ในคลิปนี้ แพนอยู่กับเครื่องกรองน้ำระบบ RO จาก RABBIT ICE ในรุ่น S7-400G ก็ต้องบอกว่ารุ่นนี้แพนก็ติดตั้งและใช้งานจริงอยู่ ในร้านกาแฟส่วนตัวครับ

แต่รุ่นนี้จะดียังไง กรองน้ำได้ดีแค่ไหน เปลี่ยนไส้กรองยากหรือไม่ และคุ้มค่าหรือเปล่า เดี๋ยววันนี้แพนมา #beartai ให้ดูครับ

อุปกรณ์

มาเริ่มดูกันในกล่องก่อนครับว่า เขาให้อะไรมาบ้าง

เครื่องกรองน้ำ
ก๊อกน้ำสแตนเลส เกรด 304 หรือ Food Grade ที่ปลอดภัยกับการบริโภคครับ
ชุดท่อน้ำแบบอ่อน และอุปกรณ์ติดตั้ง
อะแดปเตอร์ไฟ DC
คู่มือ 2 เล่ม (ไทย / อังกฤษ)

อุปกรณ์ที่ให้มาก็ถือค่อนข้างครบพอกับการใช้ติดตั้งใต้ซิงก์น้ำ ส่วนคู่มือก็อธิบายรูปแบบการติดตั้งที่เห็นแล้วเข้าใจมาให้เลยครับ

ถ้าใครกังวลว่าอุปกรณ์ที่เขาให้จะไม่เพียงพอต่อการติดตั้ง อันนี้สามารถแจ้งทาง Rabbit Ice ให้จัดหาเพิ่มให้ได้ครับ เช่นพวกข้อต่อสำหรับเข้าหัวท่อประปาเดิมต่าง ๆ

ดีไซน์

เครื่องกรองน้ำทั่วไปที่เราคุ้นตากันคงเป็นแบบหลาย ๆ หลอดต่อกัน แบบนี้ แต่ RABBIT ICE รุ่น S7-400G ก็จะดูแตกต่างออกไป โดยตัวเครื่องจะเป็นแบบ Tankless หรือไม่มีแท้งในตัว สำหรับตั้งใช้งานกับพื้นใต้ซิงก์น้ำครับ หรือถ้าจะเอาไปติดผนังก็มีช่องไว้แขวนครับ ขนาดก็ค่อนข้างกะทัดรัดเลย สัดส่วนอยู่ที่ 36.8 * 13.6 ซม. ครับ น้ำหนักก็ไม่มาก เพราะบอดีก็ทำจากพลาสติกทั้งหมดครับ

ไส้กรอง

ถัดมาดูที่ด้านหน้ากันครับ ตรงนี้จะมีช่องใส่ไส้กรอง 2 ชิ้นครับ โดยจะเป็นระบบคอมโพสิต 5 ขั้นตอน ครับ

ซึ่งชิ้นแรกคือไส้กรอง CF หรือ Combi Filter ที่กรอง 4 ขั้นตอน และ M หรือ Membrane ในตัวเดียวครับ การถอดก็ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาได้เลยครับ ถอดเปลี่ยนง่าย แพนว่าเราซื้อไส้กรองมาเปลี่ยนเองได้ ไม่ต้องเรียกช่างให้เสียเวลาเลยครับ

  1. โดยในชั้นแรกคือ ใยสังเคราะห์ PP หรือ Polypropylene เอาไว้กรองหยาบ
  2. ชั้นถัดมาเป็นกรอง PP แบบละเอียด
  3. ถัดมาจะเป็นชั้นกรอง Block Carbon แบบแท่ง เอาไว้ดักกลิ่นต่าง ๆ และ คลอรีน ที่ติดมากับน้ำ
  4. ส่วนชั้นสุดท้ายคือ Carbon แบบผง เอาไว้ดักกลิ่น และ คลอรีนอีก 1 ชั้น ครับ

อายุไส้กรอง CF

สำหรับอายุของไส้กรอง CF ที่ทาง RABBIT ICE แนะนำให้ใช้คือไม่เกิน 3-6 เดือน หรือควรเปลี่ยนทุกครึ่งปีครับ

ไส้กรอง RO

และด้านล่างก็คือไส้กรอง RO Membrane อันนี้จะเป็นส่วนสุดท้ายสำหรับการกรองน้ำให้บริสุทธิ์ที่สุด หลักการทำงานก็คือ จะใช้แรงดัน ดันน้ำผ่านเยื่อ Membrane ที่มีความละเอียด 0.0001 ไมครอน

ถามว่า 0.0001 ไมครอน นั้นเล็กแค่ไหน ก็เล็กกว่าเส้นผม 500,000 เท่า ทำให้สามารถกรองสิ่งต่าง ๆ ที่ปะปนมากับน้ำได้ครับ เช่น เชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย รวมถึงโลหะหนัก, คลอรีน, สารฆ่าแมลง, สารอินทรีย์ระเหย และความกระด้างและความเค็มของน้ำได้ครับ

อายุไส้กรอง RO

ส่วนอายุการใช้งานไส้กรอง RO จะอยู่ที่ไม่เกิน 12-24 เดือน หรือ 1-2 ปีเปลี่ยนหนึ่งครั้ง แต่ทั้งนี้อาจจะเร็วกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในบ้านเราด้วยครับ

แผงไฟ และ หลังเครื่อง

สำหรับด้านล่างก็จะเป็น แผงไฟการทำงาน ว่าทำงานได้ปกติไหม หรือแจ้งว่าถึงเวลาเปลี่ยนไส้กรองหรือยัง อย่างไฟ CBPA จะไว้บอกอายุของไส้กรอง CF ส่วนไฟ RO ก็เช่นกันครับ จะขึ้นสีแดงต่อเมื่อต้องเปลี่ยนไส้กรอง โดยไฟ Working จะไว้บอกการทำงานของเครื่อง จะขึ้นสีแดงต่อเมื่อเครื่องมีปัญหา

ส่วนไฟด้านล่างกก็คือไฟ Wi-Fi ที่เห็นเป็นสีแดงเพราะไม่มี Wi-Fi แต่ก็มีอีกรุ่นหนึงที่มีเข้ามา สามารถเช็กสถานะของเครื่องได้ผ่านมือถือ และสุดท้ายกก็คือปุ่มเปิด-ปิด

สำหรับด้านหลังเครื่องก็จะเป็น ช่อง DC Power ไว้ต่อไฟเข้าเครื่อง, ช่องน้ำเข้า ลากสายต่อจากหัวก๊อกน้ำประปาเข้าช่องนี้ได้เลยครับ ไม่ต้องไปต่อปั้มน้ำเพิ่ม ถัดมาเป็นช่องน้ำกรอง RO ที่เอาไว้ต่อออกไปใช้ครับ, และสุดท้ายช่องน้ำทิ้งครับ

การติดตั้ง

สำหรับการติดตั้ง RABBIT ICE ในรุ่น S7-400G ก็ไม่ยากครับ

อย่างแรกก็ต้องตัดท่อน้ำมา 3 เส้นครับ ต่อหัวก๊อก และข้อต่อให้เรียบร้อย จากนั้นก็เชื่อมเข้ากับหลังเครื่องได้เลยครับ จากนั้นก็เสียบไฟ และกดปุ่มเปิดเครื่อง ให้น้ำไหลผ่านระบบซัก 15 – 30 นาที ก็จะเริ่มใช้กรองน้ำได้แล้วครับ

กำลังผลิต

ตามสเปกแล้ว RABBIT ICE ในรุ่น S7-400G มีปริมาณการกรองน้ำ RO ได้ 1 ลิตร ต่อ 1 นาทีครับ ถือว่ากำลังดี ซึ่งถ้าตีเป็นกำลังผลิตต่อวันก็จะได้อยู่ที่ 400 Gallons หรือประมาณ 1818 ลิตรครับ ถือว่าเยอะพอที่จะใช้ในร้านกาแฟของแพนเลยครับ

วัดค่า TDS

ทีนี้เราจะมาลองดูครับว่า RABBIT ICE ในรุ่น S7-400G ที่ใช้ระบบ RO จะกรองน้ำได้ดีแค่ไหน ด้วยปากกาวัดค่า TDS (Total dissolved solids) ที่สามารถเช็กว่าในน้ำมีของแข็งที่เป็นสารแขวนลอยหรือสารละลายเจือปนอยู่มากน้อยเท่าไร

ส่วนค่า TDS ไม่ได้วัดว่าน้ำสะอาดหรือไม่สะอาดนะครับ แต่เอาไว้เช็กความบริสุทธิ์ของน้ำครับ ยิ่งใกล้ 0 เท่าไร ก็ยิ่งทำให้น้ำนั้น ไร้สี ไร้รส ไร้กลิ่น มากเท่านั้นครับ

น้ำประปามีค่า TDS อยู่ที่ 190 ppm (Part Per Million) หรือ 190 ส่วนในล้าน ส่วนน้ำ RO อยู่ที่ 5 ppm หรือ 5 ส่วนในล้าน

อันนี้แพนก็ต้องบอกก่อนนะครับว่าน้ำประปาที่เข้าร้านมามีการกรองหยาบมาระดับนึงแล้วเพราะแพนไม่ต้องการให้เกิดคราบตะกรันในบริเวณก๊อกน้ำต่าง ๆ และเป็นการยืดอายุของเครื่องกรองน้ำ RO ด้วยครับ

สำหรับแพนการที่ค่าน้ำมี TDS น้อยอันนี้เป็นเรื่องดีสำหรับเครื่องชงกาแฟครับ เพราะรสชาติของกาแฟที่ชงก็จะค่อนข้างคงที่

มาตรฐาน

คุยต่อกันถึงเรื่องมาตรฐานกันว่า RABBIT ICE ในรุ่น S7-400G ผ่านการรับรองที่ไหนบ้าง ที่แพนหาข้อมูลมาก็เจอว่า รุ่นนี้ผ่านทั้ง อย. FDA ของอเมริกา, CE และ RoH (Restriction of Hazardous Substances) ของสหภาพยุโรป ด้วยนะครับ ก็ถือว่าน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งเลยครับ

ความคุ้มค่า

ทีนี้เราจะมาดูถึงความคุ้มค่ากันบ้าง โดยเราจะเอา ราคาไส้กรองมาหารกับอายุการใช้งาน แล้วก็จะได้ราคาเฉลี่ยต่อวันครับ โดย ไส้กรอง CF มีราคา 1000 บาท กับอายุการใช้งาน 6 เดือน หรือ 180 วัน พอหารแล้วก็จะได้ราคาอยู่ที่ 5.5 บาทต่อวัน

ส่วนไส้กรอง RO อันนี้มีราคาอยู่ที่ 3500 บาท โดยอายุการใช้งานอยู่ที่ 12 เดือน หรือ 365 วัน พอหารกันแล้วก็จะอยู่ที่ 9.5 บาทต่อวันครับ

และอัตราการใช้ไฟอันนี้ก็ไม่เยอะมากครับ ตามสเปกคือ 65W ถ้าเอามาเฉลี่ยต่อวัน ก็จะใช้ไฟอยู่ที่ประมาณ 6 บาท แต่วันนึงเราไม่ได้ใช้ตลอดเวลาประมาณว่าวันนึงคงเหลือแค่ 1 – 3 บาท ครับ

ข้อสังเกต

มาถึงข้อสังเกต เรื่องแรกถ้าน้้ำประปามีปัญหาแล้วน้ำไม่เข้า เครื่องจพปิดตัวเองเพื่อไม่ให้มอเตอร์ไหม้นั่นเอง แต่ว่าถ้าน้ำกลับมาเป็นปกติเข้ามาในเครื่องแล้ว เครื่องกรองจะไม่เปิดอัติโนมัติ ก็จะต้องทำการกดเปิดขึ้นมา

ต่อไปเป็นเรื่องของการติดตั้งครับ ถ้าเราสั่งซื้อจากเว็บไซต์ หรือ Line ของทาง Rabbit ice โดยตรง ทางเขาจะติดตั้งให้ฟรี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอยู่ในกรุงเทพนะครับ

แต่ถ้าสั่งออนไลน์ช่องทางอื่นก็จะมีค่าบริการติดตั้งถ้าอยากให้ทาง Rabbit Ice เข้าไปติดตั้งให้ ก็จะมีค่าใช้จ่าย 500-800 บาท เฉพาะใน กทม. และ ปริมณฑล

ราคา

รีวิวที่ดีต้องมีราคา สำหรับเครื่องกรองน้ำ RABBIT ICE ในรุ่น S7-400G มีโปรโมชันอยู่ใน Shopee มีราคาขายอยู่ที่ 5,990 บาท ครับ โดยประกันจะให้มาอยู่ที่ 1 ปี

สั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้ (ติดตั้งเอง) https://shp.ee/2zuwm6p

หรือที่เว็บไซต์หรือไลน์ (ติดตั้งฟรี เฉพาะบางพื้นที่)

www.rabbitice-thailand.com

https://lin.ee/rVtJKjb

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส