คนทั่วไป หรือแฟนกีฬาบางคนอาจจะตั้งตารอคอยการมาของการแข่งกีฬาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Olympic Game แต่รู้หรือไม่ว่าการถ่ายทอดสดการแข่งขันมีเบื้องหลังที่ซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยในหลาย ๆ ครั้ง และล่าสุดก็มีการจับมือพาร์ทเนอร์ระยะยาวกับ Alibaba Cloud ซึ่งในวันนี้เราจะมาเจาะลึกเบื้องหลังด้วยกัน

ประวัติศาสตร์ Olympic Game

ก่อนที่เราจะมารู้เบื้องลึกเบื้องหลังการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก เรามาย้อนรอยจุดเริ่มต้นการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกเสียก่อนว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่ ?

จากข้อมูลที่มีการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์การแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกของโลกถูกจัดขึ้นเมื่อ 776 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งชื่อของการแข่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า ‘การแข่งขันโอลิมปิกโบราณ’ ถูกจัดขึ้นในสมัยกรีกโบราณที่จะมีการแข่งขันทุก ๆ 4 ปี และถูกจัดขึ้นเพื่อเทศกาลทางศาสนาที่นับถือเทพเจ้าซุสของกรีก ซึ่งประเภทของการแข่งขันกีฬามีหลากหลายประเภทเช่น วิ่ง, กระโดด, มวยปล้ำ, ชกมวย และการแข่งม้า

หลังจากมีการแข่งขันโอลิมปิกโบราณก็ได้รับการฟื้นฟูเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ขึ้นในปี ค.ศ. 1896 และการแข่งขันครั้งแรกถูกจัดขึ้นที่ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ International Olympic Committee (IOC) ที่จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก และกีฬาที่หลากหลายมากกว่าเดิม

การถ่ายทอดสดการแข่งขันสู่สายตาชาวโลก

Wembley London Olympic 1984

ทุก ๆ คนอาจจะตั้งตารอคอยการแข่งขันโอลิมปิกที่จัดขึ้นทุก ๆ 4 ปีแต่รู้หรือไม่ว่าการถ่ายทอดสดโอลิมปิกสู่สายชาวโลกเกิดขึ้นเมื่อปี 1948 หรือเมื่อ 75 ปีที่แล้วที่ Wembley London Olympic มีการถ่ายทอดสดโดย BBC และมีการเผยแพร่ภาพสู่สายตาชาวโลกมากกว่า 61 ประเทศ

และในปี 2001 IOC ได้แต่งตั้ง Olympic Broadcasting Services (OBS) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการถ่ายทำการแข่งขันกีฬา ซึ่งการมาของ OBS ทำให้การถ่ายทำ และการถ่ายทอดสดภาพการแข่งขันกีฬาสู่สายตาชาวโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น

การมาของการแข่งขันกีฬาในรูปแบบ ‘เสมือนจริง’

ในโลกยุคปัจจุบันเราอาจจะเห็นการมาของการใช้ชุดแว่นตา Virtual Reality (VR) เพื่อรับชมความบันเทิง หรืออยู่ในโลกเสมือนจริงที่ตัดขาดจากโลกเดิม ๆ ออกไป ซึ่งการแข่งขันกีฬาก็มาสู่โลกเสมือนจริงเช่นกัน ที่ผู้เล่น และผู้ชมสามารถสัมผัสประสบการณ์แข่งขันกีฬาในรูปแบบใหม่ที่สามารถรู้สึกได้ว่ากำลังอยู่ในสนาม หรือคอร์ตการแข่งขันจริง ๆ โดยที่เราไม่ต้องเดินทางไปในที่สถานที่นั้น ๆ ก็ได้

ข้อดีของการแข่งขันในรูปแบบเสมือนจริง นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมในสภาพแวดล้อมที่มีความสมจริง และลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บได้มากยิ่งขึ้น

และการแข่งขันกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกก็มีการบรรจุการแข่งขันกีฬาเสมือนจริงในชื่อ ‘Olympic Esports Series(OES) ที่ถูกจัดขึ้นโดย IOC และสหพันธ์นานาชาติ หรือ International Federations (IFs) และผู้เผยแพร่เกมทั่วโลก ซึ่งการแข่งขันกีฬาเสมือนจริงมีผู้แข่งขันมืออาชีพ และมือสมัครเล่นทั่วโลกที่ถูกรับเชิญให้เข้าไปคัดเลือกในประเภทเกมต่าง ๆ โดยจบการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ Olympic Esports Week Singapore 2023 วันที่ 22-25 มิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา

ประเภทการแข่งขันกีฬาเสมือนจริงในรอบชิงชนะเลิศมีการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภทเช่น ยิงธนู, เบสบอล, หมากรุก, เต้น, แข่งรถ และ แข่งเรือใบ

การมาของยุค Digital Alibaba Cloud เข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไร

ด้วยความสำเร็จของการถ่ายทอดสดด้วยระบบ OBS และยุคสมัยใหม่ของโลกที่มีการทำงานบนระบบคลาวด์ที่สามารถปรับเปลี่ยน และรองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการของผู้ชมกีฬา ในปี 2017 ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ระหว่าง OBS และ Alibaba Cloud ที่จับมือมาเป็นพาร์ตเนอร์ระยะยาว

  • มกราคม 2017 มีการเซ็นข้อตกลงร่วมพาร์ตเนอร์โอลิมปิกทั่วโลกระหว่าง Alibaba Cloud และ IOC เพื่อเสริมสร้าง และพลิกโฉมวงการแข่งขันกีฬาสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
  • กันยายน 2018 ทาง Alibaba Cloud เปิดตัวระบบ Olympic Boardcasting Service Cloud (OBS Cloud) เปลี่ยนแปลงระบบถ่ายทอดสดไปทำงานบนระบบคลาวด์เพื่อรองรับเนื้อหาการแข่งขันกีฬาคุณภาพสูง และเวิร์กโฟลว์ส่งมอบการออกอากาศการแข่งขันโอลิมปิก
  • กรกฎาคม 2020 Alibaba Cloud ประกาศเข้าร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ Le Club Paris 2024 ซึ่งเป็นเกตเวย์ดิจิทัลสำหรับผู้ชมที่สนใจการแข่งขันกีฬา และสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ แบบไม่มีสะดุด
  • มิถุนายน 2021 เข้าร่วมสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 ในรูปแบบการออกอากาศบนระบบคลาวด์เป็นครั้งแรก
  • กุมภาพันธ์ 2022 สนับสนุนการแข่งขันโอลิมปิก Beijing 2022 ย้ายระบบจัดการแข่งขันทั้งหมดเป็นระบบคลาวด์ที่สามารถช่วยลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งไอที และฮาร์ดแวร์ พร้อมกับเพิ่มประสบการณ์ทำงานของผู้ใช้ได้อย่างราบรื่น

เทคโนโลยีใหม่ ๆ จาก Alibaba Cloud

นอกเหนือจากเทคโนโลยีจัดการถ่ายทอดสดในรูปแบบดิจิทัล และอยู่บนระบบคลาวด์ทั้งหมด ทาง Alibaba Cloud ยังนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาจัดแสดงภายในงาน Olympic Esports Week Singapore 2023 ที่น่าสนใจมากมายเช่น

  • VR Table Tennis Match สัมผัสประสบการณ์รูปแบบใหม่เล่นกีฬาปิงปองในรูปแบบเสมือนจริง โดยเกมใช้การขับเคลื่อนด้วยระบบ Alibaba Cloud Global Network ทำให้การส่งข้อมูลแบบ E2E ครอบคลุมเครือข่ายทั่วโลก มีเวลาแฝง หรือ Latency ที่ต่ำ และมีระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง
  • Cloudverse โซลูชันสำหรับภาคธุรกิจที่สามารถออกแบบ สร้าง และจัดการพื้นที่ Metaverse โดยระบบทั้งหมดทำงานอยู่บนระบบ Alibaba Cloud ที่เจ้าของธุรกิจปรับแต่งขนาดได้อิสระ ที่มาพร้อมกับระบบประมวลผลเร็วสูง พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย และแพลตฟอร์มดำเนินงานอัจฉริยะ
  • Health Games for Seniors ยกระดับเกมสุขภาพเพื่อเข้าถึงผู้ประชากรผู้สูงอายุของสิงคโปร์ โดยเกมทั้งหมดทาง Alibaba Cloud ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nanyang Technological และเกมทั้งหมดได้พัฒนาร่วมกับ Joint NTU-UBC Research Center of Excellence in Active Living for the Elderly (LILY), Institute of Geriatrics and Active Aging (IGA) และ Tan Tock Seng Hospital
    • The Hunting bike game เกมปั่นจักรยานล่าสัตว์ที่มีการทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ IoT ตรวจจับการถีบปั่นจักรยานที่ช่วยให้ผู้สูงอายุฝึกความแข็งแรงของแขนขาระหว่างการโต้ตอบเล่นเกม
    • Physio Ping Pong เกมตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยใช้เซนเซอร์ที่ผสมผสานทั้งกิจกรรมของร่างกาย และการรับรู้ ซึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุมีความกระฉับกระเฉงมากยิ่งขึ้น พร้อมกับกระตุ้นระบบการรับรู้พร้อม ๆ กัน
คริส ตั้ง (Chris Tung), President, Corporate Development, Alibaba Holding Group

คริส ตั้ง (Chris Tung), President, Corporate Development, Alibaba Holding Group ได้กล่าวไว้ว่า

“เรามีความยินดี และตื่นเต้นสำหรับการเปิดตัวการแข่งขัน Olympic Esport Singapore 2023 เป็นครั้งแรก และเป็นพันธมิตรร่วมกันกับ IOC โดยเรามีความสนใจ และต้องการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับสนับสนุนการแข่งขันเกมดิจิทัลอย่างเต็มที่”

“ซึ่งเรายังมีโซลูชันความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นก็คือ ‘Energy Expert’ ที่มีส่วนร่วมในการพลิกโฉมวงการเกมดิจิทัลเป็นอย่างมาก ซึ่งโซลูชันจะช่วยผู้จัดการแข่งขันที่มีความซับซ้อน เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกย้ายไปจัดการงานทั้งหมดอยู่บนระบบคลาวด์ที่สามารถจัดการได้ง่าย และการใช้ระบบดังกล่าวยังช่วยลด Carbon Footprint ได้เช่นกัน”

“และเรายังเชื่อมั่นในระบบ AI ที่สามารถช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประหยัดพลังงานไปพร้อม ๆ กัน”

วิลเลียม ซง (William Xiong), Vice President of Alibaba Cloud Intelligence and General Manager of Enterprise Service

วิลเลียม ซง (William Xiong), Vice President of Alibaba Cloud Intelligence and General Manager of Enterprise Service ได้กล่าวไว้ว่า “เรามีความยินดีที่เห็นบริษัทต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้าริเริ่ม และให้คำมั่นสัญญาว่าต้องการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์มากขึ้น โดยตัวเลขของบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปีนับจากปี 2019”

“จากการเปลี่ยนแปลงระบบองค์กรให้เข้าสู่ยุค Net Zero ที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งพวกเราก็คิดค้นโซลูชัน AI บนคลาวด์อย่าง Energy Expert เพื่อมาช่วยให้บริษัททั้งหมดทราบวิธีการลดใช้พลังงาน และลดการสร้าง Carbon Footprint ที่ไม่จำเป็น”

“ความท้าทายยิ่งใหญ่อีก 1 ข้อคือ ต้องการให้บริษัทต่าง ๆ มีส่วนร่วมกับภาคประชาชน เพราะการร่วมด้วยช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอนจะนำไปสู่โลกที่มีความยั่งยืนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น”

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส