วันนี้ (19 พ.ย. 2558) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมและ รองประธาน กสทช. ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การออกใบอนุญาต 4G ครั้งนี้ไม่เพียงแต่รัฐ จะได้รายได้จากการประมูลเท่านั้น แต่จะทำให้เกิดการลงทุนในโครงข่าย 4G เป็นอันดับแรก ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจาก Operator เป็นจำนวนเงินนับหลายหมื่นล้านบาทในปีแรก จะทำให้บริษัทที่รับงานวางโครงข่ายขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้รับการจ้างงานทันที ไปจนถึงจะมีการจ้างงานในระดับวิศวกรและระดับช่างหน้างานเพื่อติดตั้งโครงข่ายอุปกรณ์ 4G และจะทำให้ operator ต้องลงทุนใน core network ที่จะต้องรองรับ data traffic ที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่จะต้องก้าวไปสู่ Intelligent network เพื่อปรับเทคโนโลยีไปสู่ LTE Advance ดังนั้น Supply chain ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะถูกกระตุ้นทันทีหลังจาก operator ทั้ง 2 รายมารับใบอนุญาตการให้ใช้คลื่นความถี่ 4G 1800 MHz

และพร้อมกันนั้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบในระยะยาว เช่น การโฆษณาและการจัด event ต่างๆ จะคึกคักจากการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายของ operator ซึ่งคาดว่าจะเป็นเม็ดเงินฉีดลงในบริษัทต่างๆเหล่านั้น หลายร้อยล้านในช่วง 6 เดือนแรก และจะยังคงต่อเนื่องหลังจากนั้น

 ต้นปีหน้าคาดว่าอุตสาหกรรมด้านโฆษณาจะเปลี่ยนทิศทางไปอย่างมาก

การให้บริการจะเริ่มทันทีประมาณช่วงปลายมกราคม 2559 ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ และจะครอบคลุมประชากรมากกว่า 50% ไม่เกินปลายปี 2559 โดยจะเริ่มมีการย้าย subscriber เข้าสู่ระบบ 4G อย่างรวดเร็ว ในต้นปีหน้าคาดว่าอุตสาหกรรมด้านโฆษณาจะเปลี่ยนทิศทางไปอย่างมาก เม็ดเงินด้านโฆษณาจะมุ่งมายัง Mobile marketing, Social media marketing อย่างรวดเร็วจากการที่การให้บริการ Video และ Streaming มีประสิทธิภาพสูงขึ้นหลายเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับ 3G

ในภาคบริการด้าน Logistic จะได้รับผลกระทบทางบวกที่จะเกิดโอกาสใหม่ๆในการให้บริการที่แตกต่างจากเดิมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยจะมีโอกาสนำเสนอการให้บริการใหม่ๆ ที่ Real time มากขึ้น ด้วยการลงทุนที่ต่ำลง

อุตสาหกรรมบันเทิงจะต้องปรับตัวอย่างหนัก เพราะมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมที่จะจดจ่ออยู่กับสื่อบน Mobile สูงขึ้นมาก จึงต้องคิดหากลยุทธ์ในการใช้เทคโนโลยี 4G มาเป็นช่องทางใหม่ เพราะ 3G ไม่สามารถทำได้ โดยในอุตสาหกรรมบันเทิงนี้ ประธาน กทค. มองว่ามีมูลค่าเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์แฝงอยู่ซึ่งยังไม่มีบทบาทมากในยุค 3G แต่เนื่องจาก 4G จะเป็น Game changer ทำให้อุปสรรคที่ติดอยู่ เช่น ความเร็ว data speed ที่ต้องใช้ในการส่ง animation, video streaming ต่างๆ จะสามารถทำได้ในยุค 4G จึงเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ในการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น และนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ SME รายใหม่

 M-commerce และ M-banking จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดหลังยุค 4G

อีก sector ที่จะมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดคือ M-commerce และ M-banking ซึ่งทั้งสองจะเกื้อกูลให้ธุรกิจ SME มีศักยภาพสูงขึ้นทันที ดังนั้นจึงเป็นโอกาสในการเกิดของผู้ประกอบการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบกับ Mobile social marketing นั้นมีต้นทุนต่ำ แถมยังมีประสิทธิภาพในการสื่อสารทั่ง ภาพ เสียง และวีดีโอ จึงทำให้เข้าถึงผู้บริโภค กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นในปีหน้า จะเป็นปีที่ธุรกิจ SME จะได้อานิสงส์โดยตรงทันที ถ้าผู้ประกอบการ SME มีวิสัยทัศน์และมองขาดในโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ดังนั้นหากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ช่วยกันส่งเสริมอย่างถูกทาง ก็จะเกิด momentum ปลุก SME ให้มีพลังขึ้นมาได้อย่างก้าวกระโดด