แบไต๋เราชวนคุยเรื่องการลงทุนมาตลอดนะครับ เรารู้จักการลงทุนมาแล้วมากมายหลายอย่าง แต่หนึ่งในการลงทุนที่เรายังไม่เคยพูดถึงเลย และได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ แต่กลับไม่นิยมในไทยอย่าง ETF เนี่ย มันคืออะไร วันนี้ เรามาดูกันว่า ETF มันดีกว่าการลงทุนอื่น ๆ อย่างไร ดีกว่ากองทุนรวมหรือเปล่า คนที่ไม่เก่งเรื่องการลงทุนจะสามารถทำได้ไหม ผมแบไต๋ให้ฟังครับ

ETF หรือ Exchange Traded Fund คือ กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) ที่มีนโยบายการลงทุนตามดัชนีต่างๆ เช่น ตลาดหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ตราสารหนี้ เป็นต้น โดยต้องการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีมากที่สุด

ความพิเศษของ ETF คือ เป็นกองทุนรวมดัชนีที่สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนหุ้น โดยได้ราคาซื้อขายแบบ Real time ด้วย

ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ อย่างนี้ว่า ETF มันคือการลงทุนที่อยู่ตรงกลางระหว่างหุ้น กับ กองทุนรวม ที่รวมเอาข้อดีของทั้ง 2 อย่างเอาไว้ด้วยกันครับ กล่าวคือ ETF สามารถกระจายการลงทุนไปได้ในหลาย ๆ หุ้นแบบกองทุนรวม เพื่อกระจายความเสี่ยง แถมยังสามารถซื้อ-ขายได้แบบ Real time เหมือนการเทรดหุ้นอีกต่างหาก

แถม ETF ยังมีค่าธรรมเนียมการลงทุนที่ต่ำ เมื่อเทียบกับกองทุนรวมส่วนใหญ่ที่มีนโยบายลงทุนแบบ Active เนื่องจาก ETF มีนโยบายลงทุนแบบ Passive อิงไปตามดัชนีที่อ้างอิง ไม่ได้เน้นการเอาชนะตลาด จึงไม่ต้องเสียค่าบริหารพอร์ตกองทุนแพง ๆ ครับ

ทีนี้ ในยุคปัจจุบัน การจะลงทุนใน ETF ไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากอีกต่อไปแล้วครับ คลิปนี้ ผมจะแนะนำคุณผู้ชมให้รู้จักกับตัวช่วยการลงทุนใน ETF อย่าง StashAway แพลตฟอร์มบริหารการลงทุนสัญชาติสิงคโปร์ตัวนี้ครับ

แต่ก่อนอื่นใดเลยเนี่ย การจะลงทุนอะไรกับใคร เราก็ควรจะทำความรู้จักกับเขาเหล่านั้นก่อนใช่ไหมล่ะครับ เดี๋ยวผมจะพาไปทำความรู้จักพร้อมกัน มาดูซิว่ามีอะไรให้ดูบ้าง

ทางเว็บไซต์ของ StashAway ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในประเทศไทยเนี่ย เขาได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงาน ก.ล.ต. แถมยังมีเซิร์ฟเวอร์ที่มีกลไกการป้องกันหลายชั้นเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้เราด้วย มีการใช้ 2FA มาซ้อนอีกชั้น และทุกครั้งก็มีการแจ้งเตือนการใช้งานผ่านทางอีเมล เรียกว่าปลอดภัยมากเลยทีเดียวครับ

ลงมาอีกนิดนึงจะมีบอกมาตรการในการดูแลทรัพย์สินของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยครับ ซึ่งมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทรัพย์สินของนักลงทุนจะอยู่ภายใต้การดูแลบัญชีผู้รับฝากทรัพย์สินโดยธนาคารกสิกรไทยตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด โดยที่บัญชีผู้รับฝากทรัพย์สินดังกล่าวจะแยกจากบัญชีของ StashAway อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น คุณจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินของคุณ และสามารถขายสินทรัพย์และถอนเงินลงทุนคืนจากผู้รับฝากทรัพย์สินได้เสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ StashAway รู้อย่างงี้ก็อุ่นใจไปได้เยอะ

มีการระดมทุนมาแล้ว 6 รอบ โดยมีเงินทุนรวมถึง 61.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,918 ล้านบาท) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ ดูไบ ฮ่องกง และมีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยนะ (ตึก ​​T-One Building ชั้น 17)

และนี่ครับ เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ก็เพิ่งได้รับการยอมรับจาก World Economic forum ในฐานะ Technology Pioneer และรางวัล LinkedIn top Startup ในปี 2020 ด้วยครับ

ทำความรู้จักกับ StashAway (สะ-แทช-อะ-เวย์) กันมาสักพักแล้ว เอาเป็นว่านี่คือแพลตฟอร์มบริหารการลงทุน (Digital Wealth Management) สัญชาติสิงคโปร์ ซึ่งมาในรูปแบบกองทุนส่วนบุคคลครับ

สิ่งที่ผมชอบในแอป StashAway เนี่ยคือเขาจะมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดพอร์ต และจัดสรรเงินของนักลงทุนให้กระจายไปยัง ETF แต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ๆ ครับ เอาง่าย ๆ คือมันเป็นระบบอัตโนมัติที่เราแค่ใส่เงินเข้าไป จากนั้นก็เลือกแผนการลงทุน แล้วระบบจะจัดการต่อให้เองเลยครับ (ที่สำคัญคือตัวแอปรองรับภาษาไทยด้วย)

StashAway จะมีให้เราเลือก 2 แผนการลงทุนครับ

General Investing

ซึ่งถ้าคุณยังไม่มีเป้าหมายในการลงทุนที่ชัดเจน เพียงแค่ต้องการจะลงทุนให้เงินงอกเงยในระดับความเสี่ยงที่คุณต้องการ ผมแนะนำให้เลือกลงทุนแบบ General Investing ครับ

แต่ถ้าคุณมีเป้าหมายในการลงทุนอย่างแน่ชัดแล้วว่าจะลงทุนไปทำอะไร ผมแนะนำให้เลือกพอร์ตแบบ Goal-based Investing ครับ ซึ่งตัวแอปก็จะมีให้เราเลือกทั้งหมด 8 แผนการลงทุนครับ เช่น ลงทุนเพื่อเกษียณ, ซื้อบ้าน, ซื้อรถ, ค่าเทอมลูก หรือ เก็บเงินแต่งงาน เป็นต้น

เพียงแค่ระบุระยะเวลาและจำนวนเงินที่ต้องการ แล้วตัวแอปจะออกแบบพอร์ตและสร้างแผนการลงทุนออกมาให้เองเลย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป StashAway จะคอยแนะนำระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับระยะเวลาของเป้าหมาย เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายได้ในเวลาที่กำหนดครับ

Thematic Portfolio

นอกจากนี้ StashAway เพิ่งจะมีการเปิดตัวแผนการลงทุนที่เรียกว่า Thematic Portfolio ด้วย ซึ่งเป็นการลงทุนในธีมที่เราเชื่อมั่นว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว และเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวครับ ยกตัวอย่างเช่น ธีมเทคโนโลยี, เกม, ฟินเทค, เฮลธ์แคร์, สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สิ่งพิเศษอีกอย่างที่มีเฉพาะ StashAway คือจะมีการกำหนดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนด้วย StashAway Risk Index (SRI) ด้วยนะครับ โดย SRI มันคือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งตีค่าออกมาเป็นตัวเลข เพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนของพอร์ต

ยกตัวอย่างเช่นแผนเกษียณ 10 ล้านตัวนี้ที่มี SRI อยู่ที่ 22% ซึ่งอธิบายได้ว่าพอร์ตนี้จะมีโอกาสเพียงแค่ 1% ที่จะขาดทุนมากกว่า 22% ของมูลค่าในหนึ่งปี หรือมั่นใจได้ว่า 99% ของมูลค่าพอร์ตจะไม่ลดต่ำกว่า 78% ในหนึ่งปีนั่นเองครับ

ซึ่ง StashAway จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อคอยบริหารพอร์ตให้มีค่า SRI ตรงตามที่กำหนดอยู่เสมอ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่กำหนดเองได้มากถึง 12 ระดับ

ERAA

ซึ่งเทคโนโลยีที่ StashAway สร้างขึ้นมา เป็นสิ่งที่ผมว้าวและอุ่นใจในการลงทุนมากเลยครับ มันคือเทคโนโลยีที่เรียกว่าระบบ ERAA (อี-ร่า) (Economic Regime-based Asset Allocation) ซึ่ง ERAA จะมาช่วยประเมินและประมวลผลจาก Data ย้อนหลังจำนวนมหาศาล แทนการตัดสินใจของมนุษย์ และช่วยออกแบบสัดส่วนของพอร์ตที่ลงตัวที่สุด และจะปรับพอร์ตอย่างเหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ

ทาง StashAway ให้ข้อมูลว่า ERAA ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมงานที่มีประสบการณ์บริหารการลงทุนให้กับองค์กรการเงินระดับโลกมากว่า 50 ปี และผ่าน Stress Test กว่า 30,000 ชม. ดังนั้น เชื่อใจเจ้าอีร่าได้แน่นอนครับ

เดี๋ยวจะหาว่ามีแต่หุ่นยนต์ ทาง StashAway ก็มีคนจริง ๆ คอยดูแลเราเหมือนกันนะครับ ให้เราอุ่นใจและสามารถขอคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดได้

โดย ERAA จะมา Re-Optimise เพื่อปรับพอร์ตให้เหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ เพื่อรักษาระดับความเสี่ยงให้ตรงตามที่กำหนดไว้ และ Re-balance เพื่อปรับสมดุลของพอร์ตในทุกๆ วัน

Re-Optimisation คือกลไกการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วง ส่วน Rebalancing จะเป็นการปรับสมดุลของพอร์ตในสินทรัพย์แต่ละประเภท ให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนการลงทุนที่กำหนดไว้

พูดง่ายๆคือ ERAA เป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยในการลงทุนและเลือกสิ่งที่ดีที่สุด (​​ตามภาวะเศรษฐกิจ) ให้กับผู้ใช้งาน คนที่ลงทุนไม่เก่งก็สามารถลงทุนได้ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง เพราะบางทีในการลงทุนอะไรก็ตาม เรามักเกิดความรู้สึกโลภ หรือมักตื่นตระหนกกับข่าวสารการลงทุนต่าง ๆ ทำให้ไม่มั่นคงในแนวทางการลงทุนที่ตั้งใจไว้ ซึ่งเทคโนโลยีจะมาจัดการตรงนี้ให้ได้ครับ

เริ่มลงทุนกับ StashAway เอกสารที่ต้องใช้ได้แก่ หนังสือ เดินทางและบัตรประชาชน ที่สำคัญคือมือถือของคุณจะต้องมีฟีเจอร์ NFC ด้วยนะครับ เพื่อเอาไว้สแกนหนังสือ เดินทาง พอสแกนเอกสารและสแกนใบหน้าเสร็จ ก็รอยืนยันตัวตนประมาณ 3-5 วันทําการ เป็นอันเสร็จสิ้น

ส่วนเรื่องของค่าธรรมเนียม นับเป็นอีกหนึ่งความดีงามของ StashAway เลยล่ะครับ เพราะเขาคิดค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการแบบ All-inclusive ที่อัตรา 0.2-0.8% ต่อปี ซึ่งเป็นเพียงค่าธรรมเนียมเดียวที่เรียกเก็บ โดยจะคิดอัตราตามขั้นบันได ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุน ยิ่งลงทุนมาก ค่าธรรมเนียมจะยิ่งต่ำ

ส่วนค่ายิบย่อยอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อ-ขายหลักทรัพย์, ค่าธรรมเนียมการฝาก-ถอนเงินลงทุนและโอนเงินระหว่างประเทศ รวมถึงค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน จะไม่มีการเรียกเก็บอะไรใด ๆ อีกเลย

ข้อสังเกต

ซึ่งข้อสังเกตจุดใหญ่ของ StashAway อยู่ที่ขั้นตอนของการสมัครครับ เพราะจำเป็นต้องใช้พาสสปอร์ตในการสมัครด้วยครับ ซึ่งสำหรับใครที่ไม่มีพาสสปอร์ตคือหมดสิทธิ์ใช้งานไปเลย ดังนั้น ควรจะต้องมีพาสสปอร์ตก่อนเริ่มใช้งานนะครับ (แต่แอบได้ข่าวมาว่ากำลังเพิ่มช่องทางการยืนยันตัวตนอยู่)

StashAway นับเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือช่วยลงทุนสำหรับทั้งนักลงทุนมืออาชีพและมือใหม่หัดลงทุนครับ เพราะมีการใช้เทคโนโลยีสุดล้ำมาช่วยในการลงทุนมากมาย พร้อมเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน (ตามภาวะเศรฐกิจ) เรียกว่าไม่ต้องไปจ้างผู้จัดการกองทุนเลยล่ะครับ แถมยังมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำและโปร่งใสมากด้วย

สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามทีมงานดูแลลูกค้าได้ทาง facebook.com/StashAwayTH หรือ Line Official Account ที่ @stashaway ได้เลย

สุดท้ายนี้ คงต้องบอกว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส