แคนนอน อิงค์ (Canon Inc.) ประกาศครองแชมป์กล้องดิจิทัลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ (กล้อง DSLR และกล้องมิเรอร์เลส) โดยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ทั่วโลก[1]  ต่อเนื่องเป็นปีที่ 21 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 – 2566

กล้องดิจิทัลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ในซีรีส์ EOS ของแคนนอน ใช้ระบบการถ่ายภาพที่คำนึงถึงแนวคิดพื้นฐาน 3 สิ่ง คือ  “Speed, Comfort and High Image Quality – ต้องรวดเร็ว สะดวก และได้ภาพคุณภาพสูง” โดยแคนนอนเป็นผู้พัฒนาองค์ประกอบหลักของระบบการถ่ายภาพ ประกอบด้วย เซนเซอร์รับภาพแบบ CMOS ชิปประมวลผลภาพ DIGIC และชุดเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ เมื่อนับรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของบริษัท นับตั้งแต่รุ่นเรือธงประสิทธิภาพสูงที่ช่างภาพมืออาชีพต่างมอบความไว้วางใจเป็นอย่างสูง ไปจนถึงรุ่นเริ่มต้นที่เอื้อให้ผู้ใช้งานสามารถเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพอย่างเต็มรูปแบบด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายดาย รวมไปถึงทางเลือกจำนวนมากของกลุ่มผลิตภัณฑ์เลนส์ทั้งซีรีส์ RF และ EF ซึ่งมีมากกว่า 115 รุ่น[2] ที่เข้ามาช่วยยกระดับการสร้างสรรค์ผลงานการถ่ายภาพ ทำให้แคนนอนสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าทุกกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง

ในยุคแรกของกล้อง DSLR แคนนอนได้สั่นสะเทือนวงการด้วยการเปิดตัวกล้อง EOS Kiss Digital ในเดือนกันยายน 2546 (ใช้ชื่อรุ่น EOS Digital Rebel หรือ EOS 300D ในบางภูมิภาค) การเปิดตัวกล้องที่ก้าวล้ำในระดับราคาที่แข่งขันได้และยังมีดีไซน์ที่กะทัดรัดรุ่นนี้ ส่งผลให้แคนนอนเติบโตในตลาดกล้อง DSLR โดยครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกสูงสุด และเป็นการเข้าสู่ยุคของกล้องดิจิทัล DSLR อย่างเต็มรูปแบบ นับแต่นั้นเป็นต้นมา แคนนอนก็ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง อาทิ กล้องระดับมืออาชีพในซีรีส์ EOS-1D และซีรีส์ EOS 5D ซึ่งปูทางไปสู่กล้อง DSLR เพื่อการบันทึกวิดีโอ ตามด้วยความมุ่งมั่นของแคนนอนในการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์บันทึกภาพเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายนำไปสู่เจนเนอร์เรชันใหม่ของระบบ EOS R System ที่เปิดตัวในเดือนตุลาคม 2561 รวมถึง EOS R5 กล้องมิเรอร์เลสฟูลเฟรมตัวแรกที่สามารถบันทึกวิดีโอความละเอียดระดับ 8K[3] ที่เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2563 และ EOS R3 กล้องที่มาพร้อมประสิทธิภาพสูงในการถ่ายภาพต่อเนื่องและการติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว ในเดือนพฤศจิกายน 2564 นอกจากนี้ แคนนอนยังได้เปิดตัวระบบ EOS VR System ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อบันทึกคอนเทนต์วิดีโอเสมือนจริง (Virtual Reality) ในเดือนธันวาคม 2564

Canon

ในปี 2565 แคนนอนตอบโจทย์ความต้องการกล้องมิเรอร์เลสและเลนส์ ด้วยการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องและเลนส์ในซีรีย์ EOS R System ประกอบด้วย EOS R50 (เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2566) กล้อง APS-C ที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่สะดวกง่ายดาย EOS R8 (เปิดตัวในเดือนเมษายน 2566) กล้องฟูลเฟรมที่ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาพร้อมประสิทธิภาพขั้นสูง และ EOS R100 (เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2566) กล้อง APS-C ที่แม้แต่ช่างภาพมือใหม่ก็สามารถนำไปเพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพได้อย่างเต็มที่ และชุดเลนส์ RF อีกจำนวน 9 รุ่น[4]

ล่าสุด กล้องแคนนอนยังสามารถครองแชมป์สัดส่วนการใช้งาน[5] มากเป็นอันดับ 1 ในการแข่งขัน Rugby World Cup France 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากล้องแคนนอนได้รับความไว้วางใจอย่างมากจากกลุ่มช่างภาพมืออาชีพ และด้วยการสนับสนุนจากลูกค้าหลากหลายกลุ่มเช่นนี้ ทำให้แคนนอนสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกมากเป็นอันดับ 1 ได้ติดต่อกันเป็นปีที่ 21

แคนนอนจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการถ่ายภาพของบริษัทต่อไป พร้อมมอบความพึงพอใจและความสนุกสนานเร้าใจให้กับการใช้กล้องของผู้คน ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมการถ่ายภาพและวิดีโอให้แพร่หลาย ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าอย่างครอบคลุม

[1] ตามข้อมูลผลการสำรวจของแคนนอน
[2] รุ่นของเลนส์ที่จำหน่ายมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มตลาด รวมอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ (Extender) 4 รุ่น ข้อมูล ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567
[3] พิจารณาในกลุ่มกล้องดิจิทัลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ที่วางจำหน่ายก่อนวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
[4] ในปี 2563 แคนนอนวางจำหน่ายเลนส์ RF จำนวน 9 รุ่น: RF135mm F1.8 L IS USM (มกราคม) RF-S55-210mm F5-7.1 IS STM (มีนาคม) RF24-50mm F4.5-6.3 IS STM (เมษายน) RF100-300mm F2.8 L IS USM (พฤษภาคม) RF28mm F2.8 STM (กรกฎาคม) RF10-20mm F4 L IS STM (ตุลาคม) RF200-800mm F6.3-9 IS USM (ธันวาคม) RF24-105mm F2.8 L IS USM Z (ธันวาคม) RF-S10-18mm F4.5-6.3 IS STM (ธันวาคม)
[5] ข้อมูลค่าเฉลี่ยเก็บรวมรวมใน 4 นัดการแข่งขันคือ รอบรองชนะเลิศ 2 นัด รอบคัดเลือกอันดับ 3 และรอบชิงชนะเลิศของทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว ตามข้อมูลผลการสำรวจของแคนนอน