ภาพจำของ Blockchain อาจเป็นเทคโนโลยีด้านธุรกรรมออนไลน์ไร้คนกลางที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ แต่เอาเข้าจริงๆ โครงสร้างของเทคโนโลยีที่อาจจะมาเปลี่ยนโลกใบนี้เหมือนในยุคอินเทอร์เน็ตนั้น สามารถนำไปดัดแปลงใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ได้ และในหลากหลายประเทศก็ได้มีกรณีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าใช้ได้จริง ซึ่ง Unblock The Enterprise ก็คืองานสัมมนาที่จัดขึ้นเพื่อให้เจ้าขององค์กรหรือ Startup ได้กล้าที่จะปลดล็อคเทคโนโลยีใหม่นี้สู่องค์กรของตน 

Unblock The Enterprise คืองานสัมมนาอันเป็นการการร่วมมือกันของหน่วยงานให้คำปรึกษาสนับสนุนแก่องค์กร นักลงทุนและ Startup ชื่อดังทั้ง 3 อย่าง Blackbox Labs, Durian Corp และ AECS ในหัวข้อสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจถึง Blockchain ที่จริงๆ มันไม่ได้ใช้แค่ในวงการการเงินด้วยการยกกรณีศึกษามากมายที่ใช้จริงจากนานาประเทศ อาทิ การช่วยเหลือในการแพทย์, โลจิสติกส์, ด้านพลังงาน, การศึกษาไปจนถึงภาครัฐ เป็นต้น

Paddy Tan ประธานและผู้ก่อตั้ง Interventures asia บริษัทผู้ให้ความช่วยเหลือ แนะนำและให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนในประเทศสิงคโปร์ ทั้งหลายได้อธิบายว่า 9 ใน 10 ขององค์กร เชื่อว่าพวกเขากำลังถูกเทคโนโลยีดิจิทัลแทรกแซง และยากต่อการนำมาดัดแปลงเข้าสู่องค์กรของตน “ซึ่งแน่นอนพวกเขาคิดผิด” 

เพราะในปี 2016 ที่ผ่านมา บริษัทที่เด่นชัดด้านเทคโนโลยีทั้งหลายได้เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน (Apple, Microsoft, Amazon, Facebook ฯลฯ) ตีตื้นหรือนำเหนือบริษัทที่เคยถูกเรียกว่าเป็น Immortal Business หรือบริษัทที่มิอาจโค่นลงไปได้อย่าง Total, Shell, KSC ฯลฯ

ทำให้ในตอนนี้ ก็ได้เริ่มมีหลากหลายบริษัทได้นำ Blockchain ดัดแปลงเข้าไปยังธุรกิจของพวกเขาเพราะโครงสร้างของเทคโนโลยีดังกล่าวมีศักยภาพหลายอย่าง ได้แก่

  • หน่วยงานสถาบันการเงิน: สามารถช่วยในการบันทึกข้อมูลของประกันในบริษัทต่างๆ ที่มีความปลอดภัยสูง (เพราะต้องใช้อัลกอริทึ่มเฉพาะในการเข้าถึง), การทำธุรกรรมโดยไม่ต้องใช้คนกลาง, บันทึกสถิติและข้อมูลของหุ้น, มีขั้นตอนในการเข้าถึงตรวจสอบข้อมูลที่ปลอดภัย และสามารถทำธุรกรรมได้ในระดับสากล
  • ภาคเอกชน: สื่อสามารถนำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีที่มาอย่างชัดเจน, ช่วยให้วัฎจักรในการเสาะหาวัสดุของแต่ละบริษัทมีความขัดข้อง/ติดขัดในกระบวนการลดลง, จัดการด้านข้อมูลให้กับอสังหาริมทรัพย์, เก็บข้อมูลให้บริษัทพลังงาน, ศูนย์สุขภาพ, ร้านค้าปลีก, หน่วยงานด้านกฎหมาย ฯลฯ
  • ภาครัฐ: เก็บคะแนนเสียงให้ไม่สามารถแทรกแซงหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลได้, สามาถตรวจสอบประวัติของผู้สมัครได้ ฯลฯ
  • การทำงานร่วมกันของอุตสาหกรรมต่างๆ: ความปลอดภัยทางไซเบอร์, ช่วยเหลือด้านการเก็บข้อมูลของบุคคลในองค์กร ฯลฯ

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลแล้วข้อดีของ Blockchain คือสามารถตรวจสอบได้, เข้าถึงข้อมูลเพื่อปรับปรุงแก้ไขได้ในทันที, ไม่ต้องเสียเวลากับคนกลาง และลดค่าใช้จ่ายในจำนวนมากได้

ในขณะที่ Michael Dong ผู้บริหาร ChainNova และคณะบดีจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) ก็ได้นำเสนอกรณีศึกษาที่ได้นำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามา โดยในกรณีแรก คือการตรวจสอบคุณภาพและตามติดกระบกวนการผลิตของข้าวจากเครือ Beidahuang ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก เก็บเข้าคลัง จัดส่งไปจนถึงการส่งออก เพราะในปัจจุบันประเทศจีนกำลังเกิดปัญหาข้าวที่วางจำหน่ายในตลาดที่มีการปลอมแปลงของข้าวปลอม ข้าวที่หมดอายุ หรือข้าวที่เต็มไปด้วยสารกันตัวมอดที่ก่อให้เกิดมะเร็งกับมนุษย์

และผลลัพธ์ที่ได้นั้น Blockchain สามารถทำให้การแปลกปลอมในข่าวลดลงได้ในปริมาณสูงพร้อมทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนอีกด้วย

ส่วนกรณีที่สอง อย่างการใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการตรวจสอบและตามติดอุตสหากรรมด้านเภสัชกรรมนั้นก็สามารถป้องกันการแปลงปลอมข้อมูลปลอมได้, ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมด้านเภสัชให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งหลายลื่นไหล และสามารถสร้างโอกาสและตลาดใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาในวงจรได้