#หนุ่ยทอล์กหนุ่ยโทร วันนี้ พูดคุยกับ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ในประเด็น #ค่าโดยสารรถไฟฟ้า หลังหลายคนบ่นว่าแพงเกินไปและไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพ

จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล่าสุดของผลการเจรจาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานครกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS เจรจาเสร็จสิ้นกับการปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสารใหม่

ข้อดีคือค่าแรกเข้าครั้งเดียวจากเดิม 16 บาท จากระยะแรกตอนนี้ค่าแรกเข้าปรับเป็น 15 บาทเก็บสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสายโดยจะมีการปรับราคาค่าโดยสารขึ้นอีกทุก ๆ 2 ปีตามดัชนีผู้บริโภค ดัชนีผู้บริโภคหมายถึงค่าครองชีพ แรงงานขั้นต่ำ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความเห็นกับโครงสร้างราคาใหม่ว่า 16 บาทลดเหลือ 15 บาทตรงนี้เป็นเรื่องดราม่านิดหน่อย เป็นเพียงตัวเลขน้ำจิ้มให้ดูเพียงเล็กน้อย หรือว่า 158 บาท เหลือ 65 บาท จริง ๆ ไม่เคยเห็น 158 บาทอะไรพวกนี้เลยยังไม่เกิดขึ้นจริง แสดงว่าเป็นการพูดเล่นมากกว่า ลองคิดง่าย ๆ สมมติเราเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ จะกลับบ้านผม ในกรณีนั้นถ้ากลับกับ 2 คนนั่งรถแท็กซี่คุ้มกว่าเยอะ แต่อันนี้แต่แล้วต่อเล่า เสียเวลารอรถนานอีก จริง ๆ แล้วค่าโดยสารถือว่าแพงนะครับ

ค่าครองชีพต่ำ แต่เราใช้เทคโนโลลีราคาแพง เราควรจะยกระดับค่าครองชีพหรือไม่?

ยกตัวอย่างประเทศเพื่อเราอย่างฟิลิปินส์ ค่าโดยสารตกเป็นเงินไทยประมาณ 10-20 บาท หรือมาเลเซียราคาประมาณ 6-53 บาทซึ่งค่าครองชีพของเขาเกือบ ๆ เท่าของเราฉะนั้นเมื่อเทียบกันแล้วก็ประมาณ 30 กว่าบาทเท่านั้นเอง ตลอดสายของเขาถูกกว่าของเราเยอะ หรืออย่างประเทศสิงคโปร์ประมาณ 21-46 บาท แต่ค่าครองชีพเขามากกว่าเราถึง 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วถือว่าถูกมาก ๆ

ในไทยมีบัตรโดยสารที่ทำมาเพื่อหาทางออกให้กับคนที่เดินทางประจำทุกวันให้ได้จ่ายได้ถูกลง โดย 15 เที่ยวจะอยู่ที่ 465 บาทเฉลี่ยแล้วตกเที่ยวละ 31 บาท หรือถ้าเดินทาง เมื่อเทียบกับต่อเดือนแล้วมันอาจจะยังไม่คุ้มเท่าที่ควร จึงมองว่าอาจจะไม่มีแรงจูงใจมากพอ