ในภาพยนตร์เกี่ยวกับอวกาศที่สะท้อนถึงความปรารถนาของมนุษย์ที่จะขยับขยายเคลื่อนย้ายเผ่าพันธุ์ไปยังดาวดวงอื่นในจักรวาล หรือกระทั่งในหลายเรื่องก็มีเหตุเภทภัยให้ต้องย้ายมนุษย์บนโลกไปตั้งอาณานิคมใหม่กันอยู่บ่อย ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่รู้ว่าอีกกี่ชั่วอายุคนที่จะได้เห็นการเดินทางข้ามดวงดาวเกิดขึ้นจริง ๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะยังเดินทางไปไม่ได้ แต่การได้ค้นพบดาวที่มนุษย์น่าจะมีโอกาสได้เดินทางไปในสักวันหนึ่งนั้นก็ยังเป็นที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักดาราศาสตร์และผู้ที่ติดตามแวดวงนี้อยู่เสมอ

ภาพเสก็ตพื้นผิวดาว ของนาซา

ภาพเสก็ตพื้นผิวดาว Kepler-1649c ของนาซา

เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือองค์การนาซา ได้ออกมาเปิดเผยการค้นพบครั้งใหม่ว่า นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายโลก ชื่อว่า “Kepler-1649c” ทั้งขนาดของดาวและอุณหภูมิพื้นผิว โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 ปีแสง (1 ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปีหรือประมาณ 9.4 ล้านล้านกิโลเมตร) โดยดาวดวงนี้โคจรรอบดาวฤกษ์ชื่อดาวแคระแดง เช่นเดียวกับโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และคาดว่ามีน้ำเป็นของเหลวในดาวด้วย นักดาราศาสตร์ของนาซาค้นพบดาวดวงใหม่นี้ระหว่างส่องกล้องโทรทรรศน์ Kepler

ดาว Kepler-1649c นี้มี้ขนาดใหญกว่าโลกประมาณ 1.06 เท่า ได้รับพลังงาานจากดาวฤกษ์ดาวแคระแดงประมาณ 75% ของพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์จึงคาดว่า ดาวดวงนี้จะมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับโลก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบดาวเคราะห์ขนาดใกล้โลกและมีองค์ประกอบที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และระยะความห่างพอเหมาะที่จะมี “น้ำ” ในดวงดาวอยู่ในสถานะของเหลว

ภาพเสก็ตช์ของนักดาราศาสตร์ที่สันนิษฐานว่า ดาวที่คล้ายโลกจะหันหน้าด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์ของมัน

ภาพเสก็ตช์ของนักดาราศาสตร์ที่สันนิษฐานว่า ดาวที่คล้ายโลกจะหันหน้าด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์ของมัน

อย่างไรก็ตาม มีการวิเคราะห์ว่าดาว Kepler-1649c ดวงนี้อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของการการโคจรมาก โดยดาวใช้เวลาโคตรรอบดาวแคระแดงเพียงแค่ 19.5 วันบนโลกเท่านั้น เทียบกับโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365หรือ 366 วันที่เรียกว่า 1 ปี) แรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ดาวแม่นี้ อาจส่งผลให้ Kepler-1649c หันหน้าเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวแม่เสมอ ๆ เช่นเดียวกับดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบดาวเคราะห์อีกหนึ่งดวงที่โคจรรอบดาวแคระแดงด้วย โดยมีขนาดใกล้เคียงกับ Kepler-1649c แต่อยู่ในวงโคจรที่ใกล้กว่าประมาณครึ่งหนึ่ง โคจรรอบดาวฤกษ์ 8.7 วัน คล้ายกับโลกของเราที่มีดาวเคราะห์ฝาแฝดคือ ดาวศุกร์และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก

ในปัจจุบัน กล้องโทรทรรศน์ Kepler ได้ปลดประจำการและหยุดการบันทึกไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2018 แต่ก็ยังมีข้อมูลมหาศาลจากการถ่ายภาพไว้ที่รอการวิเคราะห์ โดยขณะนี้กล้องมีข้อมูลดาวฤกษ์กว่า 200,000 ดวง ซึ่งนักดาราศาสตร์กำลังวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการพัฒนาระบบอัลกอริทึม Robovetter ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler ขึ้นมาเพื่อค้นหาดาวในลักษณะต่าง ๆ ที่นักดาราศาสตร์ต้องการศึกษา อย่างไรก็ดี อัลกอริทึมนี้ก็อาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก เพราะดาว Kepler-1649c นั้นเคยเป็นหนึ่งในรายชื่อดวงดาวที่ระบบตัดทิ้งไปจากการเป็นดาวที่น่าสนใจศึกษา แต่เมื่อทีมนักวิจัยนำข้อมูลที่ถูกตัดทิ้งมาตรวจสอบอีกครั้งจึงทำให้พบดาวเคราะห์ที่อาจจะเป็นเป้าหมายในอนาคตของมนุษย์ที่จะย้ายไปดวงนี้

อ้างอิง

อ้างอิง

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส