ปัจจุบันรัฐบาลได้ผลักดันให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็น “รัฐบาลดิจิทัล” (Digital Government) ผ่าน (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565 โดยรัฐบาลดิจิทัลจะมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และมีการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ในการทำงาน เพื่อยกระดับการให้บริการโดยยึดความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลาง

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa (ดีป้า) แม้จะไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่ก็มีส่วนสำคัญในการผลักดัน “รัฐบาลดิจิทัล” ผ่านการจัดตั้ง สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) หรือ Government Big Data Institute (GBDi) และการฝึกสอนบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีความรู้และทักษะด้าน Big Data

“Growth in Human” เพิ่มคุณค่าคน เพิ่มคุณค่างาน

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa (ดีป้า) มองว่า การที่รัฐบาลจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลได้จำเป็นต้องมี “ข้อมูล” ก่อน โดยข้อมูลที่ว่าคือ “Big Data” ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทุกองค์กรต้องใช้ประโยชน์ แต่ในประเทศไทยยังขาด “บุคลากร” ที่มีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องในการทำงานด้านนี้

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa (ดีป้า)

ในปีที่ผ่าน depa ได้ก่อตั้ง สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) หรือ Government Big Data Institute (GBDi) ขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และสร้างแพลตฟอร์มพัฒนาบุคลากรด้าน Big Data ซึ่งสถาบันแห่งนี้จะรับบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้าน Big Data อาทิ Data Catalog (บัญชีข้อมูล), Data Warehouse (คลังข้อมูล) และ Data Analytics (วิเคราะห์ข้อมูล) เมื่อบุคลากรมีความรู้และทักษะด้าน Big Data แล้ว การวางระบบ Digital Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล) ก็จะสามารถทำได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง ซึ่งเรื่องนี้ควรมาก่อนการสร้าง Service และ Solution

จะเห็นว่า depa วางแบบ Road Map การจัดการหลังบ้านให้ดีก่อน มีข้อมูล Open API* แล้วต่อไปในอนาคต Startup สามารถเอาไปใช้และวิเคราะห์ สุดท้ายก็สร้างโซลูชันส่งกลับไปหาภาครัฐ เราก็เข้าไปแก้ปัญหา ทำให้เกิด Growth in Human ที่ดีขึ้น แล้วถ้าจับคู่ได้ระหว่างหน่วยงานรัฐกับ Startup มันก็เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ Startup สามารถเติบโตต่อได้ เมื่อเติบโตต่อได้ก็สามารถเรียกนักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa (ดีป้า)

* Open API คือช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่น ๆ

ผศ.ดร.ณัฐพล ยังกล่าวอีกว่า “การจับคู่ธุรกิจที่จัดโดย Techsauce ในวันนี้ก็จะง่ายและสะดวกขึ้น เพราะทุกคนมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีประชากรเพียง 67 ล้านคน แต่ถ้าทำต่อไปได้ก็สามารถขยายต่อไปในระดับของอาเซียนที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอยู่ในขณะนี้”

สถานที่จัด Workshop แบบออฟไลน์จะจัดขึ้นที่ SEAC อาคาร FYI Center, Building 2 

แม้จะเป็น Startup ไทย แต่อย่าขายแค่คนไทย

“ทำไมประเทศไทยไม่มียูนิคอร์นสักที?” คือคำถามที่ ผศ.ดร.ณัฐพล ต้องตอบอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้อำนวยการ depa ได้ให้แนวคิดไว้ว่า แม้จำนวนนักลงทุน (VC) จะมีปริมาณมากเพียงพอ แต่ Startup กลับมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตอบโจทย์นักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นเพราะผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ถูกพัฒนามาเพื่อคนไทย ซึ่งยังถือว่าเป็นกลุ่มตลาดที่ยังไม่ใหญ่พอในความคาดหวังของนักลงทุน หากสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ในกลุ่มอาเซียนได้ ย่อมเป็นโอกาสที่ดีกว่า เมื่อไปถึงขั้นนี้ได้การไปสู่ตลาดระดับโลกย่อมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

งาน Techsauce Global Summit 2020: Special Edition จัดตั้งแต่วันที่ 5-8 ตุลาคม 2563 โดยปีนี้มีการจัดงานแบบ Hybrid Event คืออีเวนต์ออนไลน์ควบคู่กับออฟไลน์ เนื่องด้วยสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ทางผู้จัดงานจึงได้ปรับรูปแบบการจัดงานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดสามารถอัปเดตเทรนด์ผ่าน Conference ภายในงาน และเปิดโอกาสให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อน Tech Ecosystem ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างปลอดภัยและไร้อุปสรรคจากไวรัส

ผู้ที่สนใจสามารถซื้อบัตรได้ที่นี่ คลิก