การที่มี พ.ร.บ. e-Service จะเกิดความแฟร์

เนื่องจากผู้ประกอบการในไทยทุกคนก็น่าจะรู้ดีอยู่แล้วว่าต้องเสียภาษีให้กับประเทศไปเท่าไหร่ แต่บริการเหล่านี้ไม่ต้องเสียภาษีอะไรเลย ซึ่งมันไม่แฟร์กับผู้ประกอบในไทยที่เขาเสียภาษี ซึ่งคนไทยใช้จ่ายบริการตรงนี้ราว ๆ 40,000 กว่าล้าน ทำให้รัฐเริ่มเก็บข้อมูลและเห็นบางอย่างกับบริการเหล่านี้

หลายคนกังวลว่าเราจะจ่ายบริการเหล่านี้แพงขึ้นจากเดิมหรือไม่ ?

ในตรงนี้อาจจะมีบางส่วนที่เราต้องเสียมากขึ้นกว่าเดิม และก็อาจจะไม่ต้องเสียเพิ่มขึ้นในบางบริการก็เป็นได้ แต่อยากให้มองถึงการที่เราสามารถเก็บภาษีจากผู้ให้บริการต่างประเทศเพื่อนำเงินในส่วนนี้มาพัฒนาประเทศเรากันต่อไป

ฉะนั้นอีกประมาณ 6 เดือนจึงจะมีผลบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ก็ต้องมาดูว่าภายใน 6 เดือนนี้รัฐบาลจะสามารถเชื้อเชิญบริษัทเหล่านั้นที่จะต้องมาจดทะเบียนให้ถูกต้องได้มากน้อยแค่ไหน

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส