แม้ในวันนี้วิทยาการด้านความปลอดภัยของลิฟต์โดยสารจะรุดหน้าไปไกล แทบไม่ได้ยินข่าวคราวอุบัติเหตุลิฟต์ร่วงกันมานานแล้ว แต่ทุกครั้งที่เข้าไปในลิฟต์ก็ยังมีสักแวบที่อดคิดไม่ได้ว่า ถ้ามันร่วงล่ะ? แล้วถ้าจังหวะที่มันกระแทกแล้วเรากระโดดล่ะ ก็ต้องรอดสิเพราะแรงกระแทกมาจากพื้นลิฟต์ แล้วตัวเราอยู่ในอากาศพอดีไง เราก็ต้องไม่โดนแรงกระแทกสิ

ตอนที่อ่านบทความต้นฉบับของเรื่องนี้ ผู้เขียนก็ยังอดแปลกใจไม่ได้เลย “โอ้ว! มีคนคิดเหมือนเราเลย” ปรากฏว่าไอ้ทฤษฎีกระโดดตอนลิฟต์ร่วงที่เกิดขึ้นในหัวเนี่ย เค้าคิดกันทั่วโลกครับ ฝรั่งมังค่าก็คิด ก็เลยมีผู้เชี่ยวชาญใจดี ดร.อีเลียต เอช.แฟรงค์ วิศวกรวิจัยและพัฒนา จากศูนย์วิศวกรรมชีวเวศ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มาให้คำตอบกับเรา

dr.eliot h.frank

แทบไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะกระโดดในเสี้ยววินาทีที่ลิฟต์กระทบพื้นล่าง

  • ในขณะที่ลิฟต์ดิ่งลงเบื้องล่างอย่างรวดเร็ว ไม่มีทางที่เราจะใช้แรงดันจากพื้นล่างให้ตัวเองลอยขึ้นไปบนอากาศ
  • อ่ะ! สมมติว่ากระโดดได้ แต่ผลที่ได้จากการกระโดดก็ช่วยแค่ลดความเร็วของร่างเราที่กำลังพุ่งลงสู่พื้นล่าง แต่สุดท้ายก็รับแรงกระแทกเท่าเดิมอยู่ดี
  • ถ้ากระโดดไปแล้ว ก็บังคับร่างไม่ได้ว่าส่วนไหนของร่างกายจะลงมาสัมผัสพื้น เพราะฉะนั้นการกระโดดระหว่างลิฟต์ร่วงจะแย่กว่าเดิมเสียอีก

รายการ Discovery Channel ก็เคยทำการทดลองสมมติฐานนี้มาให้ดูกัน ในคลิปสั้น ๆ นี้ครับ ว่าถ้ากระโดดแล้วจะเป็นอย่างไร
ถ้าลิฟต์ที่ดิ่งลงสู่พื้นล่างด้วยความเร็ว 85 ก.ม./ช.ม. แล้ววินาทีที่ลิฟต์กระแทกพื้น ก็ตั้งปุ่มอัตโนมัติให้หุ่นทดลองกระโดดขึ้นมาได้ทัน ด้วยความเร็ว 3 ฟุต/วินาที แต่สิ่งที่ทุกคนไม่ได้คิดก็คือพอเรากระโดดขึ้นก็จะโดนเพดานลิฟต์กระแทกตัวเรา แล้วร่างเราก็จะกระดอนกลับไปกระแทกพื้นล่างด้วยความเร็ว 82 ก.ม./ช.ม. ผลก็คือร่างหุ่นทดลองคอขาด แขนขาด

Play video

แล้วมีหนทางไหนที่จะช่วยให้รอดได้จากสถานการณ์นี้

อาจจะรอดและนี่คือคำแนะนำที่จะลดแรงกระแทกที่ร่างกายเราจะได้รับ

  1. อย่ายืนตัวตรง เพราะแรงกระแทกจากความเร็วที่ดิ่งสู่พื้นขนาดนั้น น้ำหนักตัวเราจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า ถ้ายืนตรงส่วนขาเราจะต้องรับแรงกระแทกเท่ากับ 10 เท่าของน้ำหนักตัวเรา แม้แต่น้ำหนักหัวเราที่เพิ่มขึ้น 10 เท่า ก็หนักเกินกว่าที่กระดูกคอจะรับแรงกระแทกได้ไหวแล้ว

2.นอนราบไปกับพื้นลิฟต์เลย แรงกระแทกจากพื้นล่างจะกระจายความรุนแรงไปทั่วร่างกาย ไม่มีส่วนไหนของร่างกายกระทบกระเทือนเป็นพิเศษ ถึงแม้ไม่รอดแต่ศพไม่น่าเกลียดนะ

3.ถ้าคนแน่นลิฟต์ ไม่มีเนื้อที่ให้นอน อย่างน้อยก็ควรนั่งจะช่วยผ่อนเบาแรงกระแทกดีกว่าการยืนตรงแน่นอน ถ้าเนื้อที่ในลิฟต์มีน้อยมาก ก็แนะนำว่าให้นั่งในท่างอเข่าท่านี้ก็ยังพอช่วยลดแรงกระแทกได้เช่นกัน

หวังว่าได้รับคำตอบที่กระจ่างนะครับ ผู้เขียนแนะนำว่า ครั้งต่อไปที่ก้าวเข้าลิฟต์ เราไม่รู้ว่าลิฟต์จะร่วงหรือไม่ร่วง ถ้าให้ปลอดภัยไว้ก่อน เราควรชิงพื้นที่นอนราบบนพื้นลิฟต์ก่อนเลยก็จะดีครับ

อ้างอิง