Facebook ประเทศไทย ได้จัดงานแถลงข่าวออนไลน์ The Future of Shopping ซึ่งเผยให้เห็นถึงวิธีการใหม่ ๆ ที่คนไทยใช้เพื่อค้นหาและเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มของผู้บริโภคในการใช้งานเครื่องมือใหม่ล่าสุดบนช่องทางออนไลน์ เช่น ฟีเจอร์ Facebook Shops, Live Shopping และ Augmented Reality (AR)

ข้อมูลล่าสุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนอย่างต่อเนื่องของ Facebook ในการเชื่อมต่อผู้คนกับสินค้าที่พวกเขารัก และช่วยปลดล็อคศักยภาพของธุรกิจต่าง ๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจไปสู่โลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพราะว่าในปัจจุบันยังคงมีข้อจำกัดด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ด้วยจำนวนผู้คนกว่า 3,300 ล้านคน และธุรกิจอีกกว่า 200 ล้านรายที่ใช้งานแอปพลิเคชันในเครือของ Facebook เป็นประจำทุกเดือน ทำให้ Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำของการเชื่อมต่อและการค้นพบสินค้าใหม่ ๆ ของคนไทยที่พร้อมจะสร้างปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์และสะดวกสบาย

คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย กล่าวเน้นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ครั้งนี้ ในระหว่างการเผยผลการศึกษาครั้งใหม่ของ Facebook ภายในงานว่า “ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เราได้เห็นนักช็อปออนไลน์ทั่วโลกร้อยละ 86  ซึ่งใช้งานแอปพลิเคชันในเครือของ Facebook เป็นประจำทุกสัปดาห์ ตัดสินใจซื้อสินค้าที่พวกเขาค้นพบบนแพลตฟอร์มของเรา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไป จาก “การออกไปช็อปปิง” เป็น “การช็อปปิงได้ตลอดเวลา” ผู้คนไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การค้นหาสินค้าที่ตัวเองรู้จักอยู่แล้วอีกต่อไป การซื้อขายที่มาจากการค้นพบและโซลูชันการช็อปปิงอย่างไร้รอยต่อทำให้ผู้คนสามารถค้นพบและเลือกซื้อสินค้าที่พวกเขามีแนวโน้มที่จะชอบได้ง่ายยิ่งขึ้น”

นอกจากนี้ ธุรกิจต่าง ๆ ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมายกับลูกค้าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ และผู้บริโภคบนโลกดิจิทัลในประเทศไทยก็ได้เผยให้เห็นถึงโลกของการช็อปปิงแห่งอนาคต ตามข้อมูลจากผลการศึกษาที่ถูกเปิดตัวภายในงานโดย Country Director ของ Facebook ประเทศไทย

ความสำคัญของการเลือกซื้อสินค้าที่ค้นพบ และการซื้อขายผ่านการทักแชทที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจาก การทักทายเป็น สั่งซื้อ

จากการที่ผู้บริโภคถูกดึงดูดด้วยประสบการณ์การช็อปปิงที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้บริโภคและความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ลูกค้ากลุ่มแรก ๆ ที่มีความล้ำสมัย หรือที่เรียกว่า early adopters ในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างประเทศไทย ได้เผยให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับโลกของการช็อปปิงแห่งอนาคต และวิธีการที่ประสบการณ์การค้าปลีกกำลังเดินหน้าไปสู่การซื้อขายบนโลกดิจิทัล

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทรนด์นี้มากขึ้น Ipsos ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18-64 ปี จำนวน 1,500 คน ที่มีการใช้งานแอปพลิเคชันส่งข้อความเป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อย 1 แอป ในประเทศไทย ในการศึกษาที่มีชื่อว่า ‘State of Connective Media: Business Messaging’ โดยพบว่าการเลือกซื้อสินค้าที่ค้นพบ และการซื้อขายผ่านการทักแช็ตได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเส้นทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ เพราะว่าโรคระบาดโควิด-19 ได้มีส่วนทำให้ภาคธุรกิจท้องถิ่นปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจไปสู่โลกออนไลน์ และมอบประสบการณ์ที่สร้างการมีส่วนร่วมมากขึ้น

รายงานนี้เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทย หันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการช็อปปิงมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงปฏิสัมพันธ์กับเหล่าธุรกิจด้วย ผู้บริโภคนั้นเปิดรับและรู้สึกสบายใจกับประสบการณ์เหล่านี้มากขึ้น โดยเห็นได้จากการที่ผู้บริโภคชาวไทยในกลุ่ม Gen Z และกลุ่ม Millennials 8 ใน 10 คนชอบที่จะติดต่อร้านค้าผ่านแอปพลิเคชันส่งข้อความมากกว่า และผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 4 ใน 5 คนบอกว่า พวกเขารู้สึกใกล้ชิดกับภาคธุรกิจมากขึ้นหลังจากการแช็ตออนไลน์

ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการที่ผู้บริโภคให้ความสนใจกับประสบการณ์การช็อปปิงแบบ immersive ที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วม และสานต่อความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจได้ ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยร้อยละ 65 กล่าวว่าพวกเขาทดลองใช้ฟีเจอร์การซื้อของผ่านการไลฟ์สดในปีที่ผ่านมา และร้อยละ 28 ได้ซื้อของผ่านช่องทางนี้ และในจำนวนนี้มีจำนวนถึงร้อยละ 84 ที่มีการซื้อของผ่านการไลฟ์สดทุกเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 9 ใน 10 คน (ร้อยละ 92) คาดว่าจะเพิ่มการซื้อของผ่านการไลฟ์สดในปีนี้

เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Augmented Reality (AR) หรือวิดีโอ ได้กลายเป็นพื้นฐานของประสบการณ์ช็อปปิงสำหรับผู้บริโภคไปแล้ว โดยร้อยละ 88 ของคนไทยกล่าวว่า AR ได้เข้ามาเสริมประสบการณ์ดิจิทัลของพวกเขา และพวกเขาก็หวังที่จะเห็นแบรนด์นำฟีเจอร์นี้ไปใช้ด้วย

ขณะเดียวกัน การซื้อขายผ่านการทักแช็ตก็ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์การช็อปปิง โดยลูกค้าร้อยละ 83 มีการส่งข้อความหาร้านค้าในช่วงก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 70 ส่งข้อความในช่วงซื้อสินค้า และร้อยละ 58 ส่งข้อความหลังทำการซื้อไปแล้ว จะเห็นได้ว่าการแชทผ่านแพลตฟอร์ม อย่าง Messenger จาก Facebook ได้กลายมาเป็นช่องทางสำคัญในการซื้อขายตั้งแต่ขั้นตอนของการค้นพบไปจนถึงช่วงหลังการซื้อสินค้าไปแล้ว เพราะว่าร้านค้าสามารถแนะนำลูกค้าตลอดเส้นทางการซื้อขาย และมอบประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลได้โดยไม่ต้องออกจากแชทเลย

เดินหน้าลงทุนในเทคโนโลยีที่จะช่วยเสริมประสบการณ์การช็อปปิงแบบเฉพาะบุคคล

งานแถลงข่าวออนไลน์ The Future of Shopping ยังได้เผยให้เห็นถึงวิธีที่ Facebook ได้ตอบสนองความต้องการของธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงการเดินหน้าลงทุนในเครื่องมือ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเชื่อมต่อธุรกิจและลูกค้าเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างการค้นพบที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้นำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุด

ตัวอย่างเช่น การเปิดตัว Facebook Shops ในประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นการทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ เพื่อมอบประสบการณ์อันไร้รอยต่อบน Facebook และ Instagram ได้อย่างง่ายดาย และด้วยจำนวนร้านค้าบน Facebook Shops กว่า 1.2 ล้านร้านค้าที่มีการค้าขายเป็นประจำทุกเดือน รวมกับจำนวนผู้เข้าชม Shops กว่า 300 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละเดือน เจ้าของธุรกิจชาวไทยสามารถเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจากทั่วโลกสามารถค้นพบสินค้าของตนเองได้

นอกจาก Shops แล้ว Facebook ยังได้นำเสนอฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น Shops Ads Solutions, Product Tags และ Customs Audiences เพื่อช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับประสบการณ์การช็อปปิงแบบเฉพาะบุคคล เพราะว่ากลุ่มลูกค้าจะสามารถพบเห็นสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ง่ายขึ้น   

นอกจากนี้ Facebook ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเป็นรากฐานของวิถีแห่งการช็อปปิงในอนาคตอีกด้วย โดยมีการประกาศเปิดตัว API สำหรับ Messenger และ Instagram ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจและลูกค้าสามารถสนทนากันได้ง่ายขึ้น รวมไปถึง Instagram Visual Search for Shopping และการโฆษณาที่ใช้เทคโนโลยี AR ในการที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนได้ลองสินค้าที่ตนเองสนใจ  

KaoJao พันธมิตรทางธุรกิจของ Facebook ได้ช่วยให้ธุรกิจไทยประสบความสำเร็จด้านการซื้อขายผ่านการทักแชท โดยใช้ประโยชน์จากโซลูชันล่าสุดเพื่อสร้างประสบการณ์การช็อปปิงที่มีประสิทธิภาพ สนุกสนาน และไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น

ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยีการค้าแห่งโลกอนาคต

งานดังกล่าว ยังมีการพูดคุยกับผู้บริหารจาก KaoJao ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการโซลูชันเพื่อธุรกิจ และเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของ Facebook ในการช่วยให้ธุรกิจได้เติบโตบนโลกออนไลน์ผ่านการพัฒนาประสบการณ์การแช็ตอัตโนมัติบน Messenger ฟีเจอร์การสนับสนุน Live Shopping และการให้บริการสร้างหน้าร้านบน Facebook Shops ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

KaoJao ยังได้ร่วมบอกเล่าถึงวิธีที่พวกเขาสามารถช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ เติบโต และรับมือกับคำสั่งซื้อจำนวนมากผ่าน Facebook ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเน้นย้ำถึงความสำคัญที่ภาคธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีและโซลูชันล่าสุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้าเป็นเรื่องสนุก และไร้รอยต่อ

คุณณัฐธภา ศรีมงคล Chief Operating Officer ของ KaoJao กล่าวว่า“Facebook และ Instagram ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญสำหรับธุรกิจในประเทศไทย เพราะว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถทำให้บริษัทเข้าถึงลูกค้าจากทั่วโลกและเติบโตได้ นอกจากนี้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ก็ยังช่วยให้การมีส่วนร่วม การเชื่อมต่อ และการสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายกับกลุ่มลูกค้าเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการที่จะต่อยอดความสำเร็จ ในการวางรากฐาน และเลือกลงทุนในเครื่องมือที่จะช่วยมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ไร้รอยต่อได้”

คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล ได้กล่าวสรุปว่า “เรากำลังเห็นวิวัฒนาการของประสบการณ์การเชื่อมต่อระหว่างผู้คนกับแบรนด์บนโลกออนไลน์ บริการที่ช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างเช่น KaoJao ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของ Facebook นั้นมีความสำคัญในโลกของการช็อปปิงออนไลน์ในประเทศไทย และด้วยความที่โลกของการค้าขายในปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน และมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมาก Facebook จะเดินหน้าลงทุนเพื่อทำให้ภาคธุรกิจสามารถเติบโตบนแพลตฟอร์มของเรา และเพื่อสร้างวิธีใหม่ ๆ ให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกับสิ่งที่พวกเขารักได้ง่ายขึ้น”