อีก 1 ความสำคัญที่เราควรให้ความร่วมมือ นั่นคือการใช้ซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ซึ่งปัจจุบันยังคงมีผู้ใช้งานซอฟแวร์เถื่อนอยู่ไม่น้อย ซึ่งทาง BSA พันธมิตรซอฟแวร์ประจำภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิค ตั้งใจสนับสนุนองค์กรธุรกิจในการแก้ไขปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมอบความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักรู้ในการละเมิดซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ไม่มี License นั้นเปรียบเสมือนภัยร้ายต่อธุรกิจเพราะมีความเสี่ยงเมื่อถูกตรวจพบและทำให้ธุรกิจเสียหาย แต่ถ้าบริษัทสามารถวางแผนการใช้ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ได้อย่างถูกต้อง จะสามามารถช่วยเพิ่มกำไรให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ได้มากถึง 11%

และสิ่งสำคัญคือ 1 ใน 3 ของมัลแวร์เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ ซึ่งการโจมตีของมัลแวร์แต่ละครั้งอาจทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการมากมายมหาศาลและใช้เวลานาในการแก้ปัญหา และบริษัททั่วโลกจำเป็นต้องใช้เงินถึง 113,085 ล้านบาทต่อปีในการจัดการปัญหาดังกล่าว

คุณ ดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ พันธมิตรซอฟแวร์ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค

วันนี้เราให้ความสำคัญในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจลดความเสี่ยงจากการใช้งานซอฟต์แวร์ โดยเป้าหมายของเราคือการเห็นองค์กรธุรกิจจำนวนมากเข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน และเข้าใจว่าการลงทุนในการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายนั้นส่งผลดีต่อความปลอดภัย ชื่อเสียงองค์กร การดำเนินธุรกิจขององค์กร และผลกำไรของพวกเขาด้วยเช่นกันคุณ ดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ พันธมิตรซอฟแวร์ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค

บีเอสเอทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐของหลายประเทศในอาเซียน เพื่อช่วยให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ เข้าใจถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน ข้อมูลจากไอดีซี (IDC) ประเมินว่าองค์กรธุรกิจจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 จากการเปลี่ยนมาใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) รวมถึงมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้การใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

โดยบีเอสเอได้เปิดตัวโครงการ “Legalize & Protect” ขึ้นใน 3 ประเทศด้วยกันคือ

  • ประเทศไทย
  • อินโดนีเซีย
  • ฟิลิปปินส์

โดยเคยเปิดตัวโครงการที่คล้ายกันนี้มาก่อนแล้วในประเทศเวียดนาม เป้าหมายสำหรับโครงการนี้คือการรณรงค์ให้คนใช้ Software ลิขสิทธิ์ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายบริษัทที่ยังมีการใช้งาน Software ผิดลิขสิทธิ์อยู่ โดยภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 57

ผลการปราบปราม Software ละเมิดลิขสิทธิ์ประจำปี 2018

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้เปิดเผยข้อมูลผลการปราบปรามที่ผ่านมาว่า ตัวเลขมีจำนวนสูงขึ้นจากปี 2017 มากกว่าเดิม โดยปี 2018 มีผลการจับกุมอยู่ถึง 395 คดี รวมทั้งหมดกว่า 4,431 เครื่อง ซึ่งกว่า 88.61% เป็นธุรกิจของคนไทย โดยพื้นที่ที่มีการตรวจค้นดำเนินคดีจะอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล นี่ถือได้ว่าเป็นอีก 1 ความสำคัญที่ทุกคน ทุกฝ่ายควรหันมาช่วยกัน เพราะ “ทรัพย์สินทางปัญญา” คือสิ่งที่ทุกคนควรมีและให้ความสำคัญกับผู้ผลิต สรรค์สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาครับ