ทีมนักวิจัยนานาชาติมัดรวมเลนส์เทเลโฟโต ‘Canon EF 400mm f/2.8 IS II USM’ เข้าด้วยกันถึง 24 ตัว ในชื่อ ‘Dragonfly Telephoto Array’ กล้องโทรทรรศน์กำลังสูงที่จะช่วยจับภาพดวงดาวหรือกาแล็กซีที่อยู่ห่างไกลออกไป ในแบบที่กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดทั่วไปก็ยังไม่สามารถจับภาพได้

Dragonfly Telephoto Array

โดยกล้องโทรทรรศน์ Dragonfly Telephoto Array ตัวนี้ถูกออกแบบเมื่อปี 2013 ในโครงการ ‘Dragonfly’ ของทีมนักวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัยเยลสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยโทรอนโตในแคนาดา เริ่มต้นจากนำเลนส์ EF 400mm f/2.8 IS II USM จำนวน 24 ตัว มาใช้สร้างกล้องโทรทรรศน์กำลังสูงที่จะใช้ถ่ายกาแล็กซีที่จางมาก ๆ หรือขนาดใหญ่ได้ รวมไปถึงศึกษาพื้นผิวความสว่างต่ำของจักรวาล และธรรมชาติของสสารมืด

Dragonfly Telephoto Array
Canon EF 400mm f/2.8 IS II USM

ในปี 2015 ทาง Canon ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการ Dragonfly ด้วยการจัดหาเลนส์ EF 400mm f/2.8 IS II USM มาเพิ่มอีก 40 ตัว ทำให้ได้กล้องที่มีการจัดเรียงเลนส์ทั้งหมด 48 ตัว โดยมีเลนส์ 24 ตัวติดตั้งอยู่บนเมาท์ที่แยกจากกันถึง 2 ชุด

Dragonfly Telephoto Array

สำหรับ Dragonfly Telephoto Array มีผลงานสำคัญ ๆ ในแวดวงดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบออกมามากมาย ตั้งแต่การค้นพบกาแล็กซีกลุ่มกระจัดกระจายมาก ‘Ultra-Diffuse Galaxy Dragonfly 44’ รวมไปถึงการค้นพบกาแล็กซีที่ไร้สสารมืด ‘NGC 1052-DF2’ ในปี 2018

Dragonfly Telephoto Array

ล่าสุดทาง Canon ยังให้ความสนับสนุนเพิ่มเติมตั้งแต่ด้านเทคนิค จนไปถึงจัดหาเลนส์มาให้่เพิ่มอีกกว่า 120 ตัว เพิ่มเข้าไปกับกล้องชุดเดิม ซึ่งทางนักวิจัยกล่าวว่ามันจะเป็นเครื่องสร้างแผนที่ wide-field spectroscopic line ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา

Dragonfly Telephoto Array
ภาพจาก Dragonfly Telephoto Array โดยมีพระจันทร์เป็นตัวเทียบขนาด

และด้วยเลนส์ทั้งหมดที่ตอนนี้มีถึง 168 ตัว กล้องโทรทรรศน์ตัวนี้จึงมีความสามารถในการรวบรวมแสงเทียบเท่ากล้องโทรทรรศน์หักเหแสงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร โดยที่มีทางยาวโฟกัสเพียง 40 เซนติเมตร

Dragonfly Telephoto Array
ภาพเรนเดอร์ของ Dragonfly Telephoto Array ที่มีเลนส์ทั้งหมด 168 ตัว

เป้าหมายต่อไปของ Dragonfly Telephoto Array คือการตรวจจับ และศึกษาก๊าซจาง ๆ ที่มีอยู่รอบ และระหว่างกาแล็กซี โดยนี่จะเป็นอีกโครงการสำคัญที่จะเปิดหน้าต่างความรู้เข้าสู่จักรวาล และกาแล็กซีใหม่ ๆ ในอนาคต

รายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการ Dragonfly คลิก

อ้างอิง – PetaPixel

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส