“เป็นไอดอลเกาหลีต้องเจอกับอะไรบ้าง? มาถอดบทเรียนและตีแผ่ความทุกข์ที่คนมอบความสุขต้องเผชิญ กับวงการที่คนในอยากออก คนนอกอยากเข้าของจริง!”

คงไม่มีใครคาดคิดว่าวงการเพลง K-pop ที่แสนจะคึกคักสนุกสนานและเป็นสีสันให้กับวงการบันเทิงโลกมาเป็นระยะเวลายาวนาน แถมยังมีทีท่าว่าจะมีอัตราการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปีจนทำให้เราได้เห็นเหล่าบรรดาศิลปินไอดอลหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันก็แทบไม่น่าเชื่อว่าในทุก ๆ ปีนั้น เราจะต้องเจอกับเหตุการณ์อันน่าเศร้าของเหล่าศิลปินมากความสามารถ ที่ค่อย ๆ ปลิดปลิวดั่งใบไม้ที่ร่วงโรยก่อนเวลา และจากเราไปด้วย ‘ภาวะความเครียดและโรคซึมเศร้า’ ทีละคนอย่างน่าใจหายเช่นนี้

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน 'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

เช่นเดียวกันเหตุการณ์กับเมื่อต้นปี 2558 เด็กสาวผู้เป็นศิลปินฝึกหัดจากค่ายดัง DSP Entertainment อย่าง ‘โซจิน’ ต้องจบชีวิตตัวเองลงในวัยเพียง 23 ปี ด้วยการกระโดดตึกฆ่าตัวตายจากชั้น 10 ของอพาร์ตเมนต์ที่เธอพักอาศัย ซึ่งการเสียชีวิตของโซจินนั้นถือว่าเป็นข่าวช็อกแฟน ๆ K-pop อยุู่ไม่น้อย เพราะเธอเองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ Kara Project รายการที่กำลังเฟ้นหาสมาชิกคนต่อไปของวงเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดัง ‘KARA’ โดยภายหลังผลการชันสูตรนั้นออกมาว่า “โซจินป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นแรงขับสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมเช่นนี้” เหตุการณ์นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามมากมายในใจของคนทั่วไป ว่าเพราะอะไรเด็กสาวที่กำลังจะมีอนาคตที่ดี และกำลังจะไปได้ไกลในวงการนี้จึงเลือกจบชีวิตตัวเองลงแบบกะทันหัน

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

แต่ ณ ขณะนั้นทุกอย่างมันก็เป็นเพียงการเริ่มต้นตั้งคำถามเพียงเท่านั้น เพราะก่อนที่สังคมจะหาคำตอบเจอ… 18 ธันวาคม 2560 ก็เกิดข่าวช็อกวงการ K-pop ขึ้นอีกครั้ง กับเหตุการณ์การเสียชีวิตของไอดอลชื่อดังระดับเอเชียอย่าง ‘คิม จงฮยอน’ สมาชิกวงบอยแบนด์ชื่อดังอย่าง ‘SHINee’ กับการเลือกจบชีวิตตัวเองลงด้วยการรมควันภายในห้องพัก ซึ่งการสูญเสียจงฮยอนไปในครั้งนี้ถือว่าเป็นข่าวช็อกและสะเทือนใจทั้งวงการเพลงเกาหลีอย่างรุนแรงอีกครั้ง โดยสื่อเกาหลีใต้นั้นมีการรายงานคำบอกเล่าจากปากเพื่อนสนิทจงฮยอนว่า “จงฮยอนมีความเครียดสะสมจากการทำงานเพลงอยู่แล้ว และในหลาย ๆ ครั้งเขามักบ่นว่า งานที่ทำออกมานั้นยังไม่ดีพอ” บวกกับแหล่งข่าวเพิ่มเติมจากคนใกล้ชิดอื่น ๆ ว่า จงฮยอนนั้นเคยได้รับการรักษาอาการเครียด โดยการพบแพทย์มาแล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ทำให้เขาต้องพึ่งยานอนหลับในการเป็นตัวช่วยในการพักผ่อนอยู่ตลอดเวลา”

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

หลังจากนั้นสังคมก็เริ่มรับรู้ได้แล้วว่า ที่จริงยังมีเหล่าศิลปินคนดังอีกมากมายที่เคยต้องเผชิญหน้ากับ ‘โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง’ มาไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น G-Dragon จากวง Bigbang , ซูจี Miss A , แทยอน Girls Generation หรือแม้กระทั่งไอดอลสุดฮาอย่าง โจควอน 2am ที่ต้องต่อสู้กับความเครียดและความเศร้าจากการเป็นเด็กฝึกมายาวนานถึง 8 ปี แต่ความเลวร้ายในวงการนี้ก็ยังคงดำเนินมาเรื่อย ๆ อย่างไร้วี่แววของการแก้ไขปัญหา

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน 'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจขึ้นอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ กับข่าวการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ของศิลปินสาวขวัญใจคนทั่วโลกอย่าง ‘ซอลลี่ หรือ ชเวจินรี’ อดีตสมาชิกวงเกิร์ลกรุ๊ปเบอร์ต้น ๆ ของค่ายดัง SM Entertainmet อย่าง ‘F(x)’ และล่าสุดกับข่าวการฆ่าตัวตายอีกครั้งของ ‘คูฮารา’ ศิลปินสาวสวยอดีตสมาชิกวง ‘KARA’ ที่เพิ่งจากเราไปเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องจริงอันน่าเศร้าที่พวกเราเหล่าแฟนคลับต่างรู้กันดีว่า พวกเธอทั้งคู่นั้นเป็นเพื่อนสนิทที่พยายามฝ่าฟันมรสุมข่าวฉาวและคำวิจารณ์แย่ ๆ มาด้วยกันมากมาย แต่สุดท้ายภาวะความเครียด ความเศร้า และการโซเชียลบูลลี่อันหนักหน่วงในสังคมเกาหลีที่พวกเธอต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน ก็ได้พรากเธอทั้งคู่ไปจากโลกนี้ในเวลาใกล้เคียงกันอย่างน่าสะเทือนใจ สร้างคำถามครั้งใหญ่ให้กับวงการ K-pop และสังคมโซเชียลของเกาหลีใต้อีกครั้งว่า… พวกเขาควรเรียนรู้และแก้ไขเรื่องนี้ได้หรือยัง?

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

จากสายป่านเส้นยาวสู่ฟางเส้นสุดท้าย


ไม่ว่าใครก็อยากจะอยู่รอดและประสบความสำเร็จในวงการเพลงเกาหลีกันทั้งนั้น เพราะรางวัลความสำเร็จมันช่างหอมหวานและยั่วยวนให้เหล่านักล่าฝันเข้าไปไขว่คว้าหาโอกาสกันอยู่ตลอดเวลา จนเกิดเป็นอัตราการแข่งขันที่พุ่งสูงทะลุกราฟแบบที่แทบจะเรียกว่าเป็น ‘สงครามไอดอล’ เลยก็ว่าได้ แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นมันไม่ได้ง่ายเลย เพราะราคาที่ต้องจ่ายคือกว่าครึ่งชีวิตที่ต้องอุทิศให้ความฝัน ที่แม้เพียงแค่ด่านแรกก็ยากเย็นจนแทบหยุดหายใจ

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

กว่าที่เหล่านักฝันจะไปถึงขั้น ‘ศิลปินดัง’ ในวงการ K-pop คุณจะต้องผ่านการออดิชันเข้าไปในแต่ละค่าย ซึ่งแน่นอนว่าชื่อเสียงของค่ายนั้นก็ยิ่งมีผลต่อชื่อเสียงของศิลปินเช่นกัน (ศิลปินที่ดังจากค่ายเล็ก ๆ ก็มี แต่น้อยมาก) ถ้าใครเก่งและโดดเด่นพอจะเตะตาค่ายใหญ่ได้ก็โชคดีไป แต่ถ้าใครรู้ตัวดีว่าไปไม่ถึงล่ะก็ ค่ายเล็ก ๆ ที่เพิ่งเปิดใหม่และอยากจะทำเงินได้จากวงการนี้ ก็มีมากมายพร้อมรองรับหนุ่มสาวนักล่าฝันทุกคน แต่แน่นอนว่ามันก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงมากมายที่จะตามมาด้วยเช่นกัน

Play video

และเมื่อคนเหล่านั้นได้เป็น ‘เด็กฝึกหัด’ ของค่ายค่ายหนึ่งอย่างเต็มตัวแล้ว ก็ถึงเวลาแห่งความหฤหรรษ์อย่างเต็มรูปแบบสักที เพราะชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือทันที เปรียบได้กับการอยู่ในโรงเรียนประจำที่มีตารางการเรียนอันดุเดือนเคร่งครัดในทุก ๆ วัน เพราะจะต้องมีการประเมินและวัดผลความสามารถที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณจะอยู่หรือไปในวงการนี้แทบทุกสัปดาห์ เพราะถ้าหากคุณทำได้ไม่ถึงมาตรฐานที่ผ่านมา หรือทำได้ไม่ดีเท่าคนอื่น ๆ  คุณก็มีจะสิทธิ์ถูกเด้งหรือถูกดองทิ้งไว้อย่างไม่มีกำหนดได้ทั้งนั้น แถมค่าใช้จ่ายในขณะที่ยังเป็นเด็กฝึกหัดก็มีราคาสูงมาก เพราะเด็กส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาไปเรียนหรือทำงานพิเศษเพื่อหารายได้ใด ๆ ถึงขนาดที่พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนต้องขายรถขายบ้านมาส่งเสียและสนับสนุนให้ลูก ๆ ของตนได้ไปต่อในเส้นทางนี้กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าความหวังและความกดดันทั้งหมดจึงตกอยู่ที่เด็กตัวน้อย โดยที่พวกเขาเองก็เพิ่งจะเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่าความฝันที่หวังเอาไว้ มันอาจไม่ได้สนุกสดใสอย่างที่เคยคิดอีกต่อไป

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

สุดท้ายแล้วแม้ว่าคุณจะฝ่าฟันทุกอย่างมาได้จนถึงจุดที่ได้เดบิวต์อย่างเป็นทางการ (เปิดตัวในฐานะศิลปินเต็มตัว) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นเครื่องยืนยันถึงชื่อเสียงและความสำเร็จที่จะได้มาอยู่ดี เหมือนกับตัวอย่างในชีวิตจริงที่ศิลปินดังหลายต่อหลายคน ต้องปิดตัวเองลงหรือยุบวงไปอย่างกะทันหัน แม้ว่าครั้งหนึ่งจะเคยอยู่บนจุดสูงสุด หรือแม้กระทั่งเป็นที่นิยมมมากมายสักแค่ไหนก็ตาม เฉกเช่นเดียวกันกับวงเล็ก ๆ อีกหลายวงที่แทบไม่เคยได้รับความสนใจจากสื่อหรือแม้กระทั่งได้ยืนอยู่ท่ามกลางสปอร์ตไลท์แม้สักครั้ง เนื่องจากแรงผลักดันของค่ายมีไม่มากพอ จนต้องถูกปิดตัวไปอย่างน่าเสียดายมาแล้วนับไม่ถ้วน นี่แหละสัจธรรมของชีวิตอย่างแท้จริง ที่เหล่าศิลปินและไอดอลเกาหลีมากมายกำลังเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน 'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน

ความเครียด ความสิ้นหวังและความกดดันมันจึงค่อย ๆ บีบอัดและกดทับพวกเขาทีละนิดเหมือนน้ำที่หยดลงหิน จนจิตใจที่ถูกกัดกร่อนมันเริ่มหนักอึ้งและทวีความเจ็บปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ตัว แล้วไหนจะต้องมารับมือกับความคิดเห็นและคำวิจารณ์นับล้านที่มีทั้งดีและร้ายมากมาย เปรียบได้กับห่ากระสุนที่วิ่งเข้าหาพวกเขาในทุก ๆ วัน และถึงแม้ว่ามันจะยิงพวกเขาไม่ตาย แต่แผลที่ใจเหล่านั้นก็ยากที่จะลืม

“นี่แหละเบื้องหลังของใบหน้าแห่งความสุขและรอยยิ้มสดใสที่คนทั่วโลกต่างหลงใหลในเบื้องหน้า แต่ใครจะรู้ว่ารอยยิ้มนั้น กำลังข่มความเศร้าเอาไว้อย่างทรมานเหลือเกิน”

เชือกวิเศษที่เรียกว่า ‘แฟนคลับ’


อย่างที่รู้กันว่ายุคนี้ภาวะโรคซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย เหมือนกับว่าเราทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีเมล็ดแห่งความโศกเศร้าที่รอการปลูกเพาะให้เติบโตในใจกันอยู่แล้วทุกคน อยู่ที่ว่าคน ๆ นั้นจะได้รับแรงกระตุ้นของความเศร้ามากน้อยแค่ไหน? และจะต้านทานมันไปได้นานสักเท่าไหร่? โดยเฉพาะกับอาชีพที่ต้องเจอกับผู้คนมากมายอย่าง ‘ศิลปินดารา’ จึงเป็นเหมือนกับเป้าสาธารณะ ที่ต้องทนรับให้ไหวกับทุกเรื่องราวและคำวิจารณ์ของคนแปลกหน้า จึงไม่แปลกที่ภาวะจิตใจของคนเหล่านั้นจะต้องเข้มแข็งไม่แพ้เหล็กกล้าใด ๆ และมันคงจะดีกว่าถ้าหากว่าจิตใจที่บอบช้ำ ได้รับการปลอบโยนและเยียวยาจากเหล่าผู้คนที่ ‘ยอมรับและเข้าใจ’ พวกเขาอย่างจริงใจ …กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘แฟนคลับ’ นั่นเอง คนพวกนี้นั่นแหละที่เป็นยาต้านความเศร้าชั้นดีได้มากว่ายาไหน ๆ

'โรคซึมเศร้าในวงการ K-pop' ไวรัสอันตรายที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินมายาวนาน


เพราะเราเชื่อว่าทุกคนในสังคมต่างก็เจอคำตอบของคำถามในใจแล้วว่า สาเหตุที่แท้จริงของปัญหานี้มันอาจไม่ใช่เพราะความเครียด หรือความกดดันอะไรทั้งนั้นที่ทำให้พวกเขาเลือกที่จะจากไป แต่สังคมที่ขาดจิดสำนึก คำพูดแย่ ๆ และความผิดหวังในตัวเองต่างหากที่ผลักพวกเขาให้ลงไปนอนที่ก้นเหว และเมื่อถึงตอนนั้นต่อให้มีเชือกวิเศษอีกกี่เส้นหย่อนลงไป ก็คงไม่มีใครปีนกลับขึ้นมาอีกแล้ว

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส