ต้องบอกว่า ปี 2564 เป็นปีที่แสนสาหัสสำหรับคนทำธุรกิจโรงแรมครับ เพราะ COVID-19 ระบาดหนักตั้งแต่ต้นปีลากยาวถึงท้ายปีเลย แถมนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ ททท. คิดว่าเปิดประเทศแล้ว จะบินมาเที่ยวเยอะขึ้น ประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน แต่ก็ไม่ตรงตามเป้า น้อยจนน่าใจหาย เหลือแค่ 7 แสนคนเท่านั้นเอง

หลายโรงแรมก็เลยต้องกลับไปปิดชั่วคราว หรือปิดถาวรไปเลยก็มี ผมเห็นทีไรสะเทือนใจทุกทีครับ ส่วนที่ยังรอดอยู่ก็ต้องปรับตัว ประคับประครองกันไปครับ จากที่ผมได้พูดคุยกับเจ้าของโรงแรมหลายคน ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รายได้ที่จุนเจือให้ธุรกิจยังอยู่ได้ ก็คือการไปเที่ยวของเรานี่แหละ

ซึ่งผมเองก็พยายามสนับสนุนเต็มที่ ทั้งไปเที่ยวเอง ช่วยโปรโมต รวมถึงให้รางวัลน้อง ๆ ในบริษัทเป็นทริปท่องเที่ยวครับ แต่ผมก็ไม่สามารถไปช่วยได้ทุกคนจริงๆ ครับ ในคลิปนี้ก็เลยอยากจะมาเป็นกระบอกเสียง ช่วย #beartai สิ่งที่ผมและกองบรรณาธิการคิดว่าน่าจะดีกับผู้ประกอบการโรงแรมในช่วงนี้ครับ นั่นก็คือ Robinhood Travel แพลตฟอร์มจองโรงแรมสัญชาติไทย ช่วยโรงแรมทั้งเล็กและใหญ่ ไม่เก็บคอมมิชชัน

ว่าด้วยเรื่องการปรับตัว ผมเชื่อนะครับว่าทุกโรงแรมเนี่ย คงมีวิธีปรับตัวกันอยู่แล้ว จากประสบการณ์ที่ต้องเจอมากว่า 2 ปี เช่น ทำอาหารขาย ลดราคาห้องพัก หรือจัดโปรโมชันแพ็กเกจเที่ยวพร้อมกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการสมัครใช้ OTA (Online Travel Agency) แพลตฟอร์มจองโรงแรมออนไลน์ กับ Agoda / booking.com เพื่อหาลูกค้ามาพักมากขึ้น

แน่นอนว่าข้อดีคือมีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาพักเยอะขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับกำไรที่น้อยลง เนื่องจากต้องจ่ายค่าคอมมิชชัน หรือค่า GP (Gross Profit) ราว ๆ 15-30% ให้กับแพลตฟอร์ม ซึ่งในช่วงที่ต้องรัดเข็มขัดแบบนี้ ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเยอะนะครับ

โดยการจะลด % ให้น้อยลงได้ ก็ต้อง Deal กับแพลตฟอร์มครับ โดยโรงแรมใหญ่ ๆ ก็จะมีอำนาจต่อรอง % ได้เยอะ ส่วนโรงแรมขนาดกลางและเล็กก็จะยากหน่อย

และถ้าไม่อยากเสียค่าคอมมิชชันให้กับแพลตฟอร์ม ก็ต้องมุ่งหาลูกค้าด้วยตัวเองครับ เช่น หาทางเพจเฟสบุ๊ก เว็บไซต์ รวมไปถึง Robinhood Travel ด้วยครับ เพราะเขาไม่เก็บค่าคอมมิชชัน ทำให้ผู้ประกอบการรับเงินแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย และที่สำคัญเงินเข้าบัญชีทันที ไวสุด 1 ชั่วโมง และช้าสุดไม่เกิน 1 วัน หลังที่ลูกค้า Check Out ทำให้เรามีเงินทุนไปหมุนต่อครับ ไม่ต้องรอรับเป็นรอบๆ เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ครับ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า เจ้าอื่นเก็บค่าคอม ทำไม Robinhood Travel ไม่เก็บ แล้วจะอยู่ได้ยังไง กองบรรณาธิการแบไต๋ ก็ไปศึกษาเบื้องลึกเบื้องหลังมาแล้วครับ ทาง SCB มอง Robinhood Travel เป็นโครงการ CSR เหมือนกับที่เคยทำ Food Delivery หรือก็คือ คนตัวโตช่วยผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบ ให้รอดพ้นจากวิกฤต ด้วยการสร้างเครื่องมือหารายได้ให้มากขึ้น เลยไม่ได้คิดจะหากำไรจากแพลตฟอร์มนี้เลยครับ

โดยในช่วงแรกนี้ทาง Robinhood Travel จะเปิดให้โรงแรมที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อเตรียมตัวก่อนครับ หลังจากนั้นช่วงเดือนมีนาคม ถึงจะมีการเปิดให้ลูกค้าเข้าไปใช้งาน และจองโรงแรมได้จริง ๆ แนะนำว่าสมัครไว้ก่อนก็ไม่เสียหาย เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย

สำหรับโรงแรมไหนอยากเตรียมตัวก่อน ก็สามารถสมัครเข้าร่วม Robinhood Travel ที่เว็บไซต์ otaregister.robinhood.in.th หรือ QR Code ที่ผมขึ้นไว้ให้ หรือจะเข้าไปดูรายละเอียดก่อนที่ www.robinhood.in.th/travel-partner/ ได้เลย

โดยขั้นตอนการสมัครก็ไม่ยาก มีอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ยืนยันตัวตนผ่านอีเมล์ จากนั้นก็ยื่นเอกสารประกอบการสมัคร แล้วกรอกรายละเอียดข้อมูลโรงแรม สุดท้ายก็รออนุมัติครับ

แต่ถ้าใครสงสัยขั้นตอนไหน ก็สามารถโทรไปถามได้ที่เบอร์ 02-777-7564

สำหรับส่วนที่ต้องรู้ก่อนคือ การสมัครจะต้องใช้บัญชีไทยพาณิชย์ที่มีชื่อบัญชีตรงกับชื่อผู้ขอใช้บริการ เพื่อการเช็กความถูกต้อง ส่วนบัญชีที่ใช้รับเงินจริง ๆ จะเป็นของธนาคารใดก็ได้ครับ อันนี้เขาใจกว้าง

ส่วนโรงแรมไหนที่มีระบบจัดการห้องพัก Channel Manager อยู่แล้ว ก็สามารถเชื่อมต่อกับ Robinhood Travel ได้นะครับ โดยที่จะรองรับก็มี D-Edge (ดีเอจ), Hoteliers.Guru (โฮเทลิเออส์ กูรู), RateGain(เรทเกน) / Sabre(เซเบอร์), SiteMinder(ไซด์มายเดอร์), Staah(สต้าห์) และ Travel Click (ทราเวลคลิก) ถ้าใครใช้นอกเหนือจากนี้ก็ต้องรอทาง Robinhood อัปเดตเพิ่มในอนาคตครับ

บอกตามตรงว่า การมาของ Robinhood Travel ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะถ้ามีโรงแรมมาสมัครมาก ๆ และมีคนมาใช้บริการเยอะ ๆ ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์มครับ ซึ่งอาจทำให้เขาลด % ค่าคอมมิชชันลงครับ

แน่นอนว่านี่จะมีประโยชน์กับโรงแรมและลูกค้าที่เข้าพัก เพราะโรงแรมสามารถเอา % ที่เคยต้องจ่าย มาทำเป็นโปรโมชันลดราคาให้ลูกค้าได้ แบบนี้ วิน-วินกันทั้งคู่

แต่ทั้งนี้ในทุกคลิปของ #beartai ยังไงเราต้องฝากข้อสังเกตไว้ให้กับคุณผู้ชมเสมอ จากการพูดคุยกับทางผู้พัฒนา Robinhood Travel เราก็ได้พบว่า ในช่วงแรกหลังจากเปิดตัว จะยังไม่รองรับโครงการรัฐอย่าง เราเที่ยวด้วยกัน ครับ แต่ทางผู้พัฒนาก็ยืนยันว่าจะทำพัฒนาให้เร็วที่สุด เพื่อรองรับกับโครงการรัฐต่าง ๆ ให้ได้ภายในปีนี้ครับ
สุดท้ายผมอยากจะฝากถึงคนทำธุรกิจโรงแรมว่าผมเป็นกำลังใจให้นะครับ ในฐานะที่ผมเป็นสื่อ ผมจะพยายามนำเสนอ หรือค้นหาช่องทางดี ๆ เครื่องมือดี ๆ ที่จะมาช่วยให้พวกคุณผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกันด้วยกันนะครับ