เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเวลาที่เราอ่านข้อความที่มีการสะกดคำที่ผิดหรือใส่อักษรสลับที่กัน แต่เราก็ยังอ่านได้เข้าใจอยู่ดี (ถึงแม้จะมีอาการขัดใจอยู่บ้าง) ซึ่งการที่เราสามารถอ่านได้อย่างเข้าใจนี้ เรียกว่า ‘Typoglycemia’ เป็นอาการที่แสดงถึงความสามารถในการอ่านและเข้าใจคำที่มีการสะกดผิดไปจากปกติ

ซึ่งคำว่า ‘Typoglycemia’ เป็นคำที่มาจากการศึกษาวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) หากใครยังไม่เข้าใจว่า Typoglycemia นั้นเป็นอย่างไร เรามีข้อความตัวอย่างที่มีการกล่าวถึงในงานวิจัยและถูกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ปี 2003 ให้ทุกคนได้ลองอ่านจากประโยคด้านล่างนี้

เครดิตรูปภาพจาก wegointer.com

แม้ข้อความจะมีทั้งตัวอักษรสลับกันและสะกดผิดไปบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะอ่านให้เข้าใจ แต่หลายคนอาจจะยังงงอยู่ เราจึงมีเฉลยมาให้ทุกคนได้อ่านด้วย โดยข้อความที่ถูกต้องคือ

เครดิตรูปภาพจาก wegointer.com

ซึ่งจะแปลได้ว่า ‘ตามที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้กล่าวไว้ว่ามันไม่สำคัญหรอกว่าลำดับตัวอักษรในคำนั้นเป็นอย่างไร แต่สิ่งเดียวที่สำคัญคือตัวอักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายต้องถูกวางไว้ในลำดับที่ถูกต้อง แม้ตัวอักษรตัวอื่น ๆ จะอยู่ในลำดับที่ผิด แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการอ่านของเรา นั่นเป็นเพราะการประมวลผลของมนุษย์ไม่ได้อ่านทุกตัวอักษร แต่จะอ่านเป็นภาพรวม’

นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสนุก ๆ ให้ได้ฝึกสมอง แล้วยังช่วยฝึกภาษาได้อีกด้วย เพราะในขณะเดียวกันภาวะนี้เองก็สามารถเกิดขึ้นกับภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาสวีเดน, ภาษาอินโดนีเซีย, ภาษาเยอรมัน และภาษาไอซ์แลนด์ เป็นต้น

อ้างอิง , อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส