คุณพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยข้อมูลเรื่องการนำคณะผู้บริหารเดินทางโรดโชว์เยือนสหรัฐอเมริกา ซิลิคอน วัลเล่ย์ ศูนย์กลางด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมเข้าพูดคุยกับบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย เน้นการทำงานแบบเชิงรุก เพื่อสร้างความมั่นใจให้เข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

จัดการข่าวปลอม

ซึ่งการไปเยือนครั้งนี้ได้มีโอกาสหารือกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะ Facebook, Google และ YouTube เพื่อร่วมมือเรื่องการจัดการข่าวปลอมที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย รวมไปถึงเนื้อหาและคลิปที่ไม่เหมาะสมที่จะสร้างความเสียหายกับประชาชน และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย

โดยเฟซบุ๊กก็ได้ให้ความสำคัญกับการเดินทางไปเยี่ยมเยือนในครั้งนี้และตกลงตั้งคณะทำงานระหว่างเฟซบุ๊กและกระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ในด้านการจัดการเนื้อหาที่เป็นเท็จ พร้อมมีขั้นตอนการทำงานชัดเจน เพิ่มความรวดเร็วในการตรวจสอบและจัดการมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปพบผู้บริหารของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งเขาได้พบกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ระบบ AI&IoT ที่ถูกทดสอบในห้องแลป มีเทคโนโลยีการแพทย์รูปแบบใหม่ ระบบ Cloud Solution ที่ตอบโจทย์อนาคตได้อย่างลงตัว

นอกจากนี้ ยังใช้โอกาสเดินทางเยือนสหรัฐฯ เป็นเวทีนําเสนอภาพรวมด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งมี แผนพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน ในพื้นที่ EEC หารือเรื่องการลงทุนในพื้นที่ดิจิทัลพาร์ค โดยประเทศ ไทยมี Thailand Digital Valley ที่พร้อมเชิญบริษัทยักษ์ใหญ่มาลงทุน

โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจาก นาย Dave Mosley ซีอีโอ และคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซีเกท ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับโลก ที่มีฐานผลิตใหญ่สุดในโลกตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ประเทศไทย และมีการทํางานร่วมกับ มหาวิทยาลัยไทย 10 แห่ง ได้แก่ ม.สุรนารี ม.ขอนแก่น ม.พระจอมเกล้า ลาดกระบัง ร่วมพัฒนาทักษะนักศึกษาป้อน สู่ตลาดแรงงานดิจิทัล ถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และน่าสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมกันส่งเสริมเรื่องนี้ให้มาก ยิ่งขึ้น

“การเดินทางครั้งนี้ได้รับการตอบรับและสนใจจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐ เป็นอย่างดี เนื่องจากเห็นสิทธิประโยชน์จากการลงทุน เพื่อขยายตลาดในไทย เราทํางานเชิงรุกเดินทางมาหารือกับบริษัทระดับ ยักษ์ใหญ่เหล่านี้ด้วยตัวเอง เพื่อรับฟังว่าพวกเขาต้องการอะไร ทางผมและรัฐบาลไทยจะพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นได้ ตามยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ใช้ดิจิทัลพัฒนาชาติ”

สําหรับโครงการและแผนงานสําคัญที่กระทรวงฯ จะผลักดันเป็นอันดับต้น ๆ ในปีนี้มี 5 เรื่องด้วยกันคือ

  1. เรื่องการทำ Big Data เพื่อประชาชน เริ่มต้นจากการนำข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลทั่วประเทศมารวมไว้ที่ Cloud Server เพื่อสะดวกในการดำเนินการรักษาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะทุกโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้ทันที โดยตั้งใจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
  2. ผลักดันไปรษณีย์ไทย ให้ดำเนินการเพื่อรองรับ E-Commerce อย่างเต็มระบบโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาตอบโจทย์ทั้งลูกค้าและพ่อค้าแม่ค้าออน ไลน์ให้สำเร็จภายในระยะเวลา 3 เดือน
  3. ดำเนินการปรับปรุงเน็ตประชารัฐกว่า 10,000 จุดต้องสามารถทำให้ใช้งานได้จริง และทำประโยชน์ต่อยอดได้จริงภายใน 3 เดือน
  4. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) หรือ ETDA ออกมาตรฐานเกี่ยวกับ Blockchain, Digital ID, National ID, Cloud, การเปลี่ยนวิธีการยืนยันเอกสารจากระบบถ่ายเอกสารให้เป็น digital ให้ได้ภายใน 6 เดือน
  5. ดำเนินการสร้าง Smart city ที่เป็นสมาร์ตซิตี้จริง ๆ ทำการสร้างสรรคพื้นที่ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมา มี Infrastructure ทุกอย่างที่เป็นระบบ ซึ่งเป็นการร่วมมือกับหลายภาคส่วน และมั่นใจว่าจะสามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก

และยังมีในเรื่องการเร่งสร้างโครงข่าย เทคโนโลยี 5G เพื่อเป็นกลไกรองรับการลงทุน โดยให้นโยบายสองหน่วยงานภายใต้สังกัด คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ต้องเข้าร่วมประมูลโครงข่าย 5G ที่สํานักงาน กสทช. จะ คลื่นนําออกประมูล ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้

ด้านความคืบหน้าของกระบวนการจัดตั้งบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) หรือเอ็นที ภายหลัง จากที่ ครม. มีมติอนมัติควบรวมทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา ทั้งสองรัฐวิสาหกษ เริ่มกระบวนการว่าจ้างที่ปรึกษา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการควบรวมกิจการ และด้านทรัพยากรบุคคล ทําการศึกษาเพื่อจัดทําแผนธุรกิจและโครงสร้างการดําเนินการทั้งหมด เพื่อให้การควบรวมแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

ท้ายสุดนี้ยังได้กล่าวเชิญชวนผู้สนใจสมัครลงทะเบียนร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล “Digital Run2020” ส่งต่อสุขภาพดียุคดิจิทัล ซึ่งกระทรวงฯ ได้ร่วมกับมูลนิธิพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ เตรียมจัดขึ้นในวัน อาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2563 มุ่งหวังให้เป็นกิจกรรมที่จะสนับสนุนการส่งต่อสุขภาพดียุคดิจิทัล ส่งเสริมการออกกําลัง กายแก่ประชาชนทุกกลุ่ม สร้างความตระหนกในการรักษาสุขภาพและเป็น เป็นเวทีประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสุขภาพ ด้านการสื่อสารความรู้สุขภาพเฉพาะบุคคล (Health for You)

ทั้งนี้ กิจกรรม Digital Run 2020 มีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนหลักในการจัดงาน โดย ผู้สนใจสามารถสมัครเดิน-วิ่ง แบ่งเป็น 2 ระยะทาง ได้แก่ ระยะทาง 5 กม. และมินิมาราธอน ระยะทาง 10 กม.สําหรับ บุคคลทั่วไป ค่าสมัคร 600 บาท และสําหรับผู้การทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย (Wheelchair) หรือผู้พิการทางการ มองเห็น ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนสมัครได้ทางออนไลน์ผ่าน race.thai.run/DIGITALRUN19 ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจาก กิจกรรมจะนําไปบริจาคให้มูลนิธิคนพิการไทย

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส