AIS ค่ายเครือสัญญาณชั้นนำของประเทศได้นำเสนอวิสัยทัศน์ล่วงหน้าในปี 2019 นี้ ออกมาในรูปแบบของงาน Digital Intelligent Nation 2019 อันเป็นการให้ความรู้ สร้างรากฐาน และนำเสนอข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับนวัตกรรม (Innovation) และการเปลี่ยนแปลงกระบวนเข้าสู่ดิจิทัล (Digitalization) จากบรรดาเทคโนโลยีแห่งยุคทั้งหลาย อาทิ AI, Machine Learning, Robotic และ IoT 

คุณกานต์ ตระกูลฮุน หนึ่งในประธานกรรมการคณะผู้บริหารของทาง AIS ได้กล่าวว่า 2019  คือปีที่พลิกโฉมทางอุตสาหกรรมโลกครั้งใหญ่อีกขั้น เพราะเทคโนโลยี AI, Machine Learning, Robotic, Data Anlytic และ IoT จะส่งผลกระทบในทุกระดับ 3 ส่วน ได้แก่

  1. สร้างรูปแบบใหม่ (Redefine) ของวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน และการมีปฎิสัมพันธ์
  2. การเปลี่ยนแปลงหรือถูกแทรกแซง (Disrupt) รูปแบบของเศรษฐกิจสังคมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจริงอยู่ที่หลายแพลตฟอร์มจะตกในที่นั่งระดับส่วนนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะเกิดธุรกิจใหม่ๆ อาทิ สตาร์ตอัปอาจจะเกิดขึ้นมากมาย เป็นต้น
  3. การสร้างโอกาสโอกาสใหม่ในการเติบโต (Emerging new Opportunities) ทั้งจากในกลุ่มธุรกิจและระดับประเทศ โดยยกกรณีตัวอย่างจากเกาหลีใต้ที่ทางภาครัฐสนับสนุนทาง Samsung ในด้านงบการวิจัยและพัฒนาจำนวนมาก ซึ่งเราก็จะเห็นได้จากหลายภาคส่วนถึงการเจริญเติบโต ทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์พกพา ไปจนถึงด้านโปรดักชั่นของอุตสาหกรรมบันเทิง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าหากประเทศไหนลงทุนในส่วนนี้ก็จะมีค่า GDP ก็จะสูงขึ้น

ส่วนทางด้านของนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS ก็ได้นำเสนอการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนทั่วไป องค์กร ไปจนถึงภาครัฐ ให้ร่วมกันหันมาสนใจและตระหนักถึงเทคโนโลยีให้มากขึ้น พร้อมยกตัวอย่างจากในประเทศเราที่กว่าสัญญาณ 2G จะเปลี่ยนผ่านเป็น 3G มีระยะเวลาที่ห่างกันเกินไปถึง 18 ปี (1994 – 2012) จนสูญเสียโอกาสด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี กลับกัน ช่วงเปลี่ยนผ่าน 3G เป็น 4G ในเวลา 3 ปีนั้น (2015 – ปัจจุบัน) ได้ส่งผลให้ด้านดังกล่าวเติบโตมากยิ่งขึ้นและอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีสัญญาณ 4G ที่มีคุณภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก 

และยิ่งเมื่อผสมเข้ากับข้อมูลจากในปัจจุบันที่การเติบโตด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมค่อนข้างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2018 ที่กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานมือถือ 90 ล้านคน ใช้ 5G, สายอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ได้ถูกเปลี่ยนจาก ADSL ภายในเวลาแค่ 2 ปี และจากการที่ปี 2015 – 2018 ผู้ใช้งานมือถือใช้งานโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คมากกว่าเดิมเท่าตัว (จาก 3 เป็น 6 ชั่วโมง)

AIS จึงปรับเปลี่ยนจุดยืนของตนเองให้กลายเป็น Digital Platform ภายใต้แนวคิด “Sharing Digital Economy Platform-เศรษฐกิจ Digital แบบแบ่งปัน” ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและประโยชน์ร่วมกันให้แก่ทุกอุตสาหกรรม ในทุกระดับ ซึ่งแน่นอนว่าท้ายที่สุดจะส่งผลให้ประเทศไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งพร้อมแข่งขันในเวทีโลก

ปิดท้ายด้วยการยืนยันจากกรรมการผู้อำนวยการอย่าวนายฮุย เว็ง ชอง ว่า AIS จะพัฒนาเครือข่าย Digital ให้มีศักยภาพและรองรับอนาคตที่จะมาถึงมากขึ้น ไม่ว่าจะด้านคลื่นความถี่ของอุปกรณ์พกพามากที่สุดถึง 120 MHz (60 MHz) อย่างไม่หยุดยั้ง, Wifi6 (802.11ax) ที่ได้เริ่มนำเข้ามาในปี 2019 มาให้บริการในชื่อ AIS Super Wifi+ อันมีความเร็วมากถึง 4.8 Gpbs รองรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้ 8 เท่า ตอบโจทย์การเติบโตของ IoT

นอกจากนี้ AIS ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่องเพราะพวกเขาเชื่อมั่นว่า 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และเครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วเสถียรที่สุด

Smart City จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

รถไร้คนขับ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

police i lert you แอปพลิเคชั่นจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

และที่ผ่านมา AIS ก็ยังได้รับการสนับสนุนในการศึกษาและวิจัย 5G เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานตำรวจแห่งชาติและภาคการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และปีนี้พวกเขาชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย Un-manned Service สโตร์จากทาง AIS ที่ไร้พนักงานมนุษย์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทำบริการทุกอย่างเสร็จสรรพได้ด้วยตัวเอง ที่พร้อมจะเปิดตัวให้ได้สัมผัสอย่างต่อเนื่องตลอดปีนี้ที่ภูเก็ต

ปิดท้ายกันด้วยเรื่องสุดท้ายที่ทาง AIS ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือการให้ความรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพราะถึงแม้ Digital จะมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันก็ให้โทษได้ไม่น้อยไปกว่ากัน พวกเขาจึงได้จัดทำการศึกษาด้านเน็ตเวิร์คหรือออนไลน์ (Network Educator) ด้วยการส่งต่อแบบชี้วัดความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Intelligence Quotient ไปสู่เยาวชน เพื่อสร้างจิตสำนึก  ภูมิคุ้มกัน และปลูกฝังการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีเพื่อให้ประชากรไทยพร้อมต่อกรกับภัยร้ายของเทคโนโลยี