17 กรกฎาคม 2563 – สมาคมสตาร์ตอัปไทยยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์ และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอแนะมาตรการและนโยบายในการปกป้องอธิปไตยของสตาร์ตอัปไทย หลังต่างชาติรุกหนัก

นายภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Tech Startup Association : TTSA) เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์ และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นผู้รับมอบหนังสือ

ทางสมาคมฯ มองว่า นโยบายการสนับสนุนสตาร์ตอัปไทยในปัจจุบัน ยังไม่ตอบโจทย์การเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สตาร์ตอัปไทยไม่สามารถแข่งขันได้แม้แต่ภายในประเทศของตน สังเกตได้จากแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศล้วนเป็นบริการจากต่างชาติ ซึ่งในจุดนี้ทำให้เกิดการรั่วไหลข้อมูลของคนไทยไปสู่บริษัทต่างชาติ รวมไปถึงบุคลากรชาวไทยผู้เชี่ยวชาญที่ปัจจุบันส่วนใหญ่ทำงานในบริษัทต่างชาติที่ตั้งฐานในประเทศไทย

แม้ว่าในบางตลาดจะถูกบริษัทต่างชาติครองตลาดไปเรียบร้อยแล้ว เช่น บริการเรียกรถ, บริการจองโรงแรมและที่พัก แต่ทางสมาคมฯ มองว่าสตาร์ตอัปไทยยังมีโอกาสในกลุ่มอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากตลาดนี้จำเป็นต้องมีเสาหลัก 3 ส่วนคือ Marketplace, Payment และโลจิสติกส์ แม้ในส่วนแรกคือ Marketplace จะมีผู้เล่นจากต่างชาติเข้ามาทำตลาดในไทยแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถครองตลาดได้เพียงเจ้าเดียว สตาร์ตอัปไทยจึงยังมีโอกาสอยู่ ประกอบการช่องทางการจ่ายเงิน (Payment) และโลจิสติกส์ แม้จะมีการแข่งขันสูง แต่ก็ยังไม่มีผู้นำในตลาดที่แท้จริง นี่จึงเป็นโอกาสของสตาร์ตอัปไทยเช่นกัน

นายภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ ให้ความเห็นว่า สตาร์ตอัปไทยมีความสามารถที่จะแข่งขันกับนานาชาติได้ เพียงแต่ขาดเงินทุนและกำลังสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการสนับสนุนสตาร์ตอัปไทยส่วนใหญ่จำกัดอยู่ในวงของซีรีส์ C สตาร์ตอัปในระดับบน ๆ จึงจำเป็นต้องหาแหล่งทุนจากต่างชาติ ประกอบกับนักลงทุนไทยยังขาดความเข้าใจในรูปแบบการทำธุรกิจของสตาร์ตอัป จึงไม่กล้าลงทุน หรือนักลงทุนบางส่วนที่ลงทุนไปแล้ว แต่ไม่ได้ผลตอบแทนในระยะเวลาที่คาดหวัง จึงหยุดการลงทุนไปในที่สุด สิ่งเหล่านี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของสตาร์ตอัปไทย เพราะแม้บางส่วนจะได้รับการสนับสนุนแล้ว แต่ก็ไปได้ไม่สุดทาง

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย
นายภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการฯ

ทั้งนี้ วิกฤตโควิด 19 ถือเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจออนไลน์และเทคโนโลยีเฟื่องฟูมากขึ้นจากพฤติกรรมวิถีใหม่ สตาร์ตอัปหลายเจ้าที่ปรับตัวรับกับโอกาสได้ทัน จึงสามารถรับผลประโยชน์จากวิกฤตนี้ได้ แต่ทั้งนี้การปรับตัวย่อมต้องใช้เงินทุน สตาร์ตอัปที่ไม่มีแหล่งทุนจึงพลาดโอกาสนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ทางสมาคมฯ จึงหวังว่าภาครัฐจะมีการปรับเปลี่ยนและส่งเสริมโดยเร็วที่สุดเพื่อให้สตาร์ตอัปยังสามารถอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ใช่แค่อยู่รอดในช่วงวิกฤตนี้ แต่สามารถพัฒนาจนอัปไซส์ขึ้นไปแข่งขันกับบริษัทต่างชาติภายในประเทศหรือระดับโลกได้

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ทางสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่เคยยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการผลักดันสตาร์ตอัปไทย หลังพบว่านโยบายการสนับสนุนสตาร์ตอัปไทยของภาครัฐยังไม่ตอบโจทย์การเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยี การยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์ และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นการกระตุ้นเตือนและเพิ่มเติมข้อเสนอแนะดังนี้

  • Thailand Tech Startup Association : TTSA
  • Thailand Tech Startup Association : TTSA
  • Thailand Tech Startup Association : TTSA
  • Thailand Tech Startup Association : TTSA
  • Thailand Tech Startup Association : TTSA

ทางด้าน นายสิริพงศ์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า จะรับข้อเสนอไปพิจารณาในชั้นกรรมาธิการเพื่อรวบรวมและจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาเห็นชอบ และส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย
นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์
และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร