องค์การสหประชาชาติ (UN) เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อสนธิสัญญาโลกด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฉบับแรก ในรอบนี้จะเน้นเนื้อหาว่าด้วยการตอบโต้อาชญากรรมไซเบอร์และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง

การรับฟังความคิดเห็นในรอบนี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 20 มกราคม โดยเน้นไปที่เนื้อหาเกี่ยวกับการตอบสนองของรัฐ และมาตรการของหน่วยบังคับใช้กฎหมายต่ออาชญากรรมไซเบอร์

คณะกรรมาธิการยกร่างสนธิสัญญาฉบับนี้จะรับฟังข้อเสนอแนะจากมีส่วนได้ส่วนเสียหลัก อาทิ ผู้แทนรัฐบาลของประเทศสมาชิก องค์การระหว่างประเทศ และสมาชิกองค์กรภาคประชาสังคม

สนธิสัญญาฉบับนี้มุ่งกำหนดมาตรฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ และส่งเสริมการพัฒนาระบบการตอบสนองภัยคุกคามระหว่างประเทศที่เป็นหนึ่งเดียว โดยกำหนดนิยามของอาชญากรรมไซเบอร์ไว้ว่าเป็น ‘ความผิดทางอาญาที่กระทำบนอุปกรณ์ไอที ในลักษณะระหว่างประเทศและผิดกฎหมาย’

ในเนื้อหายังระบุถึงมาตรการที่ประเทศต่าง ๆ สามารถนำไปใช้บังคับได้ อย่างการให้สิทธิหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วย และการให้ความช่วยเหลือเหยื่อ

พร้อมระบุกิจกรรมผิดกฎหมายประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การเข้าถึงอย่างผิดกฎหมาย การก่อกวนเครือข่าย การสร้างความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ หรือการรั่วไหลของข้อมูลรัฐบาล

ก่อนหน้านี้ในปี 2019 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ได้ออกมติในการต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารวัตถุประสงค์ในการก่ออาชญากรรม

การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เป็นรอบที่ 4 จากทั้งสิ้น 6 รอบ โดยรอบที่ 6 จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนปีนี้ หลังจากนั้นจะถูกนำไปเสนอต่อ (UNGA) ต่อไป โดยคาดว่าจะมีผลใช้บังคับภายในต้นปี 2024

ที่มา govinfosecurity

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส